หอการค้าอุบลฯ ชี้เศรษฐกิจจังหวัดเริ่มฟื้น พร้อมจับตามวลน้ำ คาดไม่กระทบหนัก

ประธานหอการค้าอุบลรธานีระบุตัวเลขเศรษฐกิจอุบลราชธานีขยายตัว 4.8% จากกำลังซื้อที่เริ่มกลับมาคึกคัก แม้ยังต้องเฝ้าระวังโควิด-19 ขณะเดียวกันต้องจับตามวลน้ำจากโคราช-ชัยภูมิ เพื่อเตรียมรับมือ คาดปีนี้ไม่กระทบมากนักหากฝนไม่ตกลงมาอย่างต่อเนื่องอีก

นายมงคล จุลทัศน์ ประธานหอการค้าจังหวัดอุบลราชธานี เปิดเผย ประชาชาติธุรกิจว่า ที่ผ่านมานับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2564 ที่ผ่านมา สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ในจังหวัดอุบลราชธานี ถือว่าคลี่คลายลงมากและเศรษฐกิจในพื้นที่เริ่มดีขึ้นต่อเนื่อง ตัวเลขทางเศรษฐกิจจาก 3.1% ขยายตัวเป็น 4.8% จากเดือนที่ผ่านมา มีการจับจ่ายใช้สอยของภาคประชาชนมากขึ้น ห้างเซ็นทรัล สาขาอุบล  ช่วงโควิด ลดลงเหลือ 50% แต่เดือนกันยายนมียอดพุ่งสูงถึง 90% เมื่อเทียบจากปี 2562

ตอนนี้ภาคธุรกิจบริการ ร้านอาหาร ตลาด ห้างสรรพสินค้า ของจังหวัดอุบลมีการซื้อขายจับจ่ายกันอย่างคึกคัก หลังจากที่จังหวัดมีมาตรการผ่อนปรนเรื่องโควิด แม้กำลังซื้อในบางธุรกิจยังคงมีภาพติดลบอยู่เช่น ในธุรกิจรถจักรยายนต์ลดลงไป 40% รถยนต์นั่งส่วนบุคคลลดลง 8% ซึ่งสอดคล้องกับกำลังการผลิตของโรงงานที่ลดลงด้วย แต่ภาพรวมของเศรษฐกิจและทุกภาคส่วนของธุรกิจเองมีการขยับไปในทิศทางที่ดีขึ้น ถึงเราจะเป็นกังวลเกี่ยวกับการติดเชื้อโควิดอยู่

ปัจจุบันนี้ การฉีดวัคซีนป้อกันโควิด-19 ในจังหวัดเฉลี่ยรวมแล้วประมาณ 30% แต่ยังมีคลัสเตอร์การติดเชื้อในพื้นที่เยอะอยู่ หากควบคุมไม่ได้อาจจะทำให้มาตรการควบคุมอย่างเข้มข้นกลับมาอีกครั้ง
ด้านสถานการณ์น้ำท่วมที่กำลังเป็นกระแสตื่นตัวอยู่ขณะนี้ นายมงคล กล่าวว่า จังหวัดอุบลราชธานีเคยมีประสบการณ์น้ำท่วมใหญ่เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา บริหารจัดการเรื่องน้ำท่วมจึงมีความรัดกุมมากขึ้นพอสมควร มีการร่วมบริหารจัดการอย่างเต็มกำลังทุกภาคส่วน

หลายคงกังวลว่าน้ำจากโคราชและชัยภูมิจะไหลมาในอีก 18-20 วัน ซึ่งตอนนี้อ่างเก็บน้ำในอุบลราชธานีนั้นมีระดับน้ำปริ่มริมตลิ่งพอดี ซึ่งเราได้มีการพร่องน้ำไว้รอแล้ว และเมื่อน้ำจากโคราชมาก็คาดว่าจะไม่ส่งผลกระทบมากนัก เพราะพื้นที่ลุ่มน้ำที่เจอน้ำท่วมและมีความเสี่ยงได้อพยบผู้คนไปยังพื้นที่ปลอยภัยแล้ว 100 กว่าครัวเรือน หากไม่มีฝนตกมาอย่างต่อเนื่องหรือหนักมาก สถานการณ์จะไม่แย่เหมือน 2 ปีที่ผ่านมา

นายมงคล กล่าวว่า ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2546 สถารการณ์ต่าง ๆ ทั่วประเทศน่าจะดีขึ้น ภาคธุรกิจของจังหวัดอุบลราชธานีก็มีการเตรียมพร้อมลุย เพราะผู้คนยังมีกำลังซื้อ ภาคของสินเชื้อรถยนต์น่าจะมากขึ้นในกลุ่มยูสคาร์ (รถยนต์ใช้แล้ว) และช่วงเดือนตุลาคม- ธันวาคม ค่ายรถใหม่จะออกตัวอย่างเต็มที่ ประกอบกับภาคการท่องเที่ยวทั้งภาคเหนือและภาคอีสานจะมีคนออกไปเที่ยวในพื้นที่มากขึ้น ผู้ประกอบการต้องเตรียมรับมือไว้ให้ดี

ทั้งนี้ จังหวัดอุบลราชธานีมีอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ช่วยพยุงเศรษฐกิจไว้และไม่ได้รับผลกระทบคือ การค้าชายแดน ที่ยอดขายไม่ได้ลดลงเลย และมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องตลอด ถึงคนจะข้ามด่านไม่ได้แต่การค้าขายนำเข้า-ส่งออกมีอยู่ตลอด ยอดขายผ่านการค้าชายแดนในเดือนนี้เพิ่มขึ้น 11.9% ส่งออก 845 ล้านบาท น้ำเข้า 630 ล้านบาท หลัก ๆ ที่นำเข้าจาก สปป.ลาว จะมีไฟฟ้าและมันสำปะหลัง

ตอนนี้ในจังหวัดกำลังกลับบมาคึกคัก สายการบินในช่วงปลายปีน่าจะเพิ่มขึ้น หลายภาคส่วนเริ่มติดต่อประสานงานเข้ามาเพื่อจัดอีเว้นท์มากมาย ซึ่งทั้งภาครัฐและภาคเอกชนต้องวางแผนกิจกรรมให้ดีเพื่อขับเคลื่อนได้ เพราะสถานการณ์ยังไม่แน่นอน 100% ขณะเดียวกันก็อยากให้ภาครัฐมีโครงการสนับสนุนต่าง ๆ โดยเฉพาะโครงการจ้างนักศึกษาจบใหม่รัฐจ่ายช่วย50% ช่วยผู้ประกอบการ ในการลดต้นทุน ที่จะตอบโจทย์การจ้างงานได้เป็นอย่างดี