ด่านมุกดาหารส่งออก มี.ค. พุ่ง 1.3 หมื่นล้าน

คอลัมน์ ดาต้าภูธร

ด่านศุลกากรมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร ถือเป็นหนึ่งในด่านชายแดนสำคัญของประเทศไทยในการส่งออกและนำเข้าสินค้าจาก สปป.ลาว ซึ่งจากข้อมูลพบว่ายอดการค้าส่งออกและนำเข้าในช่วงปีงบประมาณ 2563 เดือนกุมภาพันธ์ 2563 มียอดมูลค่าส่งออกรวม 5,748,441,810.95 บาท แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดือนมีนาคม 2563 พบว่า มียอดส่งออกรวม 13,906,994,689.68 บาท แสดงให้เห็นว่ายอดการส่งออกเพิ่มขึ้น 8,158,552,878.73 บาท อาจเป็นเพราะว่าก่อนจะมีการปิดด่านชายแดน จึงมีการเร่งผลักดันสินค้าส่งออกไปให้มากที่สุด จึงทำให้มูลค่าทางการค้าเพิ่มขึ้น เพราะไม่สามารถทราบได้ว่าสถานการณ์จะคลี่คลายเมื่อไหร่

สำหรับสินค้าที่มีการส่งออก 10 อันดับแรกเดือนกุมภาพันธ์ ได้แก่ 1.เครื่องประมวลผลหรือหน่วยเก็บข้อมูล มูลค่า 2,738,003,760.51 บาท 2.ทรานซิสเตอร์และกลอุปกรณ์กึ่งตัวนำที่คล้ายกัน มูลค่า 602,949,196.30 บาท 3.แผ่นวงจรพิมพ์ มูลค่า 203,298,366.71 บาท 4.น้ำมันเชื้อเพลิง มูลค่า 165,918,501.82 บาท 5.ไม้ฟืน ไม้ท่อน มูลค่า 144,787,165.76 บาท 6.เครื่องดื่ม มูลค่า 131,410,755.54 บาท 7.ส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบของยานยนต์ มูลค่า 124,825,506.53 บาท 8.น้ำตาลทราย มูลค่า 97,699,425.20 บาท 9.โค กระบือมีชีวิตสำหรับทำพันธุ์ มูลค่า 93,719,000 บาท 10.ส่วนประกอบกล้อง มูลค่า 90,962,042.55 บาท และ 11.อื่น ๆ มูลค่า 1,354,868,090.03 บาท

ด้านสินค้านำเข้า 10 อันดับแรก ได้แก่ 1.เครื่องโทรศัพท์ อุปกรณ์โทรศัพท์ มูลค่า 889,049,261.96 บาท 2.ทองแดงบริสุทธิ์ มูลค่า 720,514,835.47 บาท 3.พลังงานไฟฟ้า มูลค่า 672,591,787.55 บาท 4.ส่วนประกอบกล้อง มูลค่า 434,771,588.96 บาท 5.เครื่องประมวลผลหรือหน่วยเก็บข้อมูล มูลค่า 283,640,881.68 บาท 6.สารเคมีที่โด๊ปแล้วใช้ในทางอิเล็กทรอนิกส์ มูลค่า 252,674,158.78 บาท 7.ส่วนประกอบและอุปกรณ์ของเครื่องจักร มูลค่า 131,033,759.48 บาท 8.ทรานซิสเตอร์และกลอุปกรณ์กึ่งตัวนำที่คล้ายกัน มูลค่า 127,879,340.65 บาท 9.ไมโครโฟนและขาตั้งไมโครโฟน มูลค่า 71,714,454.23 บาท 10.แผ่นวงจรพิมพ์ มูลค่า 64,643,067.85 บาท และ 11.อื่น ๆ 1,673,688,499.04 บาท

ส่วนสินค้าที่ส่งออก 10 อันดับแรกเดือนมีนาคม ได้แก่ 1.เครื่องประมวลผลหรือหน่วยเก็บข้อมูล มูลค่า 10,903,080,600.33 บาท 2.ทรานซิสเตอร์และกลอุปกรณ์กึ่งตัวนำที่คล้ายกัน มูลค่า 692,701,366.64 บาท 3.น้ำมันเชื้อเพลิง มูลค่า 187,848,725.14 บาท 4.แผ่นวงจรพิมพ์ มูลค่า 159,118,968.87 บาท 5.เครื่องดื่ม มูลค่า 157,159,753.95 บาท 6.ไม้ฟืน ไม้ท่อน มูลค่า 154,151,493.81 บาท 7.ส่วนประกอบกล้อง มูลค่า 111,044,894.13 บาท 8.โค กระบือมีชีวิตสำหรับทำพันธุ์ มูลค่า 93,064,492.83 บาท 9.สุกรมีชีวิต หรือสำหรับทำพันธุ์ มูลค่า 69,611,731.09 บาท 10.ผ้าอื่น ๆ ถักแบบนิตหรือแบบโครเชต์ มูลค่า 65,863,398.48 บาท และ 11.อื่น ๆ 1,313,349,264.41 บาท

ด้านสินค้านำเข้า 10 อันดับแรก ได้แก่ 1.เครื่องโทรศัพท์ อุปกรณ์โทรศัพท์ มูลค่า 4,481,447,130.68 บาท 2.เครื่องประมวลผลหรือหน่วยเก็บข้อมูล มูลค่า 2,118,614,377.38 บาท 3.อุปกรณ์หน่วยเก็บความจำแบบไม่ลบเลือน มูลค่า 1,187,537,208.87 บาท 4.ทองแดงบริสุทธิ์ มูลค่า 583,648,101 บาท 5.พลังงานไฟฟ้า มูลค่า 511,464,918.41 บาท 6.สารเคมีที่โด๊ปแล้วใช้ในทางอิเล็กทรอนิกส์ มูลค่า 509,278,022.17 บาท 7.ส่วนประกอบกล้อง มูลค่า 351,483,263.23 บาท 8.ส่วนประกอบและอุปกรณ์ของเครื่องจักร มูลค่า 327,731,806.75 บาท 9.แผ่นวงจรพิมพ์ มูลค่า 180,767,472.95 บาท 10.ทรานซิสเตอร์และกลอุปกรณ์กึ่งตัวนำที่คล้ายกัน มูลค่า 167,701,753.79 บาท และ 11.อื่น ๆ 2,619,137,645.72 บาท