
ได้บทสรุปสำหรับร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) 2 ฉบับสำคัญ
คือ ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎร กับร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการได้มาซึ่งวุฒิสภา
- กรมอุตุฯอัพเดต เส้นทางพายุไต้ฝุ่น “มาวาร์” เตือนฝนตกหนัก 27-30 พ.ค.
- กกต. รายงานผลเลือกตั้ง ส.ส. 2566 รวม 500 คน อย่างเป็นทางการแล้ว
- ป.ป.ช.เปิดบัญชีทรัพย์สิน หมอชลน่าน ศรีแก้ว พ้น ส.ส. รวย 560 ล้านบาท
ทั้งสองฉบับตกแต่งในชั้นคณะกรรมาธิการร่วม 3 ฝ่าย 11 คน อันประกอบไปด้วย 5 คนจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) 5 คนจาก คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) และ 1 คนจากกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)
ประนีประนอม-ไกล่เกลี่ยข้อที่เห็นต่างท่ามกลางกระแสข่าวสะพัดว่า หาก 3 ฝ่ายยอมกันไม่ได้จะเกิดคิวคว่ำกฎหมายลูกเกิดขึ้น ต่ออายุคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ไปอีก 6 เดือน
แต่แล้ว พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช.พูด 2 สัปดาห์ติดว่า จะไม่ให้มีการ “คว่ำ” กฎหมายลูกแน่นอน
“เรื่องการพิจารณากฎหมายลูกไม่ควรจะล้ม ต้องหาทางกันให้ได้”
พร้อมโยงไปถึงการปลดล็อกพรรคการเมืองทำกิจกรรม และการเลือกตั้ง ก.พ. 2562
พลันที่สัญญาณถูกส่งไปถึงอาคารรัฐสภา
สนช.บางรายถึงขั้นเปรยว่า นายกฯสั่งขนาดนี้กฎหมายลูกคงไม่คว่ำแล้ว
ดังนั้น บทสรุปกฎหมายลูกในชั้น กมธ.ร่วม 3 ฝ่าย จึงออกมาในรูปแบบ ประนีประนอม-สมยอม
โดย พ.ร.ป.ส.ส.ได้ข้อสรุปว่า
1.ตัดสิทธิผู้ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ห้ามเป็นข้าราชการการเมือง ผู้บริหารท้องถิ่น รอง-ผู้ช่วย ผู้บริหารท้องถิ่น
2.ตัดทิ้งการให้จัดมหรสพ
3.เวลาเลือกตั้ง 07.00-17.00 น. เป็นปัญหากับผู้ปฏิบัติงาน สนช.ปรับแก้เป็น 08.00-17.00 น.
4.การลงคะแนน แทนผู้พิการทางสายตา ให้เจ้าหน้าที่หน่วยเลือกตั้งสามารถช่วย “กาบัตร” แทนได้
5.ค่าใช้จ่ายของผู้สมัครในการเลือกตั้ง กมธ.ร่วม 3 ฝ่าย ให้ กกต.กำหนดลิมิต พรรคขนาด S-M-L-XL โดยดูจากจำนวนของผู้สมัคร แล้วไปคำนวณว่าพรรคแต่ละขนาดควรมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ เพื่อให้เท่าเทียมกันในแต่ละขนาด เช่น พรรค ก.มีผู้สมัคร 250 คน เป็นพรรคขนาดใหญ่ สามารถมีค่าใช้จ่ายรวมไม่เกิน 50 ล้านบาท เป็นต้น
6.ยืนยันหมายเลขผู้สมัครต่างเขต ต่างเบอร์
ส่วนข้อเห็นแย้ง พ.ร.ป.ส.ว.ที่ตอนแรกทำท่าว่าจะตกลงกันลำบากคือ 1.การลดกลุ่มอาชีพ เหลือ 10 กลุ่ม 2.การแยกประเภทผู้สมัครอิสระ กับองค์กรนิติบุคคล 3.วิธีการเลือกจากเลือกไขว้ให้มาเป็นเลือกในกลุ่มเดียวกัน
แต่ร่าง พ.ร.ป.ส.ว.ได้ข้อสรุปว่า เป็น 2 ส่วน 1.ใน “บททั่วไป” ให้กลับไปใช้ร่างเดิมที่ กรธ.เขียนขึ้นทั้งหมด คือ ให้มีการแบ่งกลุ่ม ส.ว.เป็น 20 กลุ่ม ให้ผู้สมัคร ส.ว.สมัครโดยอิสระ และให้ผู้สมัคร ส.ว.คัดเลือกกันเองแบบเลือกไขว้ระหว่างกลุ่มในระดับอำเภอ จังหวัด ประเทศ
2.ใน “บทเฉพาะกาล” เอาสิ่งที่ สนช.ต้องการไปใส่ไว้ในบทเฉพาะกาลแทน คือ ลดกลุ่ม ส.ว.เหลือ 10 กลุ่ม แบ่งประเภท ส.ว.เป็น 2 ประเภท สมัครอิสระ กับได้รับการเสนอชื่อจากองค์กรนิติบุคคล และให้ผู้สมัคร ส.ว.เลือกตรงในกลุ่มเดียวกัน ขีดเส้นใช้ได้เฉพาะ 5 ปี เพื่อให้สอดคล้องกับหน้าที่ ส.ว.ยุคเปลี่ยนผ่าน
อย่างไรก็ตาม แม้บรรยากาศใน กมธ.3 ฝ่าย จะดูราบรื่น แต่เบื้องหลังการหารือที่นับกันด้วยการ “ยกมือโหวต” มีบางปมที่เฉือนกันแบบเฉียดฉิว
ตัวอย่างเช่น กมธ.3 ฝ่ายที่พิจารณาร่าง พ.ร.ป.ส.ว. มีเสียงข้างมาก 6 ต่อ 5 เสียง เห็นว่า ให้ “บททั่วไป” กลับไปใช้ร่างเดิมของ กรธ. ซึ่งมีรายงานว่าเสียงข้างน้อยเป็นเสียงของฝ่าย สนช. เพราะมี สนช.บางรายยกมือให้ฝ่าย กรธ.
ขณะที่ร่าง พ.ร.ป.ส.ส.ที่ดูเหมือนตกลงกันได้หมดทุกประเด็น แต่ประเด็นที่ “มีชัย ฤชุพันธุ์” ประธาน กรธ.เคยโต้แย้งไว้ล่วงหน้า คือการให้เจ้าหน้าที่ในหน่วยเลือกตั้งไปช่วยคนพิการกาบัตรแทนได้ ถือว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ ทำให้การลงคะแนนไม่เป็นไปโดยลับ
แม้ สนช.อ้างว่า เป็น “ข้อยกเว้น” เหมือนที่เคยยกเว้นในการลงประชามติรัฐธรรมนูญ 19 สิงหาคม 2559 แต่เมื่อถึงคราวเลือกตั้งจริง อาจก่อให้เกิดปัญหาขึ้นได้
ยิ่ง สนช.ได้แสดงบท “ตรายาง” คว่ำ 7 ว่าที่ กกต.แบบเอกฉันท์ เมื่อ 22 ก.พ.ที่ผ่านมา แบบไม่มีเค้าลางมาก่อน เพราะได้รับสัญญาณมาในนาทีสุดท้าย
จึงไม่แน่ว่า คำยืนยันจากผู้มีอำนาจจะเป็นสัญญาณสุดท้ายหรือไม่
จนกว่าจะถึงเวลาโหวต 8 มีนาคม