กำลาภ ศิริกิตติวัฒน์ ชู “ยูดี ทรัคส์” แชมป์ประหยัด ระบบขนส่ง 40% มาจากค่าเชื้อเพลิง

“ยูดี ทรัคส์” แบรนด์รถบรรทุกชั้นนำจากประเทศญี่ปุ่น ที่มีความเชี่ยวชาญในงานขนส่งอย่างครบวงจร พันธกิจหลักคือการมอบมูลค่าเพิ่มในทุก ๆ ผลิตภัณฑ์ด้วยความไว้วางใจได้สูงสุด ในโอกาสที่ “ยูดี ทรัคส์ (ประเทศไทย)” ส่งตัวแทนสุดยอดนักขับเข้าชิงแชมป์โลกที่สนามประเทศญี่ปุ่น “กำลาภ ศิริกิตติวัฒน์” ประธานกรรมการ ยูดี ทรัคส์ ประเทศไทย ได้ไปร่วมให้กำลังใจนักขับที่ประเทศญี่ปุ่น พร้อมให้สัมภาษณ์ “ประชาชาติธุรกิจ” ถึงภาพรวมของตลาดโดยรวมในปีนี้และแผนในปีหน้า

ยูดี ทรัคส์ 9 เดือน 600 คัน

ถ้าดูทั้งรุ่นเควสเตอร์และโคนเนอร์รวมกัน โคนเนอร์เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อปีที่แล้ว เควสเตอร์และโคนเนอร์รวมกันยอดจดทะเบียน 9 เดือน ขึ้นมาจาก 500 กว่าคัน มาอยู่ที่ 600 กว่าคัน

ในช่วงเดียวกันเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว จากตัวเลขจดทะเบียนถือว่าโตประมาณ 20% ถ้าเรามองดูตลาดที่เราเล่นอยู่ คือ ตลาดเฮฟวี่ กับมีเดียม รวมกันตลาดโตขึ้นมากกว่า 10% เราโตอยู่ที่ประมาณ 20% ถือว่าไปได้ดีโตกว่าตลาด

ชูจุดแข็งเทรนนิ่งเซ็นเตอร์

ส่วนเรื่องการลงทุน เราขยายมาพอสมควรแล้วในช่วงเวลา 7 ปีที่ผ่านมา เราลงทุนในส่วนของโรงงานไปประมาณ 2 พันล้านบาท ลงทุนในส่วนของศูนย์บริการไปประมาณ 2 พันล้านบาทเหมือนกันในช่วง 7 ปีที่ผ่านมา ทีนี้ถ้ามองเหมือนคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์เราก็ลงทุนไปเต็มที่ สิ่งที่เราต้องพัฒนาและลงทุนไปเรื่อย ๆ ก็คือ ซอฟต์แวร์ นั่นหมายถึงทีมงาน ทำยังไงถึงจะสามารถบริการลูกค้าได้ดีที่สุด ซึ่งตรงนี้มันเป็นอะไรที่ต้องทำอย่างต่อเนื่องอยู่แล้ว มีการสร้างบุคลากรขึ้นมาเรื่อย ๆ

มีศูนย์เทรนนิ่งเซ็นเตอร์ที่ออฟฟิศ ช่างตั้งแต่เริ่มเข้ามาทำงานวันแรกจะเป็น assistant mechanic (ผู้ช่วยช่าง) ต่อไปก็จะได้เป็น mechanic 1 mechanic 2 mechanic 3 จนไปถึงแดนอสติก สามารถตรวจเช็ก

อาการของรถได้ เสียบคอมพิวเตอร์เช็กรถได้ ทั้งหมดนี้ใช้เวลา 7-8 ปี จากเริ่มต้นไปจนถึงจุดสุดท้าย เพราะฉะนั้น ทุกคนจะรู้หมดเลยว่าถ้าอยากเจริญเติบโตในแนวทางการทำงานของเขา จะต้องเรียนรู้อะไรบ้าง สอบอะไรบ้าง จะต้องให้ความสำคัญกับคนที่สัมผัสกับรถลูกค้าจริง ๆ รวมถึงพนักงานแต่ละคนที่ดีลเลอร์รับรถ มีคอร์สอะไรที่เราต้องเรียนบ้าง คุยเรื่องวอร์แรนตีกับลูกค้ามีอะไรที่ต้องเรียนรู้บ้าง ทุกอย่างจะแพลนไว้หมด เรามีศูนย์เทรนนิ่งเซ็นเตอร์ของเราเลยที่เมืองไทยที่สามารถอบรมบุคลากรของเราอย่างต่อเนื่อง

