เกียรติศักดิ์ ตรงศิริ รุกสู่ “ศูนย์กลางบริการทางการศึกษา”

การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ตั้งแต่ช่วงเดือนมีนาคม 2563 มาถึงการระบาดระลอกใหม่ในเดือนธันวาคม 2563 ดูเหมือนว่าไม่ได้ทำให้ “มหาสารคาม” หนึ่งในจังหวัดที่ได้ชื่อว่าเป็น “เมืองแห่งการศึกษา” ได้รับผลกระทบมากนัก

เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่มีรายได้มาจากภาคเกษตร เช่น ปลูกข้าว ทำไร่อ้อย ไร่มันสำปะหลัง และเลี้ยงสัตว์ส่วนที่เหลือพึ่งพารายได้จากภาคการศึกษาโดยจังหวัดเล็ก ๆ แห่งนี้มีสถาบันการศึกษา รวมถึง 1,034 แห่ง มีนักศึกษารวมกว่า 2 แสนคน รวมถึงภาคการผลิตค้าส่ง-ค้าปลีก ส่งผลต่อการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจของจังหวัด

“ประชาชาติธุรกิจ” ได้สัมภาษณ์ “เกียรติศักดิ์ ตรงศิริ” ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคามคนใหม่วัย 53 ปี ถึงวิสัยทัศน์ภาพรวมแนวนโยบายการบริหารงานและการรับมือกับโควิด-19 รอบใหม่

รับมือโควิด-แก้ฝุ่น PM 2.5

สำหรับนโยบายเร่งด่วนได้รับนโยบายมาจากกระทรวงมหาดไทย และหลายหน่วยงานให้เตรียมความพร้อมรับมือกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 รอบใหม่ หากมีความรุนแรงและมีแนวโน้มแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง

โดยที่ผ่านมาทางจังหวัดได้ตั้งจุดตรวจคัดกรองโควิดในพื้นที่ทั้งหมด 5 จุด บนถนนทางเชื่อมระหว่างจังหวัด ได้แก่ จุดคัดกรองห้วยแอ่ง อ.เมืองมหาสารคาม, จุดคัดกรองโคกพระ อ.กันทรวิชัย,

จุดคัดกรองกู่ทอง อ.เชียงยืน, จุดคัดกรองกุดรัง อ.กุดรัง และจุดคัดกรองปะหลาน อ.พยัคฆภูมิพิสัย โดยบุคคลที่เดินทางเข้ามายังจังหวัดมหาสารคาม จะต้องลงทะเบียนเข้า-ออก ด้วยการสแกนแอปพลิเคชั่นไทยชนะ

หรือลงทะเบียนเขียนชื่อ-นามสกุล ในแบบฟอร์มที่ด่านคัดกรอง มีการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย เพื่อดูแลประชาชนที่เดินทางข้ามจังหวัด และเฝ้าระวังโรคหรือสังเกตอาการผู้เดินทางและพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดต่อโรค

นอกจากนี้ ได้เน้นการสร้างความเข้าใจให้ประชาชนใช้ชีวิตแบบ new normal ด้วยการสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าเว้นระยะห่าง หมั่นล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ หลีกเลี่ยงการไปในสถานที่้ที่มีผู้คนหนาแน่นหรือพื้นที่เสี่ยง

สำหรับแรงงานต่างด้าวขอความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปตรวจติดตามตามสถานประกอบการต่าง ๆ มีมาตรการในการไม่เคลื่อนย้ายแรงงานเข้า-ออก

นอกจากนี้ เพื่อป้องกันฝุ่นควัน PM 2.5 ได้จัดทำโครงการเกษตรปลอดการเผา (zero burn) วัสดุที่ทำการเกษตร โดยทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่างจังหวัดมหาสารคาม หน่วยงานภาครัฐและองค์กรเครือข่ายจังหวัดมหาสารคาม

และบริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด บริษัท คูโบต้ามหาสารคาม จำกัด เพื่อเป็นการสร้างความตระหนักและการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาฝุ่นควัน PM 2.5 และเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร

