
สวนสละลุงถันผนึก มอ.พลิกกลยุทธ์ ลงทุนสร้างโรงงานแปรรูป “สละผงพร้อมชง” ส่งจำหน่ายทั่วประเทศ หลังตลาดแข่งขันสูง ราคาร่วง ตาม ลองกอง มังคุด จาก 50-60 บาท เหลือ 25-30 บาท/กก. แตะราคาต้นทุน
นายวิชัย ดำเรือง เจ้าของสวนสละลุงถัน อ.ป่าบอน จ.พัทลุง เปิดเผยกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้ทางสวนสละลุงถันได้ขอสินเชื่อจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เพื่อลงทุนสร้างโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์สละผงพร้อมชงดื่ม เป็นเครื่องดื่มสุขภาพ
- MOTOR EXPO 2023 ยอดขายรถ 4 วันแรกทะลุ 8,300 คัน
- เช็กเงินช่วยเหลือชาวนาไร่ละ 1,000 บาท เงินเข้าบัญชีวันนี้ 38 จังหวัด
- สพฐ.ประกาศหยุดเรียน 4-8 ธ.ค.ให้นักเรียน ม.ปลายเตรียมสอบ TGAT/TPAT
โดยประสานกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ (มอ.) เรื่องขององค์ความรู้ พร้อมได้ยื่นเรื่องขออนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อรับรองคุณภาพสินค้า สร้างความเชื่อมั่นต่อผู้บริโภค ทั้งนี้ได้เตรียมทำตลาดทุกช่องทาง รวมถึงตลาดออนไลน์ ส่งตรงถึงบ้าน
“ที่ผ่านมาสวนสละลุงถัน ทำตลาดทั้งภายใน รวมถึงการทำสละสดแพ็กถุงขายผ่านตลาดออนไลน์ หลายขนาดตั้งแต่ 2-5-10 กก. และส่งออกไปห้างโมเดิร์นเทรดในประเทศมาเลเซีย เฉพาะสินค้าในสวนสละลุงถันที่ปลูกเองยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด แต่การจะรับซื้อสละจากสวนอื่นที่จะเข้าเพื่อสนับสนุนการตลาด จะต้องดูคุณภาพว่าได้ตามมาตรฐานตามที่กำหนดหรือไม่ และบริหารจัดการด้านการเงินในการซื้อขาย”
นายวิชัยกล่าวต่อไปว่า ปัจจุบันราคาสละตกลงมาอยู่ที่ 30-40 บาท/กก. ทั้งค้าส่งค้าปลีก ซึ่งใกล้เคียงกับราคาต้นทุนการผลิตที่อยู่ไม่ต่ำกว่า 30 บาท/กก. จากราคาเดิมที่เคลื่อนไหวประมาณ 50-60 บาท/กก. เพราะตลาดมีการแข่งขันกันสูงมาก จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนการตลาด การผลิตตามฤดูกาลไม้ผล
ซึ่งปกติช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน ฤดูที่สละออกผลผลิต จะมีผลไม้อื่นออกมาจำนวนมากเช่นกัน ทั้งมังคุด ลองกอง เงาะ ทุเรียน ดังนั้นจะต้องวางแผนการผลิต เพื่อรักษาตลาดและราคาเพื่อให้คุ้มทุน
นายกำแพง แก้วสุวรรณ์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ สำนักงานเกษตรจังหวัดพัทลุง เปิดเผยว่า จังหวัดพัทลุงมีสวนปลูกต้นสละ
รวมประมาณกว่า 4,000 ไร่ ใน 11 อำเภอ มีผลผลิตประมาณ 1,500 กก./ไร่/ปี ภาพรวมประมาณ 6,000 ตัน/ปี มีการขยายตัวเติบโตบางปีประมาณ 5% ช่วงที่สละราคาดี แต่ตอนนี้ราคาปรับตัวลงมาอยู่ที่ 25-30 บาท/กก. จากราคาเดิม 50-60 บาท/กก. ราคาเปลี่ยนแปลงเกือบ 50% การผลิตการปลูกน่าจะทรงตัว