ลั่นยูดี ทรัคส์แข่งกับตัวเอง

เราพยายามทำให้ตัวเราดีขึ้นเรื่อย ๆ แข่งกับตัวเอง พูดจริง ๆ เราเริ่มเปิดตัวเควสเตอร์เมื่อปี 2013 เราก็เจริญเติบโตมาเรื่อย ๆ เราก็ต้องพยายามทำยังไงให้ลูกค้ารับรู้แบรนด์เรา สัมผัสแบรนด์ของเราจากเรื่องของแบรนด์ จากเรื่องของผลิตภัณฑ์ รับรู้ในเรื่องการใช้งาน ซึ่งสำหรับธุรกิจรถบรรทุกจริง ๆ

คุณเคนโซ่ อาดาชิ ซึ่งเป็นคนก่อตั้งยูดีเมื่อปี 1935 ที่ญี่ปุ่น ตอนที่สร้างรถขึ้นมา เขามีความคิดที่อยากจะสร้างรถที่โลกต้องการเมื่อกว่า 80 ปีที่แล้ว

จนมาถึงวันนี้ สิ่งที่เขาบอกไว้ยังคงเหมือนเดิม แต่สิ่งที่แตกต่างจากเดิมคือเราต้องสร้างรถและการบริการที่โลกต้องการ เพราะฉะนั้นเราไม่ได้มองที่ตัวรถอย่างเดียว เรามองที่รถใช้งาน

เป็นยังไง เริ่มตั้งแต่เลือกรถว่าเลือกรถยังไงให้เหมาะสมกับการใช้งานมากที่สุด ขึ้นเขา ทางราบ ยกล้อได้ ยกล้อไม่ได้ 10 ล้อ 12 ล้อ อะไรพวกนี้คือเราจะต้องเริ่มจากตรงนั้นเลย เสร็จแล้วก็ต้องให้ลูกค้าเริ่มลองใช้รถ พอเริ่มลองใช้รถก็ต้องฝึกบริการ การใช้รถเป็นตัวแปรสำคัญเลยยิ่งเกี่ยวกับกิจกรรมของเราเลยคือพนักงานขับรถ

คือฮีโร่ของเรา เป็นกลไกสำคัญดูแลต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการขนส่ง เพราะภูมิภาคในเอเชียต้นทุนในการขนส่งประมาณ 40% มาจากค่าน้ำมันเชื้อเพลิง และพนักงานขับรถจะเป็นคนที่ทำให้ประหยัดหรือไม่ประหยัดได้ เพราะคันเร่งอยู่กับเขา ดูแลรถดีหรือเปล่า ตรวจสอบรถก่อนเอารถออกไปใช้งานหรือเปล่า ขับรถเป็นยังไง ขับอย่างปลอดภัยหรือเปล่า เพราะสิ่งต่าง ๆ

เหล่านี้ตั้งแต่ตรวจรถ ก่อนออกรถ การตรวจรถคือการป้องกันไม่เกิดการเบรกดาวน์ระหว่างทางเกิดขึ้น เพราะถ้ามีการเบรกดาวน์ระหว่างทางเกิดขึ้นวันนั้นทั้งวันคือเขาเสียเลย ผู้ประกอบการเสียวันทั้งวันไป เสียไม่พอ รถไปส่งไม่ได้ ต้องไปจ้างรถคันอื่นมาอีก เพราะฉะนั้นกิจกรรมอันนั้นคือการปลูกจิตสำนึกของพนักงานขับรถ ให้ดูแลรถตั้งแต่เริ่มต้น เพราะถ้าดูแลรถดีแล้ว ระบบไฟดี ระบบเบรกดี เช็กน้ำหล่อเย็นอยู่ในระดับที่ใช้งานได้ เพราะฉะนั้นเขาจะใช้งานได้อย่างดีและเต็มที่ที่สุด หลังจากนั้นก็เป็นเรื่องของการขับขี่ ขับยังไงให้ประหยัด ขับยังไงให้ปลอดภัย

ยูดี ทรัคส์สร้างกำไรลูกค้า

กลยุทธ์การขายทำยังไงถึงจะทำให้ลูกค้าที่ใช้ผลิตภัณฑ์ของเราอยู่แล้วบอกต่อนั่นคือ บริการให้ดีที่สุด ซึ่งการบริการให้ดีที่สุดแน่นอนถ้าลูกค้ามีกำไร ประสบความสำเร็จในธุรกิจเราก็ประสบความสำเร็จไปด้วย ขณะเดียวกันถ้าลูกค้าประสบความสำเร็จก็อยากบอกต่อให้เพื่อน ๆ ใช้ คนรู้จักใช้ อันนี้คือส่วนหนึ่งที่เราทำได้ เราพยายามจัดกิจกรรมต่าง ๆ เรามีการเปิดตัวโคนเนอร์

