วายดีเอ็ม เผย 4 ความท้าทายธุรกิจยุคหลังโควิด พร้อม 4 แผนรับมือ

วายดีเอ็ม เอเจนซี่ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดเผย แม้หมดโควิด แต่ธุรกิจยังเผชิญความท้าทายอีก 4 ด้าน พร้อมเผย 4 ยุทธศาสตร์รับมือ

วันที่ 21 มีนาคม 2566 นายธนพล ทรัพย์สมบูรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วายดีเอ็ม (ไทยแลนด์) จำกัด เปิดเผยว่า แม้การระบาดของโควิด-19 จะผ่านพ้นไปแล้วหรือเข้าสู่ยุคอาฟเตอร์โควิด-19 ที่ แต่ธุรกิจและนักการตลาดจะต้องเผชิญความท้าทายอีก 4 ด้าน คือ

1. ความจงรักภักดีต่อแบรนด์ลดต่ำลง

จำนวนแบรนด์หน้าใหม่ทั้งไทย-เทศที่ส่งสินค้าเข้ามาทำตลาดในไทยมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ผู้บริโภคมีตัวเลือกมากขึ้น และสามารถมองหาสินค้าที่ตอบโจทย์ได้ดีกว่าแต่ราคาถูกกว่าได้ไม่ยาก ขณะเดียวกันผู้บริโภคโดยเฉพาะ Gen Z ยังกล้าทดลองสินค้าและบริการใหม่ ๆ มากขึ้น

2. ผู้บริโภคมีความต้องการมากขึ้นและซับซ้อนขึ้น

โดยนอกจากคุณภาพสินค้าที่สูงขึ้นแล้ว ยังต้องตรงใจมากขึ้น รวมถึงคาดหวังการบริการที่ดีขึ้น รวดเร็วขึ้นจนถึงแบบเรียลไทม์ โดยเฉพาะในธุรกิจบริการ และธุรกิจ E-commerce

3. การสื่อสารทวีความซับซ้อน

ปัจจุบันช่องทางสื่อสารหลากหลายมากขึ้นและต่างมีความเฉพาะตัว กลายเป็นความท้าทายที่ธุรกิจจะต้องบริหารช่องทางต่าง ๆ ในเวลาเดียวกัน จนหลายรายพลาดเพราะใช้วิธีสื่อสารเหมือนกันหมดทุกช่องทาง เช่น นำ Content ที่ทำเพื่อ Facebook มาใช้บน IG ทั้ง ๆ ที่แต่ละช่องทางมีวัตถุประสงค์ในการใช้เพื่อเข้าถึงผู้บริโภคที่แตกต่างกัน

ขณะที่ผู้บริโภคเบื่อหน่ายในการเห็นโฆษณาแบบเดิมซ้ำ ๆ หรือโฆษณาที่ไม่ตรงกับความสนใจของตนเอง ทำให้สูตรการทำโฆษณาในอดีตที่เน้นเรื่องการทำ Reach&Frequency เริ่มเห็นผลน้อยลงอย่างมีนัยยะ

4. ค่าโฆษณาออนไลน์พุ่งสูงขึ้น

กระแสมุ่งสู่ออนไลน์ ทำให้เกิดสงครามการแย่งชิงพื้นที่โฆษณาบนสื่อออนไลน์ที่ใช้การเสนอราคาแข่งขันกัน ส่งผลให้ค่าโฆษณาสูงขึ้นเรื่อย ๆ ต้นทุนค่าโฆษณาในแต่ละแพลตฟอร์มจึงสูงขึ้นตามไปด้วย กลายเป็นความท้าทายที่ธุรกิจจะต้องบริหารค่าโฆษณาในทุกแพลตฟอร์มให้ได้ประสิทธิภาพและ ROI  หรือผลตอบแทนจากการลงทุนสูงที่สุด

ขณะเดียวกัน วายดีเอ็ม พัฒนา 4 กลยุทธ์ ที่จะช่วยธุรกิจและนักการตลาด เร่งกระบวนการ Marketing transformation ในยุคอาฟเตอร์โควิด-19 ได้แก่

1. Go Beyond CRM

เมื่อ Brand loyalty ลดลง ธุรกิจต้องทำ Customer Data Platform (CDP) โดยพยายามเก็บรวบรวมข้อมูลทุกคนทั้งลูกค้าและผู้ที่ยังไม่เป็นลูกค้าที่มา Engage กับแบรนด์ในทุกช่องทางทั้ง online และ offline เช่น Website, Social Media Platforms, POS ด้วยการตามเก็บทั้งการเสพโฆษณา การอ่านคอนเทนส์ และความสนใจในการเลือกซื้อสินค้า

โดยเก็บข้อมูลเหล่านี้ไว้ในที่เดียว เพื่อให้เข้าใจทุกขั้นตอนของ Customer journey และสร้างการสื่อสารแบบ Personalized marketing เช่น เมื่อลูกค้าแสดงความสนใจที่จะซื้อสินค้าแล้ว แทนที่จะให้เห็นหนังโฆษณาตัวเดิมซ้ำ ๆ อาจเปลี่ยนการสื่อสารเป็นแบนเนอร์เน้นเข้าใจง่าย แล้วพูดเรื่องโปรโมชั่น เพื่อปิดการขาย

