วิรัตน์ แสงทองคำ : ดัชนีเอสซีจี

คอลัมน์ เรื่องราวกับความคิด
โดย วิรัตน์ แสงทองคำ http//:viratts.wordpress.com

ความเป็นไปของเอสซีจี ตีความได้เสมอ เพื่อเทียบเคียงกับสถานการณ์สังคมธุรกิจไทย เครือซิเมนต์ไทย หรือเอสซีจีเพิ่งแถลงผลประกอบการครึ่งปี นำทีมโดยรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส ประธานกรรมการบริหารและผู้จัดการใหญ่ ตามวัตรปฏิบัติเอสซีจี ถือเป็นงานมีระบบแบบแผน

พอสมควร จากการนำเสนอข้อมูลและได้รับการรับรองจากที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท จากนั้นตามมาด้วยงานแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน งานพบปะนักลงทุน (Analyst Conference Presentation Q2/2017) รวมทั้งนำเสนอเอกสารต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ทั้งนี้ขอนำบทสรุปอย่างย่อ ๆ โดยตัดตอน และอ้างอิงคำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ ผลการดำเนินงานไตรมาสที่ 2 ปี 2560 และช่วงครึ่งปี แรกของปี 2560 (ก่อนสอบทาน) ซึ่งนำเสนอตลาดหลักทรัพย์ฯ (26 กรกฎาคม 2560) โดยเทียบเคียงกับข้อมูลนำเสนอล่าสุดในงานโรดโชว์ในประเทศ (SCG ASEAN Sustainable Business Leader Local NDR Jul 31, 2017) บางส่วนโดยเฉพาะกราฟแสดงดัชนี

เชื่อมโยงกับผลประกอบการสำคัญ ๆ ในช่วง 16 ปี กำไร “ในไตรมาสที่ 2 ปี 2560 เอสซีจีมีกำไรสำหรับงวดเท่ากับ 13,252 ล้านบาทลดลง 17% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามผลการดำเนินงานที่ลดลงของธุรกิจเคมีภัณฑ์และตลาดซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้างภายในประเทศชะลอตัว…เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน กำไร

สำหรับงวดลดลง 24% ซึ่งเป็นผลมาจากขาดทุนจากการปรับมูลค่าสินค้าคงเหลือ และส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วมของธุรกิจเคมีภัณฑ์ลดลง” ตอนหนึ่งของเอกสารอ้างถึงผลประกอบการเฉพาะไตรมาสสอง (เมษายน-มิถุนายน) โดยตั้งใจเปิดฉากการนำเสนอที่ผลกำไรเป็นสำคัญ ทั้งนี้สะท้อนแนวโน้มที่แตกต่างจากไตรมาสแรก (มกราคม-มีนาคม)

“ผลการดำเนินงานครึ่งปีแรกของปี 2560 เอสซีจีมีกำไรสาหรับงวด 30,638 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 4% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สาเหตุหลักจากธุรกิจเคมีภัณฑ์ ขณะที่รายได้จากการขายเท่ากับ 225,093ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากราคาขายของสินค้าเคมีภัณฑ์ปรับตัวสูงขึ้นทั้งนี้ผลการดำเนินงานครึ่งปีแรกที่เพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากผลการดำเนินงานที่ดีในไตรมาสแรกของปี 2560

ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2560 เอสซีจีมีส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วม เท่ากับ 9,952 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,269 ล้านบาท หรือ 15% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนมาจากบริษัทร่วมในธุรกิจเคมีภัณฑ์ 8,115 ล้านบาทหรือคิดเป็น 82% ของทั้งหมด เพิ่มขึ้น 1,264 ล้านบาท หรือ 18% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วมจากธุรกิจอื่นเท่ากับ 1,837 ล้านบาท ใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งอยู่ที่ 1,832 ล้านบาท” อีกตอนให้ข้อมูลกว้างขึ้น ซึ่งรวมทั้งสองไตรมาสเข้าด้วยกัน ดูไปแล้วผลกำไรยังอยู่ในระดับที่ดีทีเดียว

ที่น่าสนใจ ยุค รุ่งโรจน์ รังสิโยภาส (ดำรงตำแหน่ง ซีอีโอและผู้จัดการใหญ่ตั้งแต่มกราคมปี 2558) เอสซีจี แสดงผลประกอบการมีกำไรสูงสุดเป็นประวัติการณ์เมื่อเปรียบกับช่วง 16 ปีที่ผ่านมา (2544-2559) เงินปันผลผลกำไรย่อมสัมพันธ์กับเงินปันผลอย่าง มิพักสงสัย “คณะกรรมการบริษัทอนุมัติจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลจากผลการดำเนินงานครึ่งปีแรกของปี 2560 ในอัตรา 8.5 บาทต่อหุ้น เป็นเงินทั้งสิ้น 10,200 ล้านบาท

โดยกำหนดจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลในวันที่ 24 สิงหาคม 2560 กำหนดวันที่ XD ในวันที่ 7 สิงหาคม 2560 กำหนดรายชื่อผู้มีสิทธิรับเงินปันผล (Record Date) วันที่ 9 สิงหาคม 2560 และปิดสมุดทะเบียนรวบรวมรายชื่อเพื่อสิทธิรับเงินปันผลวันที่10 สิงหาคม 2560″ เอกสารข้างต้นให้รายละเอียดสำคัญที่ควรมีไว้

เมื่อย้อนพิจารณาข้อมูลการจ่ายเงินปันผลพบว่า ในช่วงปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะปี 2558 และปี 2559 เอสซีจีได้มีการจ่ายเงินปันผลในอัตราสูงเป็นประวัติการณ์ (ข้อมูลบางส่วนปรากฏในตาราง)

หากลองคำนวณดู จะพบว่าในช่วงเวลาดังกล่าว (รวมผลประกอบการ 2 ปีครึ่ง) เอสซีจีมีการจ่ายเงินปันผลไปแล้วถึง 43 บาท/หุ้น หรือกว่า 50,000 ล้านบาท เฉพาะครึ่งปีนี้มีแผนจะจ่ายเงินปันผลทั้งสิ้น 10,200 ล้านบาท เพื่อให้ภาพที่มีสีสันและชัดขึ้น ขอพิจารณาเฉพาะ

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุด (อ้างอิงโครงสร้างผู้ถือหุ้น ตามรายงานปรากฏในข้อสนเทศ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ณ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2560) ซึ่งเป็นทราบกันดี คือ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ปรากฏข้อมูลถือหุ้นทั้งสิ้น 369,070,600 หุ้น ซึ่งมีสัดส่วน 30.76% ทั้งนี้อาจรวมกับ บริษัท ทุนลดาวัลย์ จำกัด (ซึ่งเป็นกิจการก่อตั้งโดยสำนักงานทรัพย์สินฯ) ถืออยู่ด้วย จำนวน 18,095,900 หุ้น ซึ่งเท่ากับ 1.51%

หากสรุปความอย่างคร่าว ๆ อาจเป็นว่า เอสซีจีในยุครุ่งโรจน์ รังสิโยภาส ได้จ่ายเงินปันผลให้สำนักงานทรัพย์สินฯในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ในช่วงเวลา 2 ปีครึ่ง มากกว่า 15,000 ล้านบาท ขณะที่บริษัททุนลดาวัลย์ ซึ่งเป็นกิจการลงทุนเพื่อแสวงหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ ได้รับเงินปันผลเฉพาะจากเอสซีจีในช่วงเวลาเดียวกันแล้วเกือบ ๆ 800 ล้านบาท

 

รายได้ข้อมูลการเงินในภาพกว้างที่เกี่ยวกับยอดขายหรือรายได้ ขอตัดตอนแยกมาต่างหาก เฉพาะไตรมาสที่สองเอสซีจี มีคำอธิบายเกี่ยวกับรายได้ไว้อย่างน่าสนใจ

“ขณะที่มีรายได้จากการขายเท่ากับ 108,825 ล้านบาท ใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันของปีก่อน …(แต่) รายได้จากการขายลดลง 6% จากไตรมาสก่อน จากราคาขายผลิตภัณฑ์ของธุรกิจเคมีภัณฑ์ลดลง ประกอบกับตลาดซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้างภายในประเทศลดลงจากไตรมาสก่อนผลจากปัจจัยตามฤดูกาล”

อย่างไรก็ตามเมื่อในภาพกว้างขึ้น จากผลประกอบการครึ่งปี “รายได้จากการขายเท่ากับ 225,093 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากราคาขายของสินค้าเคมีภัณฑ์ปรับตัวสูงขึ้นทั้งนี้ผลการดำเนินงานครึ่งปี แรกที่เพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากผลการดำเนินงานที่ดีในไตรมาสแรกของปี 2560”

เมื่อพิจารณาในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ในภาพรวมรายได้เอสซีจี เชื่อว่าผลประกอบการทั้งปีคงอยู่ในระดับเดิม เมื่อเทียบเคียงกับข้อมูล 16 ปี (โปรดพิจารณากราฟประกอบอีกครั้ง) ได้สะท้อนความแข็งแกร่งทางการเงิน อย่างมั่นคงต่อเนื่อง ท่ามกลางสถานการณ์ผันแปร แม้ดูแนวโน้มรายได้ในช่วง 2 ปีมานี้ ลดระดับลงอย่างพึงสังเกตบ้าง