“ตรัง”เตรียมคลายมาตรการล็อกดาวน์ หลังไม่พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ในรอบ14วัน

ตรังเฮ! ไร้ผู้ติดเชื้อเพิ่มเป็นวันที่ 14 เตรียมเสนอผวจ.คลายล็อกหลัง 30 เม.ย. แต่จะต้องคงด่านคัดกรองเข้มตามรอยต่อระหว่างจังหวัดไว้ต่อไป และประชาชนจะต้องมีสุขนิสัยส่วนตัว เช่น เว้นระยะห่างทางสังคม สวมแมช และล้างมือด้วยเจล

ผู้สื่อข่าวรายงานจากจังหวัดตรัง เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2563 ที่ห้องประชุมสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง นายแพทย์บรรเจิด สุขพิพัฒปานนท์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดตรัง ผู้บัญชาการเหตุการณ์ เป็นประธานประชุมคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินทางด้านสาธารณสุข (EOC) สสจ.ตรัง กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาโควิด 19 ซึ่งประกอบด้วยหลายกลุ่มภารกิจ เช่น กลุ่มภารกิจตระหนักรู้สถานการณ์ กลุ่มภารกิจสื่อสารความเสี่ยง กลุ่มภารกิจดูแลรักษาผู้ป่วย กลุ่มธุรกิจด่านกักกัน เป็นต้น เพื่อสรุปสถานการณ์และแนวโน้มการของโรค การเตรียมความพร้อมของรพ.สนาม สรุปทรัพยากรด้านการแพทย์และสาธารณสุข และแลกเปลี่ยนปัญหาและอุปสรรค ข้อเสนอแนะของกลุ่มภารกิจต่างๆ

นายแพทย์บรรเจิด เปิดเผยว่า จังหวัดตรังในขณะนี้มีตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด19 จำนวน 7 ราย และไม่มีผู้ป่วยรายใหม่มานาน 14 วันแล้ว โดยทั้ง 7 ราย นำเข้าจาก จ.ภูเก็ต 3 ราย ,จากประเทศฟิจิ 2 ราย และเป็นแพทย์ 2 ราย ซึ่งพบเชื้อเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา และผ่านมานานนับเดือนแล้ว ปรากฏว่าไม่มีผู้ป่วยต่อเนื่องจากแพทย์แต่อย่างใด ผลที่ออกมาจากการที่ผู้ติดเชื้อนำเข้าเกือบทั้งหมด ทำให้จังหวัดตรังออกคำสั่งเด็ดขาดเรื่องการปิดจังหวัด (10 -30 เม.ย.) และเดินทางมาถูกต้องในการคัดกรอง ไม่อนุญาตให้คนนอกเข้าพื้นที่โดยการซีลรอบแนวชายแดน ยกเว้นคนที่ได้รับการยกเว้น และต้องเขามาถูกต้องตามขั้นตอน

นายแพทย์บรรเจิด กล่าวต่อไปว่า มาถึงเวลานี้ คาดว่าในวันที่ 30 เมษายนครบกำหนด เตรียมหารือผ่อนคลายในการคำสั่งดังกล่าว ส่วนตัวขอให้การสกรีนคนเข้าผ่านด่านจำเป็นจะต้องคงไว้อยู่ และจากหลักฐานไม่พบคนตรังแพร่เชื้อสู่กัน อาจจะสามารถผ่อนคลายในส่วนของรานค้า รานอาหาร แต่สุขนิสัยส่วนบุคคลทั้งการ สวมหน้ากาก ล้างมือ

“ทั้งนี้ การตัดสินกำหนดมาตรการ เราใช้ข้อมูล เหตุผล ทฤษฎีในการดำเนินการ ทั้งนี้ ภาพจังหวัดตรังผู้ป่วยนำเข้าอย่างเดียว เราจึงใช้มาตรการปิดตัวเองอยู่กับบ้าน คนที่มีความจำเป็นจะเข้ามาจังหวัดตรัง โดยคำสั่งมีข้อยกเว้นให้ เพียงแต่เรากำหนดให้เข้าช่องทางหลักเท่านั้น เพราะช่องทางหลักเรามีการเตรียมทรัพยากรไว้ในการคัดกรอง เช่น จนท.สาธารณสุข วัดไข้ สอบถามอาการเกี่ยวกับโรคหวัด เพื่อตัดแยกว่าเป็น pui หรือไม่ (ผู้ป่วยสอบสวนโรค) เจ้าหน้าที่ปกครอง ก็ทำทะเบียนสอบถามเส้นทางที่มาในการเดินทาง มาจากพื้นที่ไหนอย่างไร ซึ่งเรามีมาตรการรองรับ เพื่อปกป้องคนจังหวัดเรา ถ้าคนไม่มีข้อห้าม ไม่เป็นผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรค(PUI)ก็เข้าได้” นายแพทย์บรรเจิด กล่าว

นายแพทย์บรรเจิด กล่าวต่อไปว่า ดังนั้น การที่มีคนออกมาโจมตีผู้ว่าราชการจังหวัดเรื่องมาตรการคัดกรองคนนั้น จะบอกว่าคนที่จะโจมตีใครจะต้องเข้าใจที่มาที่ไปให้ถ่องแท้ก่อน ก่อนจะโจมตีใคร ให้เข้าใจว่าสิ่งที่ผวจ.และจังหัดตรังทำ ณ วันนี้เป็นผลลัพธ์ชัดเจนมากว่าเราทำได้ถูกทาง ถ้าเราหย่อนยานที่ด่าน เราก็ป้องกันผู้ติดเชื่อนำเข้าไม่ได้ แต่ ณ วันนี้ เราจึงมั่นใจกับตัวเลขเรามาก เพราะผ่านมา 14 วัน คิดว่าการซีลตะเข็บชายแดนได้ผล ทั้งนี้ เหตุผลสำคัญอีกประการในการตัดสินใจของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดตรังที่ให้ปิดเมือง ณ วันนั้น

“ก่อนวันที่ 10 เมษายน ทางสาธารณสุขได้นำตัวเลขระบาดวิทยาของจังหวัดส่งให้กับทีมแพทย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยช่วยวิเคราะห์ข้อมูล แนวโน้มสถานการณ์การระบาด ณ ขณะนั้นพบว่า หากเราไม่ดำเนินการมาตรการอย่างใดอย่างหนึ่ง จะจังหวัดตรังจะเกิดการระบาดกันเองได้ในจังหวัดประมาณเดือนพฤศจิกายน และจะเริ่มต้นระบาดเองในเดือนสิงหาคม ดังนั้น คณะกรรมการโรคติดต่อ โดยผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง จึงใช้ยาแรงในการประกาศปิดเมือง และคัดกรองคนนอกพื้นที่ และห้ามคนในพื้นที่ออก ยกเว้นรถหรือคนในคำสั่งเท่านั้น ซึ่งผลปรากฏว่าจังหวัดเอาอยู่ดังกล่าว” นายแพทย์บรรเจิด กล่าว