โดยการรณรงค์ไม่ให้เกษตรกรเผาเศษวัสดุที่ทำการเกษตร อาทิ การทำนาปรัง โดยใช้วิธีการปั่นโรตารีกลบตอซัง โดยมีเป้าหมายในการลดการเผาในพื้นที่การเกษตรของจังหวัดมหาสารคามให้เป็นศูนย์เปอร์เซ็นต์ ภายในปี พ.ศ. 2565

สร้างงาน-อาชีพเพิ่มรายได้

จากการศึกษาข้อมูลของจังหวัดมหาสารคามพบว่า มีพื้นที่ถึง 90% เป็นพื้นที่ใช้ประโยชน์ทำการเกษตร

โดยเฉพาะการทำนา สิ่งที่ประชาชนส่วนใหญ่ประสบอยู่เป็นเรื่องความยากจน มีรายได้ไม่สมดุลกับรายจ่าย เนื่องจากบางพื้นไม่มีแหล่งน้ำหรือไม่มีแม่น้ำสายหลักไหลผ่านต้องอาศัยน้ำฝน การทำนาได้เพียงปีละครั้ง

ดังนั้น จึงมีนโยบายในการแก้ปัญหาความยากจนในหมู่ประชาชนให้ได้ โดยเฉพาะการสร้างงานสร้างอาชีพเพิ่มรายได้ลดรายจ่ายเข้าครัวเรือนจะทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้น

โดยได้มอบนโยบายให้ทั้ง 13 อำเภอ ลงสำรวจจำแนกความยากจนมีสาเหตุมาจากอะไร อาทิ ไม่มีงานทำ ไม่มีที่ทำกินหรือมีแต่ไม่พอ ความพิการ ป่วยติดเตียง เป็นต้น

หากได้ตัวเลขมาแล้วจะประสานงานภาคราชการที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่ติดตามให้ความช่วยเหลือ แต่ที่เน้นมากที่สุดคือให้ประชาชนใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงของล้นเกล้าฯในหลวงรัชกาลที่ 9 มาใช้ในการดำเนินชีวิตเพื่อทำให้ลดรายจ่ายในครัวเรือนลง

อาทิ ปลูกผักสวนครัว ปลูกทุกอย่างที่กินได้ เลี้ยงปลา เลี้ยงเป็ดไก่ ไว้บริโภคที่เหลือจึงนำออกขายตลาดสร้างรายได้เข้าครัวเรือน เป็นต้น

รุกบริหารจัดการแหล่งน้ำ

เนื่องจากมหาสารคามมีพื้นที่ทำนานับล้านไร่ เมื่อเกษตรกรเก็บเกี่ยวผลผลิตจะนำออกขาย ซึ่งเมื่อก่อนบางปีราคาข้าวเปลือกตกต่ำเกษตรกรชาวนาก็ขาดทุน แต่ปัจจุบันรัฐบาลมีโครงการประกันรายได้ให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวทำให้ชาวนามีรายได้มากขึ้น

แต่อยากส่งเสริมให้เกษตรกรทั้งจังหวัดลดต้นทุนการทำนาโดยทำเกษตรแปลงใหญ่ เกษตรปลอดภัยไม่ใช้สารเคมี

และแปรรูปเป็นข้าวสารบรรจุถุงขาย เน้นเป็นผลผลิตข้าวปลอดสารเป็นสินค้าข้าวพรีเมี่ยมจะทำให้ขายได้ราคาสูงกว่าข้าวธรรมดา ตลาดบนกำลังมีการขยายตัว

เพราะคนยุคใหม่ใสใจในรักษาสุขภาพมากขึ้นในการบริโภคอาหาร และเป็นไปตามแผนพัฒนาจังหวัดมหาสารคาม พ.ศ. 2561-2565 ด้านการส่งเสริมและพัฒนาระบบการผลิต การแปรรูปผลผลิตและการตลาดสินค้าเกษตรและอาหารคุณภาพ

สำหรับแผนพัฒนาจังหวัดมหาสารคาม พ.ศ. 2561-2565 รวม 4 ด้าน ประกอบด้วย 1.ส่งเสริมและพัฒนาระบบการผลิต การแปรรูปผลผลิตและการตลาดสินค้าเกษตรและอาหารคุณภาพ 2.ส่งเสริมการค้า การลงทุน การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรมเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

3.ส่งเสริมและพัฒนาการจัดการศึกษาเพื่อยกระดับสู่การเป็นศูนย์กลางบริการทางการศึกษาและวัฒนธรรมของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 4.พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนสู่สังคมรู้รักสามัคคีเทิดทูนสถาบันของชาติ เอื้ออาทรและสมานฉันท์

สำหรับพื้นที่ไม่เหมาะสมกับการทำนา เพราะไม่มีแหล่งน้ำ ต้องมีการบริหารจัดการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อนำมาใช้ในการเกษตร รวมทั้งการอุปโภคบริโภค โดยจะบูรณาการกับหลายหน่วยงาน

อาทิ ชลประทานจังหวัด กรมทรัพยากรน้ำบาดาล และกระทรวงเกษตรฯ เป็นต้น นำน้ำใต้ดินขึ้นมาใช้ ติดตั้งโซลาร์เซลล์ สูบน้ำขึ้นมาช่วยกลุ่มเกษตรกรในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร รวมทั้งปรับเปลี่ยนพื้นที่นาบางส่วนที่ไม่เหมาะสมมาปลูกพืชอายุสั้น

ซึ่งจะทำให้มีรายได้ตลอดปีมากกว่าการทำนา ส่วนพื้นที่ดอนส่งเสริมให้ทำปศุสัตว์ อาทิ เลี้ยงโค กระบือ เป็นต้น ทราบว่ามีหน่วยงานราชการให้การส่งเสริมอยู่แล้ว เป็นการช่วยสร้างงานสร้างอาชีพให้เกษตรกรมีทางเลือกในการประกอบอาชีพมากขึ้นจะช่วยแก้ปัญหาความยากจนได้ในระดับหนึ่ง

ดึง 2 มหา’ลัยพัฒนา OTOP

นอกจากนั้น ในหมู่บ้านและตำบลต่าง ๆ จะมีสินค้าโอท็อป โดยสินค้าบางตัวสามารถจำหน่ายได้ในตลาดวงกว้างสามารถสร้างรายได้เข้าท้องถิ่นปีละนับร้อยล้านบาท

อาทิ เสื่อกกบ้านแพง ผ้าไหมลายสร้อยดอกหมากเป็นต้น แต่ยังมีสินค้าโอท็อปบางประเภทที่ยังต้องมีการพัฒนาตัวสินค้าให้ได้มาตรฐาน และสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคในตลาด จึงต้องมีการบูรณาการกับสถาบันการศึกษาในท้องถิ่น

เนื่องจากมหาสารคามมีมหาวิทยาลัยอยู่ถึง 2 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม มีองค์ความรู้มากมายที่สามารถจะนำความรู้เหล่านี้มาพัฒนาสินค้าโอทอ็ปให้เป็นที่ต้องการของตลาด โดยตนได้มีการประสานงานเบื้องต้นไว้แล้ว

ที่ผ่านมาผ้าไหมมหาสารคามมีชื่อเสียงมานานมาก แต่ส่วนใหญ่ทอผ้าขายเป็นผืน หากจะเพิ่มมูลค่าต้องแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เป็นชิ้นงาน อาทิ เสื้อ ผ้า เป็นต้น โดยต้องมีการออกแบบที่สวยงามทันสมัยตรงกับความต้องการของตลาดจะทำให้มีรายได้เข้าชุมชนมากขึ้น การแปรรูปจะทำให้กลุ่มทอผ้ามีความมั่นใจว่าผลผลิตไม่มีล้นตลาด และจะรณรงค์ให้หน่วยงานราชการใส่ผ้าไหมอาทิตย์ละ 2 ครั้ง

รวมทั้งจะมีการดีไซน์ลายแบบเสื้อให้เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดมหาสารคาม อาจเป็นลายภาพพระบรมธาตุนาดูน หรือพระกันทรวิชัย รณรงค์ให้คนมหาสารคามใส่เสื้อลายนี้

รวมทั้งให้ผลิตจำหน่ายเป็นสินค้าของฝากให้กับกลุ่มนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในพื้นที่เป็นการโปรโมตจังหวัดอีกทางหนึ่ง เนื่องจากแต่ละปีตัวเลขนักท่องเที่ยวเข้ามาท่องเที่ยวตามสถานที่ต่าง ๆ จำนวนหลายแสนคนในแต่ละปี ซึ่งจะทำให้มีรายได้เข้ามหาสารคามมากขึ

การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ตั้งแต่ช่วงเดือนมีนาคม 2563 มาถึงการระบาดระลอกใหม่ในเดือนธันวาคม 2563 ดูเหมือนว่าไม่ได้ทำให้ “มหาสารคาม” หนึ่งในจังหวัดที่ได้ชื่อว่าเป็น “เมืองแห่งการศึกษา” ได้รับผลกระทบมากนัก

เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่มีรายได้มาจากภาคเกษตร เช่น ปลูกข้าว ทำไร่อ้อย ไร่มันสำปะหลัง และเลี้ยงสัตว์ส่วนที่เหลือพึ่งพารายได้จากภาคการศึกษาโดยจังหวัดเล็ก ๆ แห่งนี้มีสถาบันการศึกษา รวมถึง 1,034 แห่ง มีนักศึกษารวมกว่า 2 แสนคน รวมถึงภาคการผลิตค้าส่ง-ค้าปลีก ส่งผลต่อการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจของจังหวัด

“ประชาชาติธุรกิจ” ได้สัมภาษณ์ “เกียรติศักดิ์ ตรงศิริ” ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคามคนใหม่วัย 53 ปี ถึงวิสัยทัศน์ภาพรวมแนวนโยบายการบริหารงานและการรับมือกับโควิด-19 รอบใหม่

รับมือโควิด-แก้ฝุ่น PM 2.5

สำหรับนโยบายเร่งด่วนได้รับนโยบายมาจากกระทรวงมหาดไทย และหลายหน่วยงานให้เตรียมความพร้อมรับมือกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 รอบใหม่ หากมีความรุนแรงและมีแนวโน้มแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง

โดยที่ผ่านมาทางจังหวัดได้ตั้งจุดตรวจคัดกรองโควิดในพื้นที่ทั้งหมด 5 จุด บนถนนทางเชื่อมระหว่างจังหวัด ได้แก่ จุดคัดกรองห้วยแอ่ง อ.เมืองมหาสารคาม, จุดคัดกรองโคกพระ อ.กันทรวิชัย,

จุดคัดกรองกู่ทอง อ.เชียงยืน, จุดคัดกรองกุดรัง อ.กุดรัง และจุดคัดกรองปะหลาน อ.พยัคฆภูมิพิสัย โดยบุคคลที่เดินทางเข้ามายังจังหวัดมหาสารคาม จะต้องลงทะเบียนเข้า-ออก ด้วยการสแกนแอปพลิเคชั่นไทยชนะ

หรือลงทะเบียนเขียนชื่อ-นามสกุล ในแบบฟอร์มที่ด่านคัดกรอง มีการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย เพื่อดูแลประชาชนที่เดินทางข้ามจังหวัด และเฝ้าระวังโรคหรือสังเกตอาการผู้เดินทางและพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดต่อโรค

นอกจากนี้ ได้เน้นการสร้างความเข้าใจให้ประชาชนใช้ชีวิตแบบ new normal ด้วยการสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าเว้นระยะห่าง หมั่นล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ หลีกเลี่ยงการไปในสถานที่้ที่มีผู้คนหนาแน่นหรือพื้นที่เสี่ยง

สำหรับแรงงานต่างด้าวขอความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปตรวจติดตามตามสถานประกอบการต่าง ๆ มีมาตรการในการไม่เคลื่อนย้ายแรงงานเข้า-ออก

นอกจากนี้ เพื่อป้องกันฝุ่นควัน PM 2.5 ได้จัดทำโครงการเกษตรปลอดการเผา (zero burn) วัสดุที่ทำการเกษตร โดยทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่างจังหวัดมหาสารคาม หน่วยงานภาครัฐและองค์กรเครือข่ายจังหวัดมหาสารคาม

และบริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด บริษัท คูโบต้ามหาสารคาม จำกัด เพื่อเป็นการสร้างความตระหนักและการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาฝุ่นควัน PM 2.5 และเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร

โดยการรณรงค์ไม่ให้เกษตรกรเผาเศษวัสดุที่ทำการเกษตร อาทิ การทำนาปรัง โดยใช้วิธีการปั่นโรตารีกลบตอซัง โดยมีเป้าหมายในการลดการเผาในพื้นที่การเกษตรของจังหวัดมหาสารคามให้เป็นศูนย์เปอร์เซ็นต์ ภายในปี พ.ศ. 2565

สร้างงาน-อาชีพเพิ่มรายได้

จากการศึกษาข้อมูลของจังหวัดมหาสารคามพบว่า มีพื้นที่ถึง 90% เป็นพื้นที่ใช้ประโยชน์ทำการเกษตร

โดยเฉพาะการทำนา สิ่งที่ประชาชนส่วนใหญ่ประสบอยู่เป็นเรื่องความยากจน มีรายได้ไม่สมดุลกับรายจ่าย เนื่องจากบางพื้นไม่มีแหล่งน้ำหรือไม่มีแม่น้ำสายหลักไหลผ่านต้องอาศัยน้ำฝน การทำนาได้เพียงปีละครั้ง

ดังนั้น จึงมีนโยบายในการแก้ปัญหาความยากจนในหมู่ประชาชนให้ได้ โดยเฉพาะการสร้างงานสร้างอาชีพเพิ่มรายได้ลดรายจ่ายเข้าครัวเรือนจะทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้น

โดยได้มอบนโยบายให้ทั้ง 13 อำเภอ ลงสำรวจจำแนกความยากจนมีสาเหตุมาจากอะไร อาทิ ไม่มีงานทำ ไม่มีที่ทำกินหรือมีแต่ไม่พอ ความพิการ ป่วยติดเตียง เป็นต้น

หากได้ตัวเลขมาแล้วจะประสานงานภาคราชการที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่ติดตามให้ความช่วยเหลือ แต่ที่เน้นมากที่สุดคือให้ประชาชนใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงของล้นเกล้าฯในหลวงรัชกาลที่ 9 มาใช้ในการดำเนินชีวิตเพื่อทำให้ลดรายจ่ายในครัวเรือนลง

อาทิ ปลูกผักสวนครัว ปลูกทุกอย่างที่กินได้ เลี้ยงปลา เลี้ยงเป็ดไก่ ไว้บริโภคที่เหลือจึงนำออกขายตลาดสร้างรายได้เข้าครัวเรือน เป็นต้น

รุกบริหารจัดการแหล่งน้ำ

เนื่องจากมหาสารคามมีพื้นที่ทำนานับล้านไร่ เมื่อเกษตรกรเก็บเกี่ยวผลผลิตจะนำออกขาย ซึ่งเมื่อก่อนบางปีราคาข้าวเปลือกตกต่ำเกษตรกรชาวนาก็ขาดทุน แต่ปัจจุบันรัฐบาลมีโครงการประกันรายได้ให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวทำให้ชาวนามีรายได้มากขึ้น

แต่อยากส่งเสริมให้เกษตรกรทั้งจังหวัดลดต้นทุนการทำนาโดยทำเกษตรแปลงใหญ่ เกษตรปลอดภัยไม่ใช้สารเคมี

และแปรรูปเป็นข้าวสารบรรจุถุงขาย เน้นเป็นผลผลิตข้าวปลอดสารเป็นสินค้าข้าวพรีเมี่ยมจะทำให้ขายได้ราคาสูงกว่าข้าวธรรมดา ตลาดบนกำลังมีการขยายตัว เพราะคนยุคใหม่ใสใจในรักษาสุขภาพมากขึ้นในการบริโภคอาหาร

และเป็นไปตามแผนพัฒนาจังหวัดมหาสารคาม พ.ศ. 2561-2565 ด้านการส่งเสริมและพัฒนาระบบการผลิต การแปรรูปผลผลิตและการตลาดสินค้าเกษตรและอาหารคุณภาพ

สำหรับแผนพัฒนาจังหวัดมหาสารคาม พ.ศ. 2561-2565 รวม 4 ด้าน ประกอบด้วย 1.ส่งเสริมและพัฒนาระบบการผลิต การแปรรูปผลผลิตและการตลาดสินค้าเกษตรและอาหารคุณภาพ 2.ส่งเสริมการค้า การลงทุน การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรมเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

3.ส่งเสริมและพัฒนาการจัดการศึกษาเพื่อยกระดับสู่การเป็นศูนย์กลางบริการทางการศึกษาและวัฒนธรรมของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 4.พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนสู่สังคมรู้รักสามัคคีเทิดทูนสถาบันของชาติ เอื้ออาทรและสมานฉันท์

