เครือข่ายคนรักระยอง ร้อง สผ. เร่งคุมมลพิษให้ต่ำกว่าค่ามาตรฐาน

ดร.อบรม อรัญพฤกษ์ อาจารย์คณะบริหารธุรกิจ เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตระยอง และที่ปรึกสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดระยอง ในฐานะตัวแทนเครือข่ายประชาชนคนรักระยอง

ตัวแทนเครือข่ายประชาชนคนรักจังหวัดระยอง ยื่นเอกสารข้อเรียกร้อง 9 ข้อ หลังรัฐบาลจ่อปลดล็อกเขตควบคุมมลพิษ แนะแก้กฎหมายค่า VOCs ควบคุมการปล่อยปริมาณอากาศ

วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 10.00 น. ที่สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) นายอุดม ศิริภักดี นายเฉลิมพร กล่อมแก้ว และนายน้อย ใจตั้ง ในฐานะตัวแทนเครือข่ายประชาชนคนรักระยอง ร่วมกับกลุ่มเฝ้าระวังน้ำผิวดิน จังหวัดระยองได้เข้ายื่นหนังสือถึงคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เพื่อขอให้แก้ไขมลพิษก่อนยกเลิกเขตควบคุมมลพิษและขยายพื้นที่อุตสาหกรรมในเขตพัฒนาพิเศษถาคตะวันออก ( EEC)

โดยมีนายนายมนต์สังข์ ภูศิริวัฒน์ รองเลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยกรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ลงนามรับเอกสารข้อเรียกร้องดังกล่าว

ดร.อบรม อรัญพฤกษ์ อาจารย์คณะบริหารธุรกิจ เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตระยอง และที่ปรึกสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดระยอง ในฐานะตัวแทนเครือข่ายประชาชนคนรักระยอง
ดร.อบรม อรัญพฤกษ์ อาจารย์คณะบริหารธุรกิจ เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตระยอง และที่ปรึกสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดระยอง ในฐานะตัวแทนเครือข่ายประชาชนคนรักระยอง

ดร.อบรม อรัญพฤกษ์ อาจารย์คณะบริหารธุรกิจ เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตระยอง และที่ปรึกสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดระยอง ในฐานะตัวแทนเครือข่ายประชาชนคนรักระยอง เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ที่ผ่านมาจังหวัดระยองถูกประกาศให้เป็นเขตควบคุมมลพิษ ตั้งแต่ปี 2552 ซึ่งตามประกาศของทางราชการ ปี 2565 จะมีการปลดล็อก ปัญหาที่เกิดขึ้นตอนนี้ชาวบ้านไม่มั่นใจเพราะสถานการณ์ในพื้นที่ไม่ได้ดีขึ้น

“ประเด็นสำคัญที่ชาวบ้านเดินทางมาวันนี้อยากให้มีการจัดการตามข้อเรียกร้องที่ได้มีการยื่นเอกสารเพื่อความยั่งยืนต้องมีแผนปฏิบัติที่ชัดเจน และประชาชนต้องมีส่วนร่วมและต้องมั่นใจเป็นผลประโยขน์ของประชาชนจริง ๆ”

สำหรับเรื่องที่อยากเรียกร้องให้ทางภาครัฐเร่งดำเนิน 9 ข้อหลัก ๆ ได้แก่

1. เร่งรัดให้ลดมลพิษในเขตควบคุมมลพิษทั้งมลพิษทางอากาศ ทางน้ำ ขยะ และของเสียอันตรายและปัญหาอุบัติภัยจากโรงงานและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องก่อนยกเลิกเขตควบคุมมลพิษในปี 2565

2. ถ้าจะยกเลิกเขตควบคุมมลพิษ ต้องแก้ปัญหามลพิษเดิมให้มีค่าต่ำกว่าค่ามาตรฐานและที่กฎหมายอื่นกำหนดไว้ต่อเนื่องอย่างน้อย 3 ปี และต้องทำข้อตกลงต่อประชาชนว่า ถ้ามลพิษกลับมาสูงเกินค่ามาตรฐานอีกจะทำอย่างไร เพื่อให้ประชาชนมีความมั่นใจว่จะไม่ถูกละเมิดสิทธิที่จะดำรงชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี ไม่ส่งผลร้ายต่อสุขภาพและมีอายุขัยสั้นลง

3. ต้องแก้ปัญหามลพิษที่มีในเขตควบคุมมลพิษให้ได้ ก่อนอนุญาตให้มีโรงงานใหม่เพิ่มขึ้นตามโครงการ EEC

4. ประชาชนไม่ทราบความก้าวหน้าในการแก้ปัญหาเขตควบคุมมลพิษ จึงขอให้ส่งข้อมูลความก้าวหน้าในการแก้ปัญหาตามที่กฎหมายกำหนดให้ประชาชนรับทราบด้วย โดยเฉพาะประเด็นที่ปรากฏในคำพิพากษาศาลปกครอง

