คนชายขอบ กับ คอลเซ็นเตอร์

คอลัมน์ : SD Talk
ผู้เขียน : รสลิน โกแวร์ ผู้อำนวยการมูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย

ครอบครัวเป็นสิ่งสำคัญที่ส่งเสริมให้เด็กเติบโตอย่างสมบูรณ์ จึงเป็นสิ่งที่มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย นำมาประยุกต์ใช้ในรูปแบบการทำงาน และเพื่อความยั่งยืนจึงปรับเป็น “งานพัฒนา” ผ่านการใช้ชุมชนเป็นพื้นฐานเพื่อทำงานร่วมกัน

ต้องยอมรับว่าปัจจัยแวดล้อมส่งผลต่อการเติบโตของเด็กในแต่ละเจน เดี๋ยวนี้มีค่านิยมที่คิดว่าเป็นคอลเซ็นเตอร์มันคูล มันดี มีงานทำ

จากการรายงานของเครือข่ายการค้ามนุษย์ในพื้นที่เชียงราย มีรายงานว่ากลุ่มเด็กชายขอบ ชาติพันธุ์ มีความสนใจที่จะไปทำงานคอลเซ็นเตอร์ เนื่องจากได้เงินและมีงานทำ ประเทศไทยมีปัญหาเรื่องค้ามนุษย์อยู่มาก เนื่องจากมีภูมิศาสตร์เป็นทางผ่าน มูลนิธิจึงต้องปูรากฐานให้แข็งแรง ด้วยการปกป้องคุ้มครองเด็กให้เข้มแข็ง มีการอบรมให้รู้เท่าทันโลก และสามารถปกป้องตัวเองได้

มูลนิธิสุภนิมิตรแห่งประเทศไทย

ในปี 2567 ที่ผ่านมา มูลนิธิเข้าถึงผู้เปราะบางกว่า 2.3 ล้านคน ซึ่งเป็นเด็กยากไร้ 1.3 ล้านคน อ้างอิงจากข้อมูลกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษารายงานว่า ปัจจุบันมีเด็กหลุดจากระบบการศึกษา 1.2 ล้าน

มูลนิธิจึงแก้ปัญหาด้วยการปลูกฝังความเป็นเจ้าของในตัวเอง สร้างเด็กเติบโตมีคุณภาพผ่านสามมิติ ได้แก่ เปลี่ยนรูปแบบการทำงาน คือชัดเจนในการแก้ไขปัญหา ระบุว่าปัญหาต้องแก้อะไร ต้องทำงานกับใคร จึงจะตอบโจทย์ได้อย่างสมบูรณ์มากที่สุด โดยยึดหลักปกป้องคุ้มครองเด็ก โดยเฉพาะเรื่องคอลเซ็นเตอร์ที่กลุ่มเด็กมักถูกล่วงละเมิด เนื่องจากความขาดแคลน

ADVERTISMENT

ต่อมาในช่วงวัยของเด็กอายุ 0-12 ปี สร้างการเลี้ยงดูที่เหมาะสม ลงพื้นที่ทำงานกับครอบครัว ปู่ ย่า ตา ยาย โดยให้เข้ากับบริบทปัจจุบันของโลก และเต็มไปด้วยความรัก ความสัมพันธ์ในครอบครัวที่ดี ส่งเสริมการเขียน-อ่าน และโครงการอาหารเช้า สร้างเสริมโภชนาการให้พร้อมเรียนรู้ในทุกวัน

และในช่วงวัย 13-24 ปี เน้นส่งเสริมทักษะชีวิต ด้วยการตั้งสภาเยาวชน เพื่อสร้างกลุ่มขับเคลื่อนไปในทิศทางที่ดี ทำกิจกรรมจิตอาสา เพื่อสร้างประโยชน์แก่ชุมชน เช่น โครงการจัดการขยะที่สร้างความตระหนักถึงสิ่งแวดล้อม

ADVERTISMENT
รสลิน โกแวร์ ผู้อำนวยการมูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย
รสลิน โกแวร์ ผู้อำนวยการมูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย

เรื่องโลกร้อนเองก็ส่งผลกระทบต่อเด็กมากที่สุดเช่นกัน เพราะกระทบต่อความอยู่ดีมีสุขของเด็ก ๆ แน่นอน ต้องสร้างการตระหนักรู้เรื่องผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม การให้เด็กมีส่วนร่วม (Child Participation) จะสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืนได้ค่ะ