คอลัมน์ : ดาต้าภูธร
จากสถิติข้อมูลกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน พบว่าช่วงสำหรับเดือนธันวาคมปี 2564 มีข้อมูลตำแหน่งผู้ว่างงานทั่วประเทศ ยกเว้นกรุงเทพมหานคร 670,219 ราย
โดยมี 10 จังหวัดอันดับต้น ๆ ที่มีผู้ว่างงานมากที่สุด คือ 1.จังหวัดสมุทรปราการ มีผู้ว่างงาน 36,249 ราย 2.จังหวัดภูเก็ต มีผู้ว่างงาน 36,238 ราย 3.จังหวัดนนทบุรี มีผู้ว่างงาน 29,339 ราย 4.จังหวัดสงขลา มีผู้ว่างงาน 29,196 ราย 5.จังหวัดนครราชสีมา มีผู้ว่างงาน 27,714 ราย 6.จังหวัดนราธิวาส มีผู้ว่างงาน 27,358 ราย 7.จังหวัดปทุมธานี มีผู้ว่างงาน 23,375 ราย 8.จังหวัดเชียงใหม่ มีผู้ว่างงาน 23,165 ราย 9.จังหวัดชลบุรี มีผู้ว่างงาน 19,718 ราย 10.จังหวัดนครศรีธรรมราช มีผู้ว่างงาน 17,952 ราย รวม 10 จังหวัดแรก 270,304 ราย
เมื่อเทียบกับช่วงเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า คือเดือนธันวาคม ปี 2563 พบว่ามีตำแหน่งผู้ว่างงานทั่วประเทศ ยกเว้นกรุงเทพมหานคร จำนวน 627,250 ราย เมื่อเทียบรายจังหวัดแล้วพบว่าปริมาณตำแหน่งผู้ว่างงาน 10 อันดับแรกในช่วงเดือนธันวาคมปี 2563 คือ 1.จังหวัดนครราชสีมา มีผู้ว่างงาน 45,962 ราย 2.จังหวัดสมุทรปราการ มีผู้ว่างงาน 32,288 ราย 3.จังหวัดสงขลา มีผู้ว่างงาน 32,128 ราย 4.จังหวัดปทุมธานี มีผู้ว่างงาน 30,425 ราย 5.จังหวัดภูเก็ต มีผู้ว่างงาน 29,018 ราย 6.จังหวัดขอนแก่นมีผู้ว่างงาน 26,232 ราย 7.จังหวัดนราธิวาส มีผู้ว่างงาน 22,996 ราย 8.จังหวัดนนทบุรี มีผู้ว่างงาน 22,090 ราย 9.จังหวัดเชียงใหม่ มีผู้ว่างงาน 20,498 ราย 10.จังหวัดบุรีรัมย์ มีผู้ว่างงาน 17,169 ราย รวม 10 จังหวัดแรก 278,806 ราย
สรุปแล้วในกลุ่มที่มีจำนวนอันดับที่ตำแหน่งผู้ว่างงาน 10 จังหวัดแรกนั้นโดยมากจะมีการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่มีตำแหน่งผู้ว่างงานเพิ่มมากขึ้น เช่น สมุทรปราการ เพิ่มขึ้น 3,961 ราย ภูเก็ต เพิ่มขึ้น 7,220 ราย นนทบุรี เพิ่มขึ้น 7,339 ราย นราธิวาส เพิ่มขึ้น 4,362 ราย เชียงใหม่ เพิ่มขึ้น 2,667 ราย เป็นต้น
ขณะเดียวกัน ความต้องการแรงงานทั่วประเทศมีทั้งหมดเพียง 27,361 รายเท่านั้น และหากเทียบความต้องการแรงงานจำแนกตามอายุ พบว่าอายุที่ต้องการแรงงานมากที่สุด ได้แก่ อายุ 18-24 ปี จำนวน 8,432 ราย รองลงมาได้แก่ อายุ 25-29 ปี จำนวน 7,333 ราย ถัดมาได้แก่ 30-39 ปี จำนวน 5,627 ราย และช่วงอายุ 40-49 ปี จำนวน 3,813 ราย ช่วงอายุ 50-59 ปี จำนวน 1,607 รายตามลำดับ