อยุธยา ออกกฎเข้มคุมโรงงาน สกัดโควิดระบาดหนัก

โรงงานอยุธยาโควิด
ภาพโดย Gerd Altmann จาก Pixabay

พระนครศรีอยุธยาออกมาตรเข้มคุมโรงงาน สกัดโควิดระบาดหนัก

วันที่ 30 กรกฎาคม 2564 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ออกประกาศเรื่อง มาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติคเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับสถานประกอบการและโรงงานในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 

ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVD-19)ในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ณ วันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 พบผู้ติดเชื้อยืนยัน จำนวน 7,544 คน และมีผู้เสียชีวิตจำนาน 55 คน โดยในช่วงระหว่างวันที่ 14-25 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 พบว่า พนักงานลูกจ้างของสถานประกอบการและโรงงาน เป็นผู้ติดเชื้อยืนยันจำนวน 968 คน อันเป็นการแพร่ระบาดแบบกลุ่มก้อนในสถานประกอบการและโรงงาน และได้มีการแพร่กระจายโรคไปสู่ครอบครัวและชุมชน และอาจมีความเสี่ยงที่การแพร่ระบาดจากครอบครัวจะนำไปสู่การติดเชื้อในสถานประกอบการและโรงงานด้วยเช่นกัน คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดพระนครครีอยุธยา การประชุมครั้งที่ 36/2564 เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 จึงได้มีมติเห็นชอบมอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ประชุมหารือร่วมกับผู้ประกอบการเพื่อกำหนดมาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVD-19) ที่เหมาะสม ดังนั้น เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2564 ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้ประชุมหารือผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ร่วมกับผู้แทนสถานประกอบการและโรงงานแล้ว 

ดังนั้น เพื่อให้การควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับสถานประกอบการและโรงงานในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ประกอบกับข้อ 7 (1) ของข้อกำหนด (ฉบับที่ 1) ลงวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2563 ข้อ 7 ของข้อกำหนด (ฉบับที่ 24) ลงวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2564 ข้อ 1 ของข้อกำหนด (ฉบับที่ ๒๗) ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 ข้อ 2 และข้อ  9 ของข้อกำหนด (ฉบับที่ 28) ลงวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 มติที่ประชุมคณะกรรมการติดต่อจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ครั้งที่ 36/2564 เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 และการหารือร่วมกันของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและผู้แทนสถานประกอบการ จึงกำหนดมาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับสถานประกอบการและโรงงานในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ดังนี้ 

ข้อ 1  มาตรการเชิงป้องกันและลดความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรค 

1.1 ให้ผู้บริหารหรือผู้รับผิดชอบสถานประกอบการ/โรงงานเพิ่มความเข้มงวดกับพนักงาน/ลูกจ้าง ในการปฏิบัติตามมาตรการ ดังนี้ 

1 มาตรการการปฏิบัติในภาพรวมของสถานประกอบการ/โรงงาน ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำด้านสาธารณสุขเพื่อป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับสถานประกอบกิจการ/โรงงาน (QR Code หมายเลข 1) รวมถึงจะต้องปฏิบัติตามข้อแนะนำ แนวทางและมาตรการที่ทางราชการกำหนดอย่างเคร่งครัด 

2) มาตรการสำหรับรถรับ-ส่งพนักงานของสถานประกอบการ/โรงงานให้ปฏิบัติตามข้อ 6 ของคำสั่งจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ 588/2564 ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 (ฉบับที่ 27) (QR Code หมายเลข 2) อย่างเคร่งครัด 

3) มาตการสำหรับพื้นที่รับประทานอาหารร่วมกันของพนักงานในสนถานประกอบการโรงานให้ปฏิบัติตามข้อ 5 ของคำสั่งจังหวัดพรนครศรีอยุอยา ที่ 488/2564 ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 (ฉบับที่ 27) (QR Code หมายเลข 2) อย่างเคร่งครัด 

4) มาตรการเมื่อกลับถึงที่พักอาศัย ให้ปฏิบัติตามแนวทางของกรมอนามัย (QR Code หมายเลข 3) อย่างเคร่งครัด 

1.2 สถานประกอบการ/โรงงาน ซึ่งมีผู้บริหาร หรือพนักงาน/ลูกจ้างที่เดินทางไป-กลับ จากจังหวัดที่เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดเป็นประจำ ให้รวบรวมข้อมูลการเดินทางดังกล่าวรายงานให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยาทราบทาง Emal: lystateg@gnalcom (OR Code หมายเลย 4)นอกจากนั้น ให้ดำเนินการสุ่มตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ด้วยวิธี RT-PCR หรือวิธี Antigen Test KRI ATRS อย่างน้อยร้อยละ 5 ของพนักงาน/ลูกจ้างที่เดินทางไป-กลับจากพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด เป็นประจำทุก 2 สัปดาห์ โดยสถานประกอบการ/โรงงานเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ เมื่อดำเนินการแล้วให้รายงานผลต่อสำนักงานสาธารณสุขอำเภอในพื้นที่ที่สถานประกอบการหรือโรงงานตั้งอยู่ เพื่อประโยชน์ในและป้องกันการแพร่ระบาดของโรค 

1.3 ให้สถานประกอบการโรงงานทุกแห่ง ศึกษา และเตรียมการลดกำลังแรงงานในการผลิตตามความเหมาะสม เพื่อลดความแออัดของพนักงาน/ลูกจ้าง ในสถานประกอบการ/โรงงาน อันจะเป็นประโยชน์ต่อการลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของโรค (หากสามารถดำเนินการใด้) 

