
คอลัมน์ : SD Talk ผู้เขียน : ผศ.ดร.วัลลภา เฉลิมวงศาเวช ผู้อำนวยการหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยครูสุริยเทพ มหาวิทยาลัยรังสิต
ในยุคที่โลกเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในทุกแง่มุมของชีวิต แม้กระทั่งการศึกษาเองก็ไม่ใช่ข้อยกเว้น ผู้บริหารการศึกษายุคใหม่จึงต้องปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลง พัฒนาทักษะ และความรู้ใหม่ ๆ อยู่เสมอ
ผมคิดว่าผู้บริหารการศึกษายุคใหม่ไม่เพียงจะต้องมีความสามารถรอบด้าน ทั้งวิสัยทัศน์ ความคิด ความเชื่อ หรือทัศนคติที่ชี้นำ แต่ยังต้องมีความแตกต่างและเรียนรู้เท่าทันอีกด้วย
ความเป็นผู้บริหารทางการศึกษา ความเก่ง ความแน่น และความแม่นยำในทางวิชาการเป็นมาตรฐานที่ทุกคนต้องมีอยู่ แต่ถ้าสิ่งที่เราต้องการสร้างความแตกต่าง บนมาตรฐานเดิม มันคืออะไร ผมเคยเสนอไปว่า ของมหาวิทยาลัยรังสิตเราเน้นเรื่องการเป็นผู้บริหารการศึกษามืออาชีพ
คำว่ามืออาชีพหมายถึงเก่ง แน่น แม่นยำทางวิชาการแล้ว ยังต้องรวดเร็ว ยอมรับการเปลี่ยนแปลง และปรับตัว
ซึ่งตรงนี้มันเป็นทักษะที่เราจะต้องสร้างให้นักศึกษาทุกคน ให้เขามีคุณสมบัติเหล่านี้ที่เพิ่มเติมไปจากวิชาการที่มีอยู่ ตรงนี้แหละผมคิดว่ามันคือหัวใจสำคัญของผู้บริหารการศึกษายุคใหม่
ในปัจจุบันการแข่งขันที่เกิดขึ้น ซึ่งการแข่งขันให้ดีกว่า ครอบคลุมกว่า มีคุณภาพกว่า เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในทุกยุคทุกสมัยอยู่แล้ว จะมีเรื่องของสถานการณ์ วิกฤตต่าง ๆ ตามเหตุการณ์บ้านเมือง นี่นับเป็นอีกความท้าทายที่เราไม่ควรมองข้าม ผู้บริหารแต่ละคนจะสามารถรับมือกับวิกฤตได้ไม่เหมือนกัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นอาจจะต้องเกิดจากจิตใจที่เข้มแข็งก่อน
ฉะนั้น ส่วนแรกที่เราจะต้องสร้างให้นักศึกษาเราเป็นก็คือ จิตใจที่เข้มแข็ง มันอาจจะไม่ได้สร้างได้ด้วยวันเดียว หรือเมื่อจบการศึกษาแล้วอาจจะไม่ใช่คนที่มีจิตใจเข้มแข็ง แต่อย่างน้อยสิ่งที่เราพยายามบอกเขาทุกวัน นอกจากวิชาการที่ต้องมีแล้ว ตรงนี้แหละที่สำคัญที่เขาจะต้องมีด้วย คือจิตใจที่เขายอมรับ อันแรกเมื่อเกิดวิกฤตนะ
ต้องยอมรับให้ได้ก่อน แล้วพอเป็นผู้บริหารต้องตัดสินใจ ต้องคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์อย่างรวดเร็ว ว่าพอมันเกิดวิกฤตแล้วต้องทำอย่างไร ตรงนี้แหละผมคิดว่ามันเป็นคุณสมบัติหลัก ๆ ที่ทุกคนจะต้องมี คือต้องแก้วิกฤตให้เป็นโอกาสให้ได้