เมื่อปีที่แล้ว ปีนี้เรามีเปิดตัวโคนเนอร์ที่เป็น 10 ล้อ หลังจากนั้น เรามีโรดโชว์ไปที่จุดต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย ให้คนได้สัมผัสเราเพิ่มมากขึ้น เข้าไปในโซเชียลมีเดียเพิ่มมากขึ้น มีกิจกรรมในโซเชียลมีเดียให้คนรู้จักแบรนด์ของเราเพิ่มมากขึ้น รวมถึงลูกค้าบางรายอยากจะลองใช้รถเราก็มีรถเดโมให้ทดสอบ ทำให้ลูกค้าตระหนัก เห็น ทดลอง ประทับใจ และลองใช้ ใช้ดีแล้วบอกต่อ ลูกค้าตัดสินใจที่ตัวรถสเป็กเป็นยังไง ราคาเท่าไหร่ ผมจะบอกเสมอว่าขายรถคันแรกไม่ยาก มันคือทรานแซ็กชั่นเดียว

พีโอ อินวอยซ์ ปิดอินวอยซ์ แต่จะขายคันต่อไปอันนี้คือสิ่งที่ท้าทายกว่า ทำยังไงให้ประทับใจ อยากเอารถกลับมาเข้าศูนย์ของเรา นึกจะซื้อคันถัดไป นึกถึงเรา จริง ๆ แล้วเซลส์เป็นส่วนหนึ่งแต่ทีมงานบริการหลังการขายก็มีส่วนสำคัญมาก เป็นคนที่จะต้องอยู่กับลูกค้าไป 5 ปี 10 ปีตลอดที่ใช้รถ เพราะฉะนั้นเราถึงให้ความสำคัญมากกับการบริการหลังการขายของเรา

ทุ่มขยายโปรดักต์

ปีนี้เราเน้นไปที่โปรดักต์ เราเพิ่งเปิดตัวโปรดักต์ไปเมื่อกลางปีที่ผ่านมา พอลอนช์เปิดตัวออกมาเราก็จุดหนึ่ง เรียนรู้เพิ่มมากขึ้น โอเคเซ็กเมนต์นี้เรายังขาดอยู่นะ เราก็สร้างผลิตภัณฑ์เข้ามาเติม เติมเรื่อย ๆ เราก็ฟังเสียงลูกค้ามาตลอดว่ามีอะไรที่เราทำได้ดีมากขึ้น มีอะไรที่เราต้องปรับปรุง เพราะฟีดแบ็กจากลูกค้าถือว่าเป็นของขวัญ ตราบใดที่ยังมีฟีดแบ็ก ยังให้คำแนะนำกับเรา นั่นหมายความว่า เขายังอยากทำธุรกิจกับเรา ยังอยากที่จะซื้อของใช้บริการกับเราอยู่ เราก็นำสิ่งพวกนี้เข้ามาดำเนินการปรับปรุงพัฒนาผลิตภัณฑ์ของเรา จุดไหนขาด อย่างที่เพิ่งเปิดตัวไปโคนเนอร์แบบ 6 คูณ 2 สำหรับขนส่งสินค้าที่เป็นพวกคอนเทนเนอร์ สินค้าทั่วไป รถน้ำหนักเบา มีเกียร์ออโตทำให้ขับสบายมากขึ้น คือเอามาตอบโจทย์ความต้องการของตลาดที่เปลี่ยนไปและเพิ่มมากขึ้นตลอด ตอนนี้เริ่มมีเกียร์ออโตเอามาช่วยดึงดูดคนขับ เพื่อให้ขับรถง่ายขึ้น สบายขึ้น คือสิ่งที่เติมเข้ามาเรื่อย ๆ ในผลิตภัณฑ์ของเรา

รออีอีซีกระหึ่ม

ตลาดต่างประเทศถ้าเป็นของยูดีที่อยู่นอกญี่ปุ่นตลาดใหญ่ คือ อินโดนีเซีย เพราะผลิตภัณฑ์จะเป็นคนละอย่างกัน ส่วนประเทศไทยถือว่าเป็นตลาดไม่เล็ก 30,000 คัน จริง ๆ ในอนาคตโอกาสที่จะเติบโตในไทยยังมีอีกเยอะถ้าอีอีซีเริ่มเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาชัดเจน ถือเป็นจุดศูนย์กลางของฮับ ยังมีโอกาสอีกเยอะในเมืองไทย

ถ้าเรามองกลับมานั่นคือเหตุผลว่าทำไมวอลโว่ กรุ๊ป ยูดี ทรัคส์ เราถึงกล้าที่จะลงทุนในประเทศไทยในขณะนี้ เรามีโรงงานที่เมืองไทย ประกอบ ผลิตขายในประเทศไทย รวมถึงส่งออกไปประเทศต่าง ๆ ด้วย เราประกอบทั้งเควสเตอร์และโคนเนอร์ส่งออกไปอินโดนีเซีย เซาท์แอฟริกา ละตินอเมริกาตะวันออกกลาง ไปทั่ว

เมื่อ 2-3 สัปดาห์ที่แล้วเราเพิ่งฉลองประกอบรถเควสเตอร์คันที่ 15,000 ไปที่โรงงานของเรา ฉลองการผลิตคันที่ 15,000 คันจำนวนรถของยูดีภายใต้แบรนด์ยูดี