เปิดผลโพล ประชาชนพอใจหรือไม่ ผลงาน 6 เดือน รัฐบาลแพทองธาร

แพทองธาร ชินวัตร
ภาพจาก thaigov.go.th

เปิดผลสำรวจความเห็นประชาชน พึงพอใจหรือไม่กับผลงาน 6 เดือน รัฐบาลแพทองธาร ‘นิด้าโพล’ เผยส่วนใหญ่ไม่พอใจผลงาน ไม่เชื่อมั่นการทำงาน ด้าน ‘จิรายุ’ ที่ปรึกษานายกฯ มองคำถามมีอคติหรือไม่ ชี้ผลงานเริ่มทยอยออกผล

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “6 เดือน รัฐบาลนายกฯ อุ๊งอิ๊ง” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 24-26 กุมภาพันธ์ 2568 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับความพึงพอใจต่อการทำงานของรัฐบาลนายกรัฐมนตรี แพทองธาร ชินวัตร ในรอบ 6 เดือน

จากการสำรวจเมื่อถามถึงความพึงพอใจของประชาชนต่อการทำงานของรัฐบาลภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี แพทองธาร ชินวัตร ในรอบ 6 เดือน พบว่า ร้อยละ 34.58 ระบุว่า ไม่ค่อยพอใจ รองลงมา ร้อยละ 32.60 ระบุว่า ค่อนข้างพอใจ ร้อยละ 20.00 ระบุว่า ไม่พอใจเลย และร้อยละ 12.82 ระบุว่า พอใจมาก

ด้านความพึงพอใจของประชาชนต่อการทำงานของนายกรัฐมนตรี แพทองธาร ชินวัตร ในรอบ 6 เดือน พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 32.60 ระบุว่า ไม่ค่อยพอใจ รองลงมา ร้อยละ 31.76 ระบุว่า ค่อนข้างพอใจ ร้อยละ 22.28 ระบุว่า ไม่พอใจเลย และร้อยละ 13.36 ระบุว่า พอใจมาก

สำหรับความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการทำงานของรัฐบาลนายกรัฐมนตรี แพทองธาร ชินวัตร ในการแก้ไขปัญหาของประเทศ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 36.41 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อมั่น รองลงมา ร้อยละ 26.26 ระบุว่า ไม่เชื่อมั่นเลย ร้อยละ 25.04 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อมั่น และร้อยละ 12.29 ระบุว่า เชื่อมั่นมาก

ADVERTISMENT

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความพึงพอใจของประชาชนต่อการทำงานในแต่ละกระทรวงของรัฐบาลนายกรัฐมนตรี
แพทองธาร ชินวัตร ในรอบ 6 เดือน พบว่า

1. กระทรวงสาธารณสุข ตัวอย่าง ร้อยละ 32.45 ระบุว่า ค่อนข้างพอใจ รองลงมา ร้อยละ 29.16 ระบุว่า
ไม่ค่อยพอใจ ร้อยละ 19.08 ระบุว่า ไม่พอใจเลย ร้อยละ 17.02 ระบุว่า พอใจมาก และร้อยละ 2.29 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล

ADVERTISMENT

2. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ตัวอย่าง ร้อยละ 32.14 ระบุว่า ค่อนข้างพอใจ รองลงมา ร้อยละ 27.25 ระบุว่า ไม่ค่อยพอใจ ร้อยละ 17.02 ระบุว่า ไม่พอใจเลย ร้อยละ 15.04 ระบุว่า พอใจมาก และร้อยละ 8.55 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล

3. กระทรวงพลังงาน ตัวอย่าง ร้อยละ 32.98 ระบุว่า ไม่ค่อยพอใจ รองลงมา ร้อยละ 30.84 ระบุว่า ค่อนข้างพอใจ ร้อยละ 20.31 ระบุว่า ไม่พอใจเลย ร้อยละ 14.11 ระบุว่า พอใจมาก และร้อยละ 1.76 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล

4. กระทรวงการคลัง ตัวอย่าง ร้อยละ 33.82 ระบุว่า ไม่ค่อยพอใจ รองลงมา ร้อยละ 27.79 ระบุว่า ค่อนข้างพอใจ ร้อยละ 22.75 ระบุว่า ไม่พอใจเลย ร้อยละ 13.59 ระบุว่า พอใจมาก และร้อยละ 2.05 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล

5. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ตัวอย่าง ร้อยละ 30.38 ระบุว่า ค่อนข้างพอใจ รองลงมา ร้อยละ 29.47 ระบุว่า ไม่ค่อยพอใจ ร้อยละ 21.14 ระบุว่า ไม่พอใจเลย ร้อยละ 13.44 ระบุว่า พอใจมาก และร้อยละ 5.57 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล

6. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ตัวอย่าง ร้อยละ 32.29 ระบุว่า ค่อนข้างพอใจ รองลงมา ร้อยละ 29.39 ระบุว่า ไม่ค่อยพอใจ ร้อยละ 18.70 ระบุว่า ไม่พอใจเลย ร้อยละ 13.21 ระบุว่า พอใจมาก
และร้อยละ 6.41 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล

7. กระทรวงการต่างประเทศ ตัวอย่าง ร้อยละ 30.84 ระบุว่า ไม่ค่อยพอใจ รองลงมา ร้อยละ 27.48 ระบุว่า
ค่อนข้างพอใจ ร้อยละ 20.46 ระบุว่า ไม่พอใจเลย ร้อยละ 12.98 ระบุว่า พอใจมาก และร้อยละ 8.24 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล

8. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ตัวอย่าง ร้อยละ 29.92 ระบุว่า ไม่ค่อยพอใจ รองลงมา ร้อยละ 28.55 ระบุว่า ค่อนข้างพอใจ ร้อยละ 18.09 ระบุว่า ไม่พอใจเลย ร้อยละ 12.52 ระบุว่า พอใจมาก และร้อยละ 10.92 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล

9. สำนักนายกรัฐมนตรี ตัวอย่าง ร้อยละ 34.35 ระบุว่า ไม่ค่อยพอใจ รองลงมา ร้อยละ 28.70 ระบุว่า ค่อนข้างพอใจ ร้อยละ 22.14 ระบุว่า ไม่พอใจเลย ร้อยละ 12.29 ระบุว่า พอใจมาก และร้อยละ 2