ด่านแม่สอดซึมพิษโควิด ส่งออก 12 เดือน ลดฮวบ 1.5 พันล้าน

ด่านชายแดนแม่สอด จ.ตาก
คอลัมน์ ดาต้าภูธร

ด่านศุลกากรแม่สอด จังหวัดตาก ถือเป็นหนึ่งในด่านชายแดนสำคัญของประเทศไทยในการส่งออกและนำเข้าสินค้าจากประเทศเมียนมา

จากสถานการณ์แพร่เชื้อระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ยอดการส่งออกและนำเข้าลดลงจากปีที่ผ่านมา โดยกรมศุลกากรได้รายงานข้อมูลยอดการค้าส่งออกและนำเข้าในช่วงปีงบประมาณ 2563 (1 ตุลาคม 2562-30 กันยายน 2563) ว่า มียอดมูลค่าส่งออกรวม 65,980,409,469.83 บาท โดยมีสินค้าส่งออกมากที่สุด 10 อันดับแรก

ได้แก่ 1.เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ผสม มูลค่า 3,852,730,008.05 บาท 2.รถจักรยานยนต์ มูลค่า 2,415,543,254.89 บาท 3.น้ำมันดีเซล มูลค่า 1,822,698,352.82 บาท 4.ผ้าพิมพ์ฝ้าย 100% มูลค่า 1,604,232,377.44 บาท

5.หมากแห้ง มูลค่า 1,325,469,159.06 บาท 6.กระเบื้องแผ่นเรียบ มูลค่า 1,226,121,425.30 บาท 7.รองเท้าแตะ มูลค่า 1,074,682,598.30 บาท 8.น้ำมันเบนซิน มูลค่า 987,012,262.99 บาท 9.นมถั่วเหลือง มูลค่า 935,935,234.67 บาท 10.ปูนซีเมนต์ มูลค่า 924,418,305.94 บาท และ 11.อื่น ๆ มูลค่า 2,333,816,717.20 บาท

ทั้งนี้ ในส่วนของสินค้านำเข้า 10 อันดับแรก ได้แก่ 1.เมล็ดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มูลค่า 5,603,047,297.68 บาท 2.โค-กระบือมีชีวิต มูลค่า 789,454,000 บาท 3.เมล็ดถั่วลิสง (FORM D) มูลค่า 694,002,205.19 บาท 4.พลวงออกไซด์ (เข้าคลังทัณฑ์บน) มูลค่า 433,774,910.54 บาท

5.พริกแห้ง (FORM D) มูลค่า 325,530,813.45 บาท 6.หม้อแปลงไฟฟ้า (เข้า EPZ กับ BOI) มูลค่า 305,036,418.92 บาท 7.พริกสด (FORM D) มูลค่า 203,109,763.04 บาท 8.เฟอร์นิเจอร์ที่ทำด้วยไม้ มูลค่า 188,425,729 บาท 9.ชุดชั้นในและกางเกงในสตรี (FORM D) มูลค่า 165,122,781.06 บาท 10.ไอโซแท็งก์สำหรับบรรจุก๊าซ มูลค่า 155,696,444.40 บาท และ 11.อื่น ๆ มูลค่า 2,333,816,717.20 รวมมูลค่าการนำเข้าทั้งหมด 11,197,037,080.48 บาท

แต่ถ้าเทียบกับช่วงเดียวกันของงบประมาณปี 2562 (1 ตุลาคม 2561-30 กันยายน 2562)

ที่ผ่านมาพบว่า มียอดมูลค่าส่งออกรวม 69,468,093,837.73 บาท โดยมีสินค้าส่งออกมากที่สุด 10 อันดับแรก ได้แก่ 1.เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ผสม มูลค่า 3,266,537,545.39 บาท 2.รถจักรยานยนต์ มูลค่า 2,582,145,304.17 บาท 3.น้ำมันดีเซล มูลค่า 2,394,030,775.89 บาท 4.โทรศัพท์พร้อมอุปกรณ์ มูลค่า 1,845,032,326.45 บาท

5.น้ำมันเบนซินมูลค่า 1,752,779,079.23 บาท 6.หมากแห้ง มูลค่า 1,679,882,634.25 บาท 7.ผ้าพิมพ์ฝ้าย 100% มูลค่า 1,585,253,670.05 บาท 8.กระเบื้องปูพื้น มูลค่า 1,434,126,089.06 บาท 9.ปุ๋ยเคมี มูลค่า 1,202,670,082.74 บาท 10.ผ้าโพลิเอสเตอร์ มูลค่า 1,175,288,325.21 บาท และ 11.อื่น ๆมูลค่า 50,550,312,005.29 บาท

ในส่วนของสินค้านำเข้า 10 อันดับแรก ได้แก่ 1.เมล็ดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มูลค่า 4,239,314,193.26 บาท 2.โค-กระบือมีชีวิต มูลค่า 1,045,264,000 บาท 3.เมล็ดถั่วลิสง (FORM D) มูลค่า 611,935,383.28 บาท 4.เศษเหล็กเก่าใช้แล้ว มูลค่า 466,435,047.57 บาท 5.พลวงออกไซด์ (เข้าคลังทัณฑ์บน) มูลค่า 328,163,170.27 บาท

6.เศษอะลูมิเนียมเก่าใช้แล้ว มูลค่า 296,364,790.33 บาท 7.หม้อแปลงไฟฟ้า (เข้า EPZ) มูลค่า 258,192,818.42 บาท 8.พริกสด (FORM D) มูลค่า 243,604,741.08 บาท 9.เฟอร์นิเจอร์ที่ทำด้วยไม้ มูลค่า 221,815,970 บาท 10.ชุดชั้นในและกางเกงในสตรี (FORM D) มูลค่า 171,511,138.12 บาท และ 11.อื่น ๆ มูลค่า 1,785,492,401.94 รวมมูลค่าการนำเข้าทั้งหมด 9,668,093,654.27 บาท

เมื่อเทียบสถิติการนำเข้าและส่งออกช่วงเดียวกันระหว่างงบประมาณปี 2562 (1 ต.ค. 2561-30 ก.ย. 2562) และปีงบประมาณ 2563 (1 ต.ค. 2562-30 ก.ย. 2563) พบว่า ยอดการส่งออกลดลงกว่า 1,543,009,7491.54 บาท และยอดการนำเข้าเพิ่มขึ้น 1,363,733,104.42 บาท