5. ราชการรายงานว่าค่ามลพิษต่าง ๆ ในอากาศไม่เกินคำมาตรฐาน (ยกเว้นสารอินทรีย์ระเหยง่ายที่พบเกินค่ามาตรฐานมาตั้งแต่ปี 2550 ถึงปัจจุบัน) ในความเป็นจริงประชาชนหายใจเข้าไปรู้ได้ถึงมลพิษที่มีในอากาศ ถ้าไปดูสถานีตรวจวัดอากาศพบว่ามีต้นไม้ปกคลุมและมีอาคารบัง กรมควบคุมมลพิษรายงานค่าเฉลี่ยของไนโตรเจนไดออกไซด์ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในอากาศและสรุปว่าไม่เกินมาตรฐานนั้น มาจากแค่ 5 สถานี ไม่สอดคล้องกับพื้นที่มลพิษ จึงควรติดตั้งสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศเพิ่มขึ้น

6. การจะอนุญาตให้สร้างโรงานเพิ่มขึ้นต้องมีการศึกษาศักยภาพการรองรับมลพิษไนพื้นที่เขตควบคุม ซึ่งมลพิษในจังหวัดระยอง (Carrying Capacity) ที่ครอบคลุมมลสารที่ปล่อยจากโรงงานอุตสาหกรรมทั้งในและนอกนิคมอุตสาหกรรม ก่อนที่จะมีขยายอุดสาหกรรมตามโครงการ EEC เพื่อที่จะนำไปกำหนดเป็นโควตาการระบายมลพิษ และต้องกำหนดแนวป้องกันโดยรอบ (Protection Strip) เพื่อเว้นระยะห่าง ระหว่างเขตโรงานอุตสาหกรรมกับชุมชน และแนวพื้นที่กันชน (Buffer Zone) ระหว่างพื้นที่อุตสาหกรรมกับพื้นที่ชุมชน/พื้นที่ท่องเที่ยวด้วย

7. เร่งรัดให้มีการกำหนดคำมาตรฐานกลุ่มสารประกอบอินทรีย์ที่ระเหยเป็นไอได้ง่าย หรือ VOCs เพิ่มขึ้น เพราะปัจจุบันกำหนดไว้เพียง 9 ชนิด (ตั้งแต่ปี 2550) เพราะในเขตมาบตาพุดตรวจพบ VOCs มากกว่า 40 ชนิด

8. โรงงานในนิคมอุตสาหกรรมที่มาบตาพุดที่สร้างรุ่นแรก ๆ มีอายุประมาณ 30 ปี ควรได้รับการตรวจสอบความปลอดภัย อย่าให้เกิดอุบัติแบบน้ำมันรั่วอีก ถ้าสารเคมีรั่วลงทะเล หรือรั่วบนบก เกิดเพลิงไหม้ ระเบิดลุกลามไปจะพินาศกันทั้งเมือง ต้องจัดตั้งศูนย์รับมืออุบัติภัย มีการลงโทษและคิดค่าใช้จ่ายจากผู้ก่อมลพิษ และชดเชยเยียวยาประชาชนที่รวดเร็ว

9. เร่งรัดการออกกฎหมายบังคับ ให้โรงงาน “รายงานการปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายมลพิษ (PRTR)” และควบคุมการปล่อยกลุ่มสารประกอบอินทรีย์ที่ระเหยเป็นไอได้ง่าย หรือ VOCs โดยกำหนดค่าอันตรายการระบายของโรงกลั่นน้ำมัน โรงแยกก๊าซธรรมชาติเคมีและท่าเทียบเรือ โดยควบคุมการปล่อย VOCs จากการประกอบกิจการ การเผาทิ้ง (ปล่องไฟที่ทำหน้าที่เผาก๊าซ) และถังกักเก็บ และเผยแพร่ข้อมูลรายโรงงาน ต่อสาธารณะ

ดร.อบรม อรัญพฤกษ์ กล่าวต่อว่า ถ้าหากจะมาการปลดล็อกรัฐบาลต้องมีความมั่นใจว่าสารต่าง ๆ อยู่ในค่ามาตรฐานและประชาชนสามารถตรวจสอบได้ โดยใช้เซ็นเซอร์วัดอากาศต่าง ๆ เทคโนโลยีเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดที่สามารถแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมได้ ทั้งนี้อยากให้มีการแก้กฎหมายค่า VOCs ให้ลดลง เพราะปัญหามีมากกว่า 40 ชนิด รวมถึงการปลดปล่อยอากาศตามท่อของโรงงาน ถ้าหากสามารถควบคุมปริมาณการปล่อยได้ก็จะทำให้การแก้ปัญหาดีขึ้น

หลังจากมีการยื่นเอกสารผ่านนายมนต์สังข์ ภูศิริวัฒน์ รองเลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยกรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า จะนำหนังสือร้องเรียนดังกล่าวเสนอให้พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพิจารณา

พร้อมกับข้อมูลจากนายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ได้มีการลงพื้นที่จังหวัดระยองวันนี้ (14 ก.พ. 2565) รวมกับข้อมูลเอกสารที่ยื่น และจะการนำเสนอในวาระเร่งด่วนเพื่อแก้ไขปัญหา ซึ่งอยากให้มีการเร่งดำเนินการเร็วที่สุด