
เครือ La Vela พังงาผนึก กรอ.อันดามัน-กฎบัตรไทย เครือข่าย 25 บริษัททัวร์นานาชาติ นำร่องเปิดตัว La Vita Sana “ศูนย์นวัตกรรมเวลเนสการแพทย์และอาหาร” หวังดึงลูกค้าต่างชาติ
วันที่ 16 สิงหาคม 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เครือโรงแรม Lavela พังงา นำร่องเปิดตัว La Vita Sana ศูนย์นวัตกรรมเวลเนสการแพทย์และอาหารพื้นถิ่นสร้างสรรค์ครบวงจร ตามแผนพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจเวลเนสอันดามัน (Andaman Wellness Corridor หรือ AWC) ที่ประกาศให้เทศบาลตำบลคึกคักเป็นเขตนวัตกรรมการท่องเที่ยวมูลค่าสูง
- พระราชทานอภัยโทษ คดีทักษิณ ที่มาวาระอันเป็นมงคล วโรกาสสำคัญ
- หมอธีระวัฒน์ ชี้ งานวิจัยระบุ ชอบกินเนื้อสัตว์เสี่ยงตาย ไม่สูบบุหรี่ ออกกำลังกาย ไม่ช่วย
- พระราชประวัติ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี
โดยการสนับสนุนของจังหวัดพังงา กรอ. อันดามัน กฎบัตรไทย พร้อมด้วยหน่วยงานนวัตกรรม ได้แก่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง รวมทั้งเครือข่าย 25 บริษัททัวร์นานาชาติ ตั้งเป้าดึงดูดนักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์และสุขภาพจำนวน 5 ล้านคนตามแผนระยะ 5 ปีสร้างรายได้ไม่น้อยกว่า 5 พันล้านบาท
นายสมพงศ์ ดาวพิเศษ นายกสมาคมโรงแรมที่พักส่งเสริมสุขภาพอันดามันและอ่าวไทย ประธานกรรมการเครือโรงแรม La Vela และศูนย์นวัตกรรมเวลเนส La Vita Sana กล่าวว่า ตนวางแผนลงทุนพัฒนาศูนย์นวัตกรรมเวลเนสร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงตามแผนระยะ 5 ปี รวมงบประมาณลงทุน 2,500 ล้านบาท
โดยการลงทุนระยะที่ 1 การก่อสร้างศูนย์นวัตกรรมอาหารพื้นถิ่นสร้างสรรค์และสหคลีนิคการแพทย์แผนไทยและการแพทย์แผนจีน พร้อมห้องประชุมขนาด 100 คนจำนวน 2 ห้อง และหน่วยวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เวลเนสพื้นถิ่น งบประมาณลงทุน 350 ล้านบาทได้ดำเนินการเสร็จสิ้น โดยได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2566
ส่วนการลงทุนระยะที่ 2 จะขยายบริการในส่วนของสหคลีนิคและส่วนการประชุม พร้อมด้วยส่วนบริการเรียนรู้เกษตรสมุนไพรพื้นถิ่นที่ร่วมกับจังหวัดพังงาที่ส่งเสริมให้เกษตรกรพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพมูลค่าสูงกระจายต่อไปยังนักท่องเที่ยวและเพื่อการส่งออก โดยใช้งบประมาณอีกประมาณ 500 ล้าน ซึ่งจะเสร็จสิ้นในปี 2567
สำหรับการลงทุนในระยะที่ 3 เป็นการขยายพื้นที่พัฒนาจากเดิมมีอยู่ 22 ไร่เป็น 45 ไร่ ซึ่งตามแผนจะลงทุนโครงการ mix-use ตอบสนองความต้องการบริการด้านการแทพย์และการส่งเสริมสุขภาพแบบครบวงจร ผสมผสานกับพื้นที่ค้าปลีกผลิตภัณฑ์สุขภาพ ที่ได้จากการวิจัยและพัฒนาร่วมกันของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง การขยายบริการศูนย์การประชุม พร้อมด้วยหน่วยบริการต่าง ๆ ซึ่งจะดำเนินการให้เสร็จสิ้นในระยะ 5 ปีนับจากนี้
ด้านนายเถลิงศักดิ์ นุชประหาร รองผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา กล่าวว่า จังหวัดพังงาโดยผู้ว่าราชการจังหวัดได้ร่วมมือกับเครือโรงแรม La Vela ในการสนับสนุนการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจเวลเนสและเขตนวัตกรรมการท่องเที่ยวมูลค่าสูงบริเวณเทศบาลตำบลเขาหลัก โดยได้บรรจุแผนยุทธศาสตร์ดังกล่าวในแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนาภาคซึ่งจังหวัดพังงาและหอการค้าจังหวัดได้ร่วมกันผลักดัน
โดยในปี 2567 จังหวัดและเทศบาลตำบลคึกคักจะดำเนินการวางและจัดทำผังเมืองรวมตำบลคึกคักเพื่อให้สามารถอนุญาตการก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่พิเศษพร้อมกิจกรรมเศรษฐกิจสำคัญ ได้แก่ โรงพยาบาล โครงการ mix-use หรือศูนย์การค้า อาคารชุดหรืออาคารที่อยู่อาศัยรวม สนับสนุนยุทธศาสตร์ AWC และการท่องเที่ยวมูลค่าสูงตามแผนยุทธศาสตร์ชาติและแผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ
โดยตั้งเป้าหมายให้เทศบาลตำบลคึกคักเป็นศูนย์เศรษฐกิจการท่องเที่ยวขนาดใหญ่ที่มีศักยภาพการให้บริการนักท่องเที่ยวมูลค่าสูง และตอบสนองการยกระดับเศรษฐกิจฐานรากด้านการผลิตผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหารพื้นถิ่นนวัตกรรมมูลค่าสูง โดยจังหวัดบูรณาการแผนความร่วมมือกับสำนักงานเกษตรจังหวัด สำนักงานพาณิชย์จังหวัด และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพื่อร่วมมือกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงในการยกระดับคณภาพผลิตภัณฑ์
ด้านผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภก.ภาณุพงศ์ พุทธรักษ์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า การดำเนินการและการขับเคลื่อนของ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับ La Vita Sana และภาคีเครือข่ายทั้งในจังหวัดพังงา และ 6 จังหวัด อันดามัน เป็นส่วนหนึ่งของภาระกิจที่สำคัญของมหาวิทยาลัย ตาม Strategic objectives (ด้านสุขภาพ ในมิติด้าน Wellness) ภายใต้การขับเคลื่อนของหน่วยงาน PSU wellness ที่สอดคล้องกับแผนการขับเคลื่อนของ Andaman Wellness Corridor (AWC) โดยมีภาระสำคัญ 3 ด้าน คือ
1) การพัฒนา Brain power และ Man power ด้าน Medical & Wellness ด้วยการบริการวิชาการและการเรียนการสอน ทั้ง Re-skill/Up-skill/New Skill และการเป็นหลักในการพัฒนากำลังคนด้าน Wellness ของพื้นที่และประเทศ
2) การส่งเสริมด้านองค์ความรู้ งานวิจัย และนวัตกรรม เพื่อส่งเสริมในเกิดธุรกิจฐานนวัตกรรม และห่วงโช่อุปทานที่เกี่ยวข้อง สำหรับการส่งเสริมศักยภาพในการแข่งขันในระดับนานาชาติของพื้นที่ ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาประเทศ 20 ปี ให้มีการเติบโต อย่างมั่งคั่ง และยั่งยืน
3) การร่วมกันขับเคลื่อนเชิงนโยบายร่วมกับเครือข่าย โดยเฉพาะการขับเคลื่อน AWC ให้เป็น World health & wellness destination ของโลก
ทั้ง 3 ภาระกิจหลักนี้จะเป็นเป้าหมายของสงขลานครินทร์ที่มุ่งมั่น และตั้งใจ ในการพัฒนาภาคใต้และประเทศให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้วยองค์ความรู้ วิจัย และนวัตกรรม ตามปณิธานของพระบิดา ที่ว่า Our soul is for the benefit of mankind
นายฐาปนา บุณยประวิตร นายกสมาคมการผังเมืองไทยและเลขานุการกฎบัตรไทย กล่าวว่า ส่วนการดำเนินการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคของ AWC เป็นแผนยุทธศาสตร์สำคัญของโครงการระเบียงเศรษฐกิจเวลเนสประเทศไทย (Thailand Wellness Economic Corridor-TWC) เขตนวัตกรรมมูลค่าสูงที่ได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลในปี พ.ศ. 2566
ทั้งนี้ พื้นที่จังหวัดพังงา ผู้ว่าราชการจังหวัดและส่วนงานเครือข่ายที่เกี่ยวข้องอยู่ระหว่างการเร่งรัดการก่อสร้างท่าอากาศยานจังหวัดพังงา การศึกษาเพื่อขยายโครงข่ายระบบรางต่อจากเส้นทางสุราษฎร์ธานี- โคกกลอยจังหวัดพังงามายังพื้นที่เขาหลัก เพื่อเชื่อมโยงรูปแบบการเดินทางให้ครบทุกประเภท การพัฒนาพื้นที่เขตนวัตกรรมการท่องเที่ยวมูลค่าสูงจังหวัดพังงาบริเวณที่ 1 เทศบาลตำบลคึกคักที่จังหวัดอยู่ระหว่างเตรียมการจัดทำผังเมืองรวมใหม่ และการลงทุนพัฒนาระบบพลังงานสะอาดในเขตนวัตกรรมการท่องเที่ยวมูลค่าสูง โดยร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ซึ่งอาจใช้พื้นที่บริเวณเกาะคอเขาและเทศบาลตำบลคึกคักเป็นพื้นที่ต้นแบบ
สำหรับการยกระดับทางกายภาพแบบเข้มข้นของเขตนวัตกรรมฯ ตามแผน พื้นที่เทศบาลตำบลคึกคักจะถูกออกแบบปรับปรุงฟื้นฟูเมืองใหม่ทั้งหมด โดยกฎบัตรไทยจะร่วมกับสมาคมโรงแรมที่พักส่งเสริมสุขภาพอันดามันและอ่าวไทย และเทศบาลตำบลคึกคัก ดำเนินการศึกษาและออกแบบรายละเอียดทั้งรูปแบบการใช้ที่ดิน โครงสร้างพื้นฐานถนน คลอง น้ำเสีย ขยะ การจัดการน้ำท่วม การจัดการพื้นที่เสียงภัย การออกแบบปรับปรุงถนน ทางเดิน การเพิ่มพื้นที่สีเขียวในบริเวณย่านพาณิชยกรรม และการออกแบบภูมิสถาปัตยกรรมลักษณะเข้มข้นในพื้นที่ชายหาด พื้นที่สาธารณะ และพื้นที่งดงามตามธรรมชาติต่าง ๆ