เป๊ปซี่โค ดี-เร็ว-รู้เทรนด์ เข้าเส้นชัย

สัมภาษณ์พิเศษ

แม้แบรนด์จะติดตลาดและมียอดขายติดลมบน แต่องค์กรกว่าร้อยปี เป๊ปซี่โคŽ และมีธุรกิจในไทยมา 65 ปี มีแบรนด์หลัก เป๊ปซี่Ž และ เลย์Ž ยังต้องขยับตัวตลอดรับสภาพตลาดและเทรนด์ใส่ใจสุขภาพและความท้าทายใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น อย่างภาษีน้ำหวานที่เป็นโจทย์ล่าสุดในการทำตลาดเมืองไทย

เร็ว ๆ นี้ ปริญญา กิจจาธนพันธ์Ž รองประธานประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และกรรมการผู้จัดการ กลุ่มธุรกิจอินโดจีน บริษัท เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด ผู้คร่ำหวอดในแวดวงสินค้าอุปโภคบริโภคมากว่า 20 ปี และมีประสบการณ์บริหารในไทยและจีน ได้เผยยุทธศาสตร์การเติบโตอีก 10 ปีข้างหน้า และไขทุกคำถามในการรับมือความท้าทายต่าง ๆ ไว้น่าสนใจ ในงานสัมมนา เป๊ปซี่โคกับวิสัยทัศน์ 2025Ž เพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนในทศวรรษหน้า โดยสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

ยุทธศาสตร์อีก 10 ปีข้างหน้า

บริษัทต้องปรับตัวตลอดเวลาในแง่การบริหารและพอร์ตโฟลิโอ ซึ่งเป๊ปซี่โคอยู่ในตลาดมากว่า 120 ปี มีสาขาทั่วโลก 200 แห่ง มียอดขายรวม 63,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 2 ล้านล้านบาท มี 22 แบรนด์หลักที่มียอดขายเกินกว่า 3.5 หมื่นล้านบาท

ที่ผ่านมา เป๊ปซี่โคŽ ค่อนข้างประสบความสำเร็จทั้งทั่วโลกและเมืองไทยที่มีการเติบโตก้าวกระโดดทุกปี บริษัทจึงมองไป 10 ปีข้างหน้า ถึงแผนสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน ภายใต้นโยบาย Performance with Purpose ผลงานดี ต้องสำนึกดี เน้น 3 P ได้แก่ Product, Planet และ People ซึ่งเป็นนโยบายต่อเนื่องจากที่ได้เริ่มมาตั้งแต่ปี 2549 และ 10 ปีที่ผ่านมาก็ค่อนข้างประสบความสำเร็จ มียอดขายโต 120% โดย 45% ของรายได้ไม่ได้มาจากน้ำอัดลม แต่มาจากโปรดักต์ใหม่ ๆ

ปริญญา กิจจาธนพันธ์Ž

จะเห็นว่า พอร์ตโฟลิโอŽ ที่ได้ปรับไปเริ่มบาลานซ์ขึ้น จากสินค้ากลุ่มฟันฟอร์ ยู อาทิ เลย์, เป๊ปซี่, มิรินด้า, ลิปตัน ไอซ์ที บริษัทได้ขยายพอร์ตโฟลิโอที่มีการลอนช์สินค้าใหม่ ๆ ออกมาทดลองตลาดในกลุ่มเบตเตอร์ ฟอร์ ยู ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพที่ใช้วิธีอบหรือใช้น้ำมัน, เกลือ, น้ำตาล ในปริมาณน้อยลง กลุ่มกู๊ดฟอร์ยู อาทิ แครกเกอร์ข้าวโอ๊ต น้ำดื่มอควาฟิน่า น้ำผลไม้ทรอปิคานา