สำหรับพื้นที่ไม่เหมาะสมกับการทำนา เพราะไม่มีแหล่งน้ำ ต้องมีการบริหารจัดการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อนำมาใช้ในการเกษตร รวมทั้งการอุปโภคบริโภค โดยจะบูรณาการกับหลายหน่วยงาน อาทิ ชลประทานจังหวัด กรมทรัพยากรน้ำบาดาล และกระทรวงเกษตรฯ เป็นต้น

นำน้ำใต้ดินขึ้นมาใช้ ติดตั้งโซลาร์เซลล์ สูบน้ำขึ้นมาช่วยกลุ่มเกษตรกรในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร รวมทั้งปรับเปลี่ยนพื้นที่นาบางส่วนที่ไม่เหมาะสมมาปลูกพืชอายุสั้น

ซึ่งจะทำให้มีรายได้ตลอดปีมากกว่าการทำนา ส่วนพื้นที่ดอนส่งเสริมให้ทำปศุสัตว์ อาทิ เลี้ยงโค กระบือ เป็นต้น ทราบว่ามีหน่วยงานราชการให้การส่งเสริมอยู่แล้ว เป็นการช่วยสร้างงานสร้างอาชีพให้เกษตรกรมีทางเลือกในการประกอบอาชีพมากขึ้นจะช่วยแก้ปัญหาความยากจนได้ในระดับหนึ่ง

ดึง 2 มหา’ลัยพัฒนา OTOP

นอกจากนั้น ในหมู่บ้านและตำบลต่าง ๆ จะมีสินค้าโอท็อป โดยสินค้าบางตัวสามารถจำหน่ายได้ในตลาดวงกว้างสามารถสร้างรายได้เข้าท้องถิ่นปีละนับร้อยล้านบาท อาทิ เสื่อกกบ้านแพง ผ้าไหมลายสร้อยดอกหมากเป็นต้น

แต่ยังมีสินค้าโอท็อปบางประเภทที่ยังต้องมีการพัฒนาตัวสินค้าให้ได้มาตรฐาน และสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคในตลาด จึงต้องมีการบูรณาการกับสถาบันการศึกษาในท้องถิ่น

เนื่องจากมหาสารคามมีมหาวิทยาลัยอยู่ถึง 2 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม มีองค์ความรู้มากมายที่สามารถจะนำความรู้เหล่านี้มาพัฒนาสินค้าโอทอ็ปให้เป็นที่ต้องการของตลาด โดยตนได้มีการประสานงานเบื้องต้นไว้แล้ว

ที่ผ่านมาผ้าไหมมหาสารคามมีชื่อเสียงมานานมาก แต่ส่วนใหญ่ทอผ้าขายเป็นผืน หากจะเพิ่มมูลค่าต้องแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เป็นชิ้นงาน อาทิ เสื้อ ผ้า เป็นต้น

โดยต้องมีการออกแบบที่สวยงามทันสมัยตรงกับความต้องการของตลาดจะทำให้มีรายได้เข้าชุมชนมากขึ้น การแปรรูปจะทำให้กลุ่มทอผ้ามีความมั่นใจว่าผลผลิตไม่มีล้นตลาด และจะรณรงค์ให้หน่วยงานราชการใส่ผ้าไหมอาทิตย์ละ 2 ครั้ง

รวมทั้งจะมีการดีไซน์ลายแบบเสื้อให้เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดมหาสารคาม อาจเป็นลายภาพพระบรมธาตุนาดูน หรือพระกันทรวิชัย รณรงค์ให้คนมหาสารคามใส่เสื้อลายนี้

รวมทั้งให้ผลิตจำหน่ายเป็นสินค้าของฝากให้กับกลุ่มนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในพื้นที่เป็นการโปรโมตจังหวัดอีกทางหนึ่ง เนื่องจากแต่ละปีตัวเลขนักท่องเที่ยวเข้ามาท่องเที่ยวตามสถานที่ต่าง ๆ จำนวนหลายแสนคนในแต่ละปี ซึ่งจะทำให้มีรายได้เข้ามหาสารคามมากขึ้น