Functional Foods มาแรง ‘ตลาดอาหารเพื่อสุขภาพ’ ในยุโรป (1)

อาหาร ผัก
นอกรอบ

สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ
ประจำกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.

 

functional foods หรืออาหารที่มีส่วนประกอบที่ทำหน้าที่พิเศษกว่าการให้สารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายทั่วไป เช่น ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ส่งเสริม และควบคุมให้ระบบต่าง ๆ ของร่างกายทำงานได้อย่างปกติป้องกัน หรือชะลอความเสื่อมของเซลล์ลดความเสี่ยงใการเกิดโรค functional foods เป็นอาหารที่อยู่กึ่งกลางระหว่างอาหารทั่วไป แต่ก็ไม่ถึงกับเป็นอาหารบำบัดโรค เป็นอาหารที่ทำหน้าที่เฉพาะเจาะจงในการส่งเสริมสุขภาพด้านต่าง ๆ เพิ่มเติมจากประโยชน์ของอาหารทั่วไป

สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป รายงานว่า ปัจจุบัน functional foods ยังคงสภาพเป็นอาหารไม่อยู่ในรูปแคปซูล/ผง เหมือนยาสกัด หรือดัดแปลงจากวัตถุดิบธรรมชาติ และบริโภคได้โดยไม่มีข้อจำกัด

“functional foods” หรือเรียกง่าย ๆ ว่า “อาหารเพื่อสุขภาพ” แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

(1) อาหารธรรมดา ที่มีส่วนผสมจากธรรมชาติที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่สำคัญ เช่น วิตามิน แร่ธาตุสารต้านอนุมูลอิสระ ไขมันที่ดีต่อสุขภาพ

ตัวอย่าง conventional functional foods เช่น ผัก ผลไม้ถั่ว เมล็ดธัญพืช พืชตระกูลถั่ว ธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสีอาหารทะเล สมุนไพร เครื่องเทศ อาหารที่ผ่านการหมักด้วยจุลินทรีย์ชา กาแฟ เป็นต้น

(2) อาหารเสริมด้วยส่วนผสมเพิ่มเติมที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพเหนือกว่าประโยชน์ทางโภชนาการขั้นพื้นฐาน

เช่น วิตามิน แร่ธาตุโปรไบโอติก ไฟเบอร์ตัวอย่าง fortified functional foods เช่น น้ำผลไม้เสริมแร่ธาตุหรือวิตามิน นมเสริมโปรตีน ผลิตภัณฑ์นม เสริมโปรไบโอติก ขนมปังเสริมแคลเซียมหรือวิตามิน ไข่ไก่เสริมโอเมก้า-3 เป็นต้น

– แนวโน้มการเติบโตของตลาดอาหารเพื่อสุขภาพ

จากข้อมูลของ Statista ประเมินว่า ปี 2562 ตลาดอาหารเพื่อสุขภาพทั่วโลกมีมูลค่าราว 178,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และอาจเติบโตเพิ่มขึ้นเป็น 268,000 ล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2570 หรือเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 6.7 ต่อปีในช่วงระหว่างปี 2564-2570 โดยเอเชีย-แปซิฟิกเป็นตลาดขนาดใหญ่ที่สุด (ญี่ปุ่น จีน) รองลงมา คือ สหรัฐอเมริกา และยุโรป

สำหรับตลาดที่สำคัญในยุโรป ได้แก่ เยอรมนี ฝรั่งเศส และสหราชอาณาจักร แต่ประชากรในยุโรปเหนือ เช่น ฟินแลนด์ สวีเดน และเนเธอร์แลนด์ มีอัตราการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพสูงกว่าประเทศอื่นในยุโรป (โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์นม เนื้อสัตว์ เบเกอรี่ เครื่องดื่ม) ในอนาคตตลาดอาหารเพื่อสุขภาพของยุโรปมี
แนวโน้มเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 8.3 ต่อปีในช่วงระหว่างปี 2564-2570

ปัจจัยที่ส่งเสริมการเติบโตของตลาดอาหารเพื่อสุขภาพในยุโรป

– ภูมิคุ้มกัน : ผู้บริโภครับรู้และเข้าใจมากขึ้นว่าการบริโภคอาหารอย่างเหมาะสมจะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และทำให้ร่างกายแข็งแรง

– รายได้ : ประชากรมีรายได้สูงขึ้น จึงมีกำลังซื้ออาหาร-เครื่องดื่มที่ดีต่อสุขภาพเพิ่มขึ้น

– กระแสรักสุขภาพ (health awareness) และการออกกำลังกาย

– ผู้ป่วยโรคอ้วน โรคหัวใจ โรคมะเร็งเพิ่ม : ผู้บริโภคจึงพยายามหาทางป้องกันโรคด้วยการกินอาหารที่มีประโยชน์และยังช่วยลดความเสี่ยงจากโรคเรื้อรังอื่น ๆ เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง

– นวัตกรรม : ยุโรปเป็นแนวหน้าของโลกด้านนวัตกรรมอาหาร-เครื่องดื่ม และมีบริษัทขนาดใหญ่จำนวนมากที่มีความพร้อมด้านการเงินสำหรับลงทุนพัฒนาอาหารเพื่อสุขภาพใหม่ ๆ ออกสู่ตลาด

ปัจจัยที่จำกัดการเติบโตของตลาดอาหารเพื่อสุขภาพในยุโรป

– ราคา : อาหารเพื่อสุขภาพมักมีต้นทุนการผลิตสูง และราคาแพงกว่าอาหารธรรมดาทั่วไป จึงเป็นข้อจำกัดในการตัดสินใจซื้อ

– เศรษฐกิจ : ในช่วงที่เศรษฐกิจชะลอตัวผู้บริโภคอาจหันไปซื้ออาหารที่มีราคาถูกลง

– กฎระเบียบ : สหภาพยุโรปยังไม่มีกฎระเบียบควบคุมอาหารเพื่อสุขภาพโดยเฉพาะ แต่มีการใช้กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กฎระเบียบอาหารใหม่ (novel food) กฎระเบียบผลิตภัณฑ์อาหารเสริม การติดฉลากอาหาร

การกล่าวอ้างทางโภชนาการและสุขภาพ การเติมวิตามินและแร่ธาตุในอาหาร ซึ่งเข้มงวดและซับซ้อนจำกัดการเติบโตของตลาด