และปีก่อนเพิ่งลอนช์เครื่องดื่มสปาร์กลิ้งอควาฟิน่า วิตซ่า เรายังโตได้ เพราะนำเสนอทางเลือก offer choice เป๊ปซี่โคเน้นมากในการทรานส์ฟอร์มพอร์ตโฟลิโอ ตอนนี้พอร์ตค่อนข้างกว้าง ของใหม่จะเพิ่มอย่างไร แต่ของเก่าก็ยังไม่ทิ้ง เพราะลูกค้ารุ่นเด็กลงเปลี่ยนแปลงเร็วมาก อาจจะมองเป๊ปซี่เป็นหลัก แต่ก็ไปลองอย่างอื่นและกลับมา หรือวันนี้ห้ามใช้น้ำตาล เราก็ยังมีขนม น้ำเปล่า เทคโนโลยีสารความหวานหรือน้ำตาลเทียม เรามีแผนและพอร์ตสินค้าไว้รองรับระยะสั้น กลาง ยาว พร้อมจะใช้เมื่อพฤติกรรมผู้บริโภคพร้อมยอมรับŽน้ำอัดลมในเทรนด์ใส่ใจสุขภาพ

เป๊ปซี่เป็นแบรนด์ค่อนข้างแข็งแกร่ง อยู่ในตลาดเมืองไทยมา 65 ปี บางช่วงอาจจะลุ่ม ๆ ดอน ๆ แต่ยังโตต่อเนื่อง บริษัทเติบโตมาภายใต้แบรนด์นี้อย่างมาก

และถ้าพูดถึงน้ำดำ (ไม่รวมขวดแก้ว) ก็กลับมาเป็นอันดับ 1 ในตลาดน้ำอัดลมมูลค่ากว่าหมื่นล้านบาท ส่วนมิรินด้าก็กำลังหาทางปลุกปั้นแบรนด์ ภายใต้การทรานส์ฟอร์มพอร์ตโฟลิโอ บริษัทได้เพิ่มพอร์ตสินค้า ภายใต้โจทย์ว่า กินขนม กินน้ำ ต้องอร่อย ซึ่งการทำให้มีทั้งความอร่อยและดี เป็นโจทย์ที่ยาก จึงได้ตั้งเป้าทีละน้อย เบื้องต้นดีต้องมา และจึงหาทางให้อร่อย อย่างเรื่องปริมาณน้ำตาลจะเห็นกระแสตามสื่อต่าง ๆ และเป็นอะไรที่หนีไม่พ้น ดังนั้น การนำเข้าสินค้า หรือการผลิต หรือการวิจัย จึงตั้งเป้าจะลดให้ต่ำกว่า 100 แคลอรีต่อ 1 ขวดใน 10 ปีข้างหน้า หรือ 2 ใน 3 ของโปรดักต์จะต้องเป็น 100 แคลอรี หรือต่ำกว่านั้น

รายได้จากเป๊ปซี่ทั่วโลกไม่ถึง 20% ธุรกิจสามารถยืนหยัดต่ออนาคตได้แน่นอนŽ

ด้านพอร์ตโฟลิโอของฟู้ดก็มีความหลากหลาย โดยแบรนด์ เลย์Ž เป็น Most Love Brand ที่มีการพัฒนาอย่างมาก อาทิ เลย์ดั้งเดิมได้เปลี่ยนมาใช้น้ำมันรำข้าวแทนน้ำมันปาล์ม ทำให้ต้นทุนสูงขึ้น แต่แบรนด์ก็เข้มแข็งขึ้น จะเห็นว่า 10 ปีที่ผ่านมา แบรนด์ไม่เคยตกและมีการเติบโตสูงขึ้น, เลย์เบคที่ใช้น้ำมันและเกลือน้อยลงก็ได้รับการตอบรับดีมาก, ซันไบทส์ก็ประสบความสำเร็จ เพราะในตลาดยังไม่ค่อยมีสินค้าที่เอาข้าวกล้องมาอบและใช้น้ำมันน้อยลง

เราตั้งเป้าจะลดการใช้เกลือให้เหลือ 1.3 มก.ต่อ 100 แคลอรี จากอยู่ที่ 1.6 มล. โดยที่ยังคงเมนเทนความต้องการบริโภค และลดการใช้ไขมันอิ่มตัวที่เริ่มจากหันมาใช้น้ำมันรำข้าว และยังมีน้ำมันอีกหลายอย่างอยู่ระหว่าง R&DŽ

ดี-เร็ว-รู้เทรนด์Ž คีย์ซักเซส

อย่างแรก ผลิตภัณฑ์Ž ต้องดี และตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งสิ่งสำคัญที่สุดคือผู้บริโภคต้องมีความอยากได้สินค้า เพราะถ้าไม่มี ยังไงก็ขายไม่ได้ ทั้งการดำเนินธุรกิจต้องเร็ว และมองไปข้างหน้าให้ขาดว่า อะไรเป็นเทรนด์ ทิศทางสินค้า-ผู้บริโภค จึงหาบิสซิเนสโมเดลที่แข่งขันได้ และไปให้ทันก่อนคู่แข่ง ซึ่งบริษัทได้ทดลองตลาดหลายอย่าง อาทิ เรื่องลดน้ำตาล มีการนำเสนอเครื่องดื่ม 0 แคลอรี ต่ำกว่า 50 หรือ 100 แคลอรี เป็นทางเลือกให้ลูกค้าที่ต้องการดื่มทุกวัน แต่กังวลแคลอรี หรือนำเข้าคุกกี้ที่ไม่หวานเหมือนยี่ห้ออื่นแต่ดีต่อสุขภาพ แม้ยอดขายจะยังน้อย แต่ก็เริ่มเติบโต

พอร์ตโฟลิโอกว้างก็ทำให้ทีมขายสามารถนำเสนอขายได้มากกว่า 1-2 เอสเคยู จะหาแบรนด์ที่ Hit a Billion Dollar ไม่ง่าย แต่มี 2-3 แบรนด์ใกล้ ๆ จะถึงแล้ว อย่าง Mountain Dew KickstartŽ

สินค้าของบริษัทเคลื่อนไหวเร็วมาก แต่ผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงเร็วกว่า ดังนั้น การบริหารและบุคลากรจึงสำคัญในการนำผลิตภัณฑ์เข้าถึงผู้บริโภคได้เร็ว ปัจจุบันจ้างงานคนรุ่นใหม่กลุ่มมิลเลนเนียลมากขึ้น เพื่อไอเดียใหม่ ๆ และให้ความสำคัญกับเทรนนิ่ง ซึ่งเมืองไทยถือเป็นอินโดจีนฮับ มีพนักงาน 2.5 พันคน และมี 200-300 คนที่เป็นต่างชาติ หรือพนักงานที่ทำงานนอกจากพื้นที่ไทย

ค่านิยมของเป๊ปซี่ คือ เติบโตอย่างยั่งยืน เราเป็น Growth Company ต้องคิดถึงการเติบโต ไม่ใช่ว่าตลาดไม่โต เราไม่โต ต้องสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนให้ได้ โดยให้ความเชื่อมั่นกับทีม วิธีทำงานต้องฉับไว กล้าลองอะไรใหม่ ๆ กล้าตัดสินใจ เพราะการแข่งขันเร็วมาก ทุกวันมีโจทย์ให้ต้องตอบ จึงต้องตื่นตัวตลอด ดูว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นระยะสั้นหรือยาว อะไรที่ต้องรีแอ็กต์เลยหรืออะไรที่หยุดได้เดี๋ยวก็ผ่านไปŽ

บริษัทยังโฟกัสอินโดจีน เน้นทำสินค้าที่มีราคาเหมาะสม และนำสินค้าไปถึงมือผู้บริโภค เตรียมรับมือภาษีความหวาน

บริษัทได้ให้ความรู้พนักงาน ผู้บริโภคและมีประเภทสินค้าค่อนข้างพร้อม หลังใช้เวลาวิจัยสินค้าใหม่ ๆ มาพอสมควรในการนำเสนอสินค้าทางเลือกให้มากขึ้น