นอกจากนี้ ยังสามารถต่อยอดไปสู่ Marketing automation หรือการทำตลาดแบบอัตโนมัติที่สามารถสื่อสารไปยังลูกค้าแบบถูกที่ถูกเวลา เช่น เมื่อรู้ว่าลูกค้ากำลังจะใช้สินค้าหมด ก็ส่งข้อความผ่านทาง Line OA ยื่นข้อเสนอให้ซื้อสินค้าใช้ต่อในราคาพิเศษ เป็นต้น

ข้อมูลที่เก็บไว้ยังสามารถนำมาวิเคราะห์สู่การสร้าง Segment ใหม่ ๆ ไปจนถึงการพัฒนากลยุทธ์การตลาดอย่างมีประสิทธิภาพและวัดผลได้ ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายทางการตลาด สร้างยอดขายและรายได้ที่ตอบโจทย์ธุรกิจ

2. Advertising Technology

ใช้ AI คาดการณ์สถานการณ์เพื่อวางแผนซื้อสื่อออนไลน์แบบเรียลไทม์ ด้วยข้อมูลจาก CDP และข้อมูลจากภายนอก เพื่อให้การซื้อสื่อแม่นยำยิ่งขึ้น พร้อมช่วยบริหารจัดการงบประมาณในแต่ละช่องทางเพื่อเจาะกลุ่มผู้บริโภคได้แม่นยำ

ต่างจากการซื้อสื่อฯ แบบเดิมที่ใช้เพียงผลวิจัยและข้อมูลจากสื่อต่างๆ รวมถึงใช้คนเพื่อปรับให้เหมาะสมกับแผนของธุรกิจ

3. การตลาดแบบ Full Funnel ไร้รอยต่อ

การสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมายในแต่ละช่องทางที่ต่างกัน ก็ควรสื่อสารด้วยข้อความและรูปแบบที่ต่างกันกัน เช่น

  • Tiktok ที่มีความเป็นเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ ไม่ควรลงโฆษณาที่มีเนื้อหาอัดแน่นทางการมากเกินไป
  • YouTube สื่อสารด้วย Story Telling ต้องเล่าเรื่องให้น่าสนใจให้ผู้บริโภคดูจนจบ
  • Twitter ใช้เทคนิคการสื่อสารแบบชวนคุย
  • Facebook แชร์เรื่องราวและเนื้อหาที่น่าสนใจ เพื่อเน้นการสร้างการมีส่วนร่วม (Engagement) กับแบรนด์
  • Line OA ตอนนี้แบรนด์ส่วนใหญ่จะใช้ในบทบาทของ CRM
  • โทรทัศน์และบิลบอร์ดใช้เทคนิคดึงดูดความสนใจบนข้อความที่สั้นกระชับและเข้าใจง่าย

นอกจากนี้ ธุรกิจยังสามารถนำเอาเทคโนโลยี AI มาประยุกต์ใช้ในการทำ Content ไม่ว่าจะช่วยทำภาพ หรือคิด Caption ต่าง ๆ ช่วยให้สามารถทำ Content ได้มากขึ้นในงบประมาณที่น้อยลง

4. New Market เจาะตลาดกลุ่มใหม่ ๆ ที่คู่แข่งยังไม่ลงไปเล่น

ตัวอย่างเช่น การตลาดภูธรหรือตลาดต่างจังหวัดที่เป็นกลุ่มคนส่วนใหญ่ของประเทศ การตลาดใน สปป. ลาว ที่พบว่าผู้บริโภคมีพฤติกรรมนิยมและชื่นชอบบริโภคสินค้าไทย หรือการตลาดกับเกมเมอร์ เป็นต้น เพื่อเพิ่มโอกาส ขยายฐานลูกค้า รองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

นายธนพล กล่าวว่า ขณะนี้บริษัทในฐานะ เอเจนซี่ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดและการทรานส์ฟอร์มธุรกิจสู่ยุคดิจิทัล ยังเตรียมเปิดตัว MarTech “DFinery” เทคโนโลยี CDP แบบใหม่ เล็งขยายควบซื้อกิจการธุรกิจต่อยอดธุรกิจทั้งในและต่างประเทศเร็ว ๆ นี้


หลังที่ผ่านมาได้วางระบบ CDP ร่วมกับการใช้ระบบ AI เพื่อวางแผนการซื้อโฆษณา และการติดต่อ Data Partners สร้างฐานข้อมูลองค์กร รวมถึงการทำการตลาดแบบ Full-Funnel เพื่อยกระดับให้นักการตลาด และเแบรนด์ก้าวผ่านยุคอาฟเตอร์โควิด-19 และเติบโตในตลาดยุค 5.0 ได้อย่างมั่นคงไว้แล้ว