1.4 สถานประกอบการ/โรงงานแห่งใด พบผู้ติดเชื้อ หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าติดเชื้อ และมีความจำเป็นต้องตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เชิงรุกในสถานประกอบการ/โรงงาน ด้วยชุดตรวจ Antigen Test Kit ATK (OR Code หมายเลข ) ก่อนดำเนินการจะต้องรายงานให้เจ้าพนักงานควบคุมโรคติตต่อในพื้นที่รับทราบ นอกจากนั้น เมื่อดำเนินการแล้ว ให้จัดทำทะเบียนรายชื่อและผลการตรวจทุกรายส่งให้เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อในพื้นที่ด้วย 

1.5 ให้สถานประกอบการ/โรงงานทุกแห่ง ศึกษา และเตรียมดำเนินการตามมาตรการควบคุมโรคในพื้นที่เฉพาะ (Bubble and Seal) เพื่อเป็นเครื่องมือในการประคองกิจการเมื่อมีการแพร่ระบาดในสถานประกอบการ/โรงงาน โดยให้ศึกษาและดำเนินการตามข้อแนะนำของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย( Code หมายเลข 6) หรือปรับประยุกต์ให้เหมาะสมและเป็นประโยชน์ต่อการควบคุมโรคการปฏิบัติกับเจ้าพนักงานควบคุมโรคติตต่อในพื้นที่ 

1.6 ให้ผู้บริหาร ผู้รับผิดชอบสถานประกอบการ/โรงานทุกแห่ง จัดทำแผนเผชิญเหตุเพื่อเตรียมความพร้อมรองรับกรณีเกิดการแพร่ระบาดแบบกลุ่มก้อนในสถานประกอบการ/โรงงานโดยต้องส่งแผนเผชิญเหตุดังกล่าวให้สำนักงานสวัสดิการแรงงานจังหวัดพระนครศรีอยุธยาภายในวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2564 ซึ่งอย่างน้อยต้องมีรายละเอียด ดังนี้ 

1) แผนการจัดการและควบคุมดูแลพนักงาน ลูกจ้าง หรือผู้ปฏิบัติงาน 

2)  แผนการเดินทางของพนักงาน ลูกจ้าง หรือผู้ปฏิบัติงาน 

3) แผนการจัดมาตรการป้องกันและควบคุมโรคในสถานที่ทำงาน 

4)  แผนการเตรียมการกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน เช่น การจัดเตรียมสถานที่ภายในสถานประกอบการ/โรงงานสำหรับจัดตั้งเป็นโรงพยาบาลสนาม ศูนย์พักคอย และสถานที่กักกันผู้มีความเสี่ยง ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามมาตรการที่ทางราชการกำหนด 

ข้อ 2 มาตรการเมื่อพบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในสถานประกอบการ/โรงงาน 

1) กรณีที่พบพนักงาน/ลูกจ้าง ในสถานประกอบการ/โรงงาน เป็นผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ผู้บริหารหรือผู้รับผิดชอบสถานประกอบการโรงงาน มีหน้าที่ต้องแจ้งรายละเอียดข้อมูลดังกล่าวต่อสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ หรือเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อในท้องที่อันเป็นที่ตั้งสถานประกอบการ/โรงงาน หากปกปิดหรือไม่ดำเนินการดังกล่าว อาจมีความผิดตามมาตรา 31 ประกอบกับมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท 

2) กรณีที่พบพนักงาน/ลูกจ้าง ในสถานประกอบการโรงงาน ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จำนวนมากกว่าร้อยละ 10 ของพนักงานลูกจ้างทั้งหมด ให้พิจารณาปิดการดำเนินกิจการของตนเองเป็นการชั่วคราว เพื่อทำความสะอาดสถานที่ กำหนดมาตรการควบคุมป้องกันโรคอย่างเหมาะสม และสื่อสารสร้างความมั่นใจ แก่พนักงาน/ลูกจ้าง ทั้งนี้ ให้รายงานสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ หรือเจ้าพนักงานควบคุมโรคติตต่อในพื้นที่เพื่อเข้าตรวจสอบและให้ข้อแนะนำ แล้วพบว่ามีผู้ติดชื้อเป็นจำนวนมาก อันเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคออกไปเป็นวงกว้าง  

3) กรณีที่เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อในพื้นที่ได้เข้าตรวจสอบสถานประกอบการ/โรงงาน คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พิจารณาสั่งปิดสถานที่ ของสถานประกอบการ/โรงงานแห่งนั้นเป็นการชั่วคราว ซึ่งสถานประกอบการ/โรงงานจะต้องจัดทำแผนเตรียมการเปิดดำเนินการเสนอต่อสำนักงานสาธารณสุขอำเภอในพื้นที่ เพื่อให้คณะทำงานประเมินและติดตามสถานประกอบการ/โรงงาน ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVD-19) เข้าตรวจประเมิน ติดตามแนะนำ สถานประกอบการ/โรงงานข้างต้น แล้วทำความเห็นรายงานต่อคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดพระนครศรีอยุธยาพิจารณาต่อไป 

จึงประกาศมาเพื่อทราบและถือปฏิบัติโดยทั่วกัน 

ประกาศ ณ วันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 

ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 

(นายภานุ แย้มศรี) 

ประธานกรรมการโรคติดต่อจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 

ผู้กำกับการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินจังหวัดพระนครศรีอยุธยา