“เครื่องดื่ม” ตื่นตัว…รักษ์โลก น้ำดำ-ชาเขียว เดินหน้าลดพลาสติก

กระแสร กระแสรักษ์โลกนับเป็นหนึ่งในเทรนด์สุดฮอตของปี 2562 โดยเฉพาะการลดขยะพลาสติกที่เป็นตัวการคร่าชีวิตสัตว์ทะเลจำนวนมาก เช่น “มาเรียม” พะยูนกำพร้าขวัญใจมหาชนชาวไทย อีกทั้งยังปนเปื้อนในห่วงโซ่อาหาร เนื่องจากสัตว์ทะเลกินเศษพลาสติกขนาดจิ๋ว หรือไมโครพลาสติกเข้าไป และตกค้างมาจนถึงมนุษย์ที่กินสัตว์เหล่านั้นเข้าไปอีกต่อหนึ่ง

เครื่องดื่มเป็นหนึ่งในธุรกิจที่มีความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับปัญหานี้มาอย่างต่อเนื่อง ทั้งจากผู้ผลิตเครื่องดื่มรายใหญ่อย่าง เป๊ปซี่และโค้กของสหรัฐ อาซาฮีจากญี่ปุ่น และยาคูลท์ในสิงคโปร์

ขณะเดียวกันก็มีความพยายามของสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องดื่มไทยที่เดินหน้าผลักดันการแก้ไขกฎหมายให้สามารถนำขวดพลาสติกแบบ PET ที่ผ่านการรีไซเคิลแล้วกลับมาใส่เครื่องดื่มได้อีกครั้ง ซึ่งจะเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะช่วยลดขยะพลาสติกลงได้อีกจำนวนมาก

“ไทยน้ำทิพย์” ผู้บรรจุขวดและทำตลาดเครื่องดื่มแบรนด์โคคา-โคลา ในประเทศไทย เป็นรายล่าสุดที่ออกมาเคลื่อนไหวในด้านนี้ ด้วยการจับมือพันธมิตรจากหลายวงการทั้ง เซ็นทรัล เอสซีจี บางกอกกลาส อินโดรามา ฯลฯ ปั้นแพลตฟอร์มสำหรับจัดการขยะรีไซเคิลอย่างเป็นระบบ หวังแก้โจทย์ปัญหาการแยกขยะในประเทศไทย พร้อมประกาศแคมเปญ “โค้กขอคืน” ซึ่งมีเป้าหมายเป็นการเก็บบรรจุภัณฑ์ทุกชิ้นที่บริษัทขายออกไปมาเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลให้ได้ภายในปี 2573

“พรวุฒิ สารสิน” ประะธานกรรมการ บริษัท ไทยน้ำทิพย์ จำกัด ฉายภาพว่า ไทยมีศักยภาพด้านการรีไซเคิลขยะสูง ขณะที่ผู้บริโภคและภาคธุรกิจของไทยก็มีความตื่นตัวเรื่องสิ่งแวดล้อมกันอยู่แล้ว นอกจากนี้ ไทยยังมีอุตสาหกรรมรีไซเคิลขนาดใหญ่ที่สามารถรีไซเคิลบรรจุภัณฑ์ได้ทุกชนิด ตั้งแต่แก้ว โลหะ พลาสติก รวมถึงกล่องกระดาษ

เพียงแต่มีจุดอ่อนเรื่องการคัดแยก รวบรวมและขนส่งขยะรีไซเคิลไปยังโรงงาน ไม่ว่าจะเป็นความเข้าใจเรื่องการแยกขยะของผู้บริโภค กระบวนการรวบรวมที่ผ่านคนกลางหลายชั้น ส่งผลให้ขยะปนเปื้อน-ตกค้าง และมีค่าใช้จ่ายสูงขึ้น เพื่อรับมือจึงได้สร้างแพลตฟอร์มสำหรับจัดการขยะรีไซเคิลตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำขึ้น โดยว่าจ้างบริษัท จีอีพีพี สะอาด จำกัด จัดทำระบบข้อมูลโลจิสติกส์

สร้างเส้นทางเก็บรวบรวมขยะรีไซเคิลให้กับบริษัท เวสท์ทีเรียล จำกัด รับหน้าที่เก็บขยะรีไซเคิลจากจุดต่าง ๆ ไปส่งยังโรงงานของพันธมิตรแยกตามประเภทขยะ เช่น บางกอกกลาส รับขวดแก้ว ไทยเบฟเวอร์เรจแคนสำหรับกระป๋อง พลาสติกส่งให้อินโดรามาและเอสซีจี ส่วนกล่องกระดาษเวสท์ทีเรียลมีโรงงานรีไซเคิลของตัวเอง

โครงการนี้เริ่มทดลองดำเนินงานตั้งแต่เดือน ก.ค. ที่ผ่านมา อาศัยความร่วมมือกับเครือเซ็นทรัล เพื่อคัดแยกและรวบรวมขยะจากศูนย์อาหารและร้านค้าเครือซีอาร์จี นำร่องในสาขาอีสต์วิลและบางนา ในช่วง 2 เดือนสามารถนำขยะเข้ากระบวนการรีไซเคิลได้กว่า 2.7 ตันแล้ว

หลังจากนี้มีแผนขยายเครือข่ายพันธมิตรต่อเนื่อง โดยเดินหน้าเจรจากับผู้ประกอบการอื่น ๆ ในสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องดื่มไทย เพื่อเชิญเข้าร่วมแพลตฟอร์ม เช่นเดียวกับเซ็นทรัลที่จะทยอยนำสาขาอื่น ๆ ใน กทม.เข้าร่วมโครงการ

“ผู้ประกอบการในสมาคมต่างตื่นตัวเรื่องสิ่งแวดล้อมกันมาก แต่ที่ผ่านมาติดปัญหาด้านการปฏิบัติ จึงเชื่อว่าแพลตฟอร์มนี้จะช่วยกระตุ้นให้แต่ละรายตัดสินใจเข้าร่วมได้ง่ายขึ้น”

นอกจากนี้ยังร่วมกับสมาคมเครื่องดื่มไทยเดินหน้าผลักดันให้ปลดล็อกกฎหมายห้ามใช้ขวด PET ที่ผลิตจากเม็ดพลาสติกผ่านการรีไซเคิลมาบรรจุเครื่องดื่ม ด้วยการร่วมมือกับมหาวิทยาลัยมหิดล ทำการศึกษาเรื่องความปลอดภัยซึ่งจะเสร็จสิ้นในเดือนตุลาคมนี้ และจะนำเข้าหารือกับองค์การอาหารและยาต่อไปไปในทิศทางเดียวกับบริษัทแม่ในสหรัฐ ที่ก่อนหน้านี้ประกาศว่าจะนำขวดพลาสติกกลับมาใช้ใหม่ไม่น้อยกว่า 75% ของที่ใช้งานภายในปี 2563 โดยเริ่มดำเนินการแล้วในหลายประเทศ เช่น ญี่ปุ่นที่ลอนช์ชาเขียว “ฮาจิเมะ เรียวคุฉะ” (Hajime Ryokucha) ซึ่งบรรจุในขวด PET ซึ่งผลิตจากเม็ดพลาสติกที่ผ่านการรีไซเคิลแล้ว

นอกจากไทยน้ำทิพย์และโคคา-โคล่าแล้ว ที่ผ่านมายังมีผู้ประกอบการอีกหลายรายที่ออกมาเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น “ไทยเบฟ” ที่ทำโครงการ “เก็บ-กลับ รีไซเคิล” รณรงค์ให้พนักงานเก็บขยะรีไซเคิลทั้งขวดแก้ว ขวด PET กระป๋องอะลูมิเนียม กลับมาส่งที่บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ รีไซเคิล เมื่อช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา

ด้านคู่แข่งอย่าง “เป๊ปซี่” เมื่อเดือนกรกฎาคมประกาศแผนลดการใช้ขวดพลาสติก ด้วยการเตรียมขายน้ำดื่มแบรนด์ “อควาฟีน่า” ในแบบกระป๋องอะลูมิเนียมแทนขวดพลาสติกตั้งแต่ต้นปี 2563 รวมถึงปั้นแบรนด์ “ไลฟ์ดับบลิวทีอาร์” (LIFEWTR) ซึ่งจะใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่รีไซเคิลได้ 100% เชื่อว่าจะสามารถลดการใช้พลาสติกใหม่ลงกว่า 8,000 เมตริกตัน

ด้าน “อาซาฮี เบฟเวอร์เรจ” ผู้ผลิตเครื่องดื่มสัญชาติญี่ปุ่น ได้จับมือ “พานาโซนิค” พัฒนาเหยือกเบียร์ผลิตจากไฟเบอร์เรซิ่น ซึ่งสามารถย่อยสลายได้ ตามแผนลดการใช้แก้วพลาสติกในการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นอกสถานที่ ส่วนผู้ผลิต “ยาคูลท์” ในสิงคโปร์ เลิกแถมหลอดมาตั้งแต่ช่วงต้นปี โดยหนุนให้ผู้บริโภคดื่มโดยตรงจากขวดแทน

กระแสนี้น่าจะทำให้วงการเครื่องดื่มทั้งไทยและเทศคึกคักไปด้วยนวัตกรรมและสินค้ารูปแบบใหม่ ๆ ที่มีจุดขายด้านรักษ์โลกและอีกด้านหนึ่งอาจจะช่วยกระตุ้นการบริโภคให้โตตามไปด้วยก็เป็นได้รักษ์โลกนับเป็นหนึ่งในเทรนด์สุดฮอตของปี 2562 โดยเฉพาะการลดขยะพลาสติกที่เป็นตัวการคร่าชีวิตสัตว์ทะเลจำนวนมาก เช่น “มาเรียม” พะยูนกำพร้าขวัญใจมหาชนชาวไทย อีกทั้งยังปนเปื้อนในห่วงโซ่อาหาร เนื่องจากสัตว์ทะเลกินเศษพลาสติกขนาดจิ๋ว หรือไมโครพลาสติกเข้าไป และตกค้างมาจนถึงมนุษย์ที่กินสัตว์เหล่านั้นเข้าไปอีกต่อหนึ่งเครื่องดื่มเป็นหนึ่งในธุรกิจที่มีความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับปัญหานี้มาอย่างต่อเนื่อง ทั้งจากผู้ผลิตเครื่องดื่มรายใหญ่อย่าง เป๊ปซี่และโค้กของสหรัฐ อาซาฮีจากญี่ปุ่น และยาคูลท์ในสิงคโปร์

ขณะเดียวกันก็มีความพยายามของสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องดื่มไทยที่เดินหน้าผลักดันการแก้ไขกฎหมายให้สามารถนำขวดพลาสติกแบบ PET ที่ผ่านการรีไซเคิลแล้วกลับมาใส่เครื่องดื่มได้อีกครั้ง ซึ่งจะเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะช่วยลดขยะพลาสติกลงได้อีกจำนวนมาก

“ไทยน้ำทิพย์” ผู้บรรจุขวดและทำตลาดเครื่องดื่มแบรนด์โคคา-โคลา ในประเทศไทย เป็นรายล่าสุดที่ออกมาเคลื่อนไหวในด้านนี้ ด้วยการจับมือพันธมิตรจากหลายวงการทั้ง เซ็นทรัล เอสซีจี บางกอกกลาส อินโดรามา ฯลฯ ปั้นแพลตฟอร์มสำหรับจัดการขยะรีไซเคิลอย่างเป็นระบบ หวังแก้โจทย์ปัญหาการแยกขยะในประเทศไทย พร้อมประกาศแคมเปญ “โค้กขอคืน” ซึ่งมีเป้าหมายเป็นการเก็บบรรจุภัณฑ์ทุกชิ้นที่บริษัทขายออกไปมาเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลให้ได้ภายในปี 2573

“พรวุฒิ สารสิน” ประะธานนกรรมการ บริษัท ไทยน้ำทิพย์ จำกัด ฉายภาพว่า ไทยมีศักยภาพด้านการรีไซเคิลขยะสูง ขณะที่ผู้บริโภคและภาคธุรกิจของไทยก็มีความตื่นตัวเรื่องสิ่งแวดล้อมกันอยู่แล้ว นอกจากนี้ ไทยยังมีอุตสาหกรรมรีไซเคิลขนาดใหญ่ที่สามารถรีไซเคิลบรรจุภัณฑ์ได้ทุกชนิด ตั้งแต่แก้ว โลหะ พลาสติก รวมถึงกล่องกระดาษ

เพียงแต่มีจุดอ่อนเรื่องการคัดแยก รวบรวมและขนส่งขยะรีไซเคิลไปยังโรงงาน ไม่ว่าจะเป็นความเข้าใจเรื่องการแยกขยะของผู้บริโภค กระบวนการรวบรวมที่ผ่านคนกลางหลายชั้น ส่งผลให้ขยะปนเปื้อน-ตกค้าง และมีค่าใช้จ่ายสูงขึ้น เพื่อรับมือจึงได้สร้างแพลตฟอร์มสำหรับจัดการขยะรีไซเคิลตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำขึ้น โดยว่าจ้างบริษัท จีอีพีพี สะอาด จำกัด จัดทำระบบข้อมูลโลจิสติกส์

สร้างเส้นทางเก็บรวบรวมขยะรีไซเคิลให้กับบริษัท เวสท์ทีเรียล จำกัด รับหน้าที่เก็บขยะรีไซเคิลจากจุดต่าง ๆ ไปส่งยังโรงงานของพันธมิตรแยกตามประเภทขยะ เช่น บางกอกกลาส รับขวดแก้ว ไทยเบฟเวอร์เรจแคนสำหรับกระป๋อง พลาสติกส่งให้อินโดรามาและเอสซีจี ส่วนกล่องกระดาษเวสท์ทีเรียลมีโรงงานรีไซเคิลของตัวเอง

โครงการนี้เริ่มทดลองดำเนินงานตั้งแต่เดือน ก.ค. ที่ผ่านมา อาศัยความร่วมมือกับเครือเซ็นทรัล เพื่อคัดแยกและรวบรวมขยะจากศูนย์อาหารและร้านค้าเครือซีอาร์จี นำร่องในสาขาอีสต์วิลและบางนา ในช่วง 2 เดือนสามารถนำขยะเข้ากระบวนการรีไซเคิลได้กว่า 2.7 ตันแล้ว

หลังจากนี้มีแผนขยายเครือข่ายพันธมิตรต่อเนื่อง โดยเดินหน้าเจรจากับผู้ประกอบการอื่น ๆ ในสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องดื่มไทย เพื่อเชิญเข้าร่วมแพลตฟอร์ม เช่นเดียวกับเซ็นทรัลที่จะทยอยนำสาขาอื่น ๆ ใน กทม.เข้าร่วมโครงการ

“ผู้ประกอบการในสมาคมต่างตื่นตัวเรื่องสิ่งแวดล้อมกันมาก แต่ที่ผ่านมาติดปัญหาด้านการปฏิบัติ จึงเชื่อว่าแพลตฟอร์มนี้จะช่วยกระตุ้นให้แต่ละรายตัดสินใจเข้าร่วมได้ง่ายขึ้น”

นอกจากนี้ยังร่วมกับสมาคมเครื่องดื่มไทยเดินหน้าผลักดันให้ปลดล็อกกฎหมายห้ามใช้ขวด PET ที่ผลิตจากเม็ดพลาสติกผ่านการรีไซเคิลมาบรรจุเครื่องดื่ม ด้วยการร่วมมือกับมหาวิทยาลัยมหิดล ทำการศึกษาเรื่องความปลอดภัยซึ่งจะเสร็จสิ้นในเดือนตุลาคมนี้ และจะนำเข้าหารือกับองค์การอาหารและยาต่อไปไปในทิศทางเดียวกับบริษัทแม่ในสหรัฐ

ที่ก่อนหน้านี้ประกาศว่าจะนำขวดพลาสติกกลับมาใช้ใหม่ไม่น้อยกว่า 75% ของที่ใช้งานภายในปี 2563 โดยเริ่มดำเนินการแล้วในหลายประเทศ เช่น ญี่ปุ่นที่ลอนช์ชาเขียว “ฮาจิเมะ เรียวคุฉะ” (Hajime Ryokucha) ซึ่งบรรจุในขวด PET ซึ่งผลิตจากเม็ดพลาสติกที่ผ่านการรีไซเคิลแล้ว

นอกจากไทยน้ำทิพย์และโคคา-โคล่าแล้ว ที่ผ่านมายังมีผู้ประกอบการอีกหลายรายที่ออกมาเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น “ไทยเบฟ” ที่ทำโครงการ “เก็บ-กลับ รีไซเคิล” รณรงค์ให้พนักงานเก็บขยะรีไซเคิลทั้งขวดแก้ว ขวด PET กระป๋องอะลูมิเนียม กลับมาส่งที่บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ รีไซเคิล เมื่อช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา

ด้านคู่แข่งอย่าง “เป๊ปซี่” เมื่อเดือนกรกฎาคมประกาศแผนลดการใช้ขวดพลาสติก ด้วยการเตรียมขายน้ำดื่มแบรนด์ “อควาฟีน่า” ในแบบกระป๋องอะลูมิเนียมแทนขวดพลาสติกตั้งแต่ต้นปี 2563 รวมถึงปั้นแบรนด์ “ไลฟ์ดับบลิวทีอาร์” (LIFEWTR) ซึ่งจะใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่รีไซเคิลได้ 100% เชื่อว่าจะสามารถลดการใช้พลาสติกใหม่ลงกว่า 8,000 เมตริกตัน

ด้าน “อาซาฮี เบฟเวอร์เรจ” ผู้ผลิตเครื่องดื่มสัญชาติญี่ปุ่น ได้จับมือ “พานาโซนิค” พัฒนาเหยือกเบียร์ผลิตจากไฟเบอร์เรซิ่น ซึ่งสามารถย่อยสลายได้ ตามแผนลดการใช้แก้วพลาสติกในการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นอกสถานที่ ส่วนผู้ผลิต “ยาคูลท์” ในสิงคโปร์ เลิกแถมหลอดมาตั้งแต่ช่วงต้นปี โดยหนุนให้ผู้บริโภคดื่มโดยตรงจากขวดแทนกระแสนี้น่าจะทำให้วงการเครื่องดื่มทั้งไทยและเทศคึกคักไปด้วยนวัตกรรมและสินค้ารูปแบบใหม่ ๆ ที่มีจุดขายด้านรักษ์โลก และอีกด้านหนึ่งอาจจะช่วยกระตุ้นการบริโภคให้โตตามไปด้วยก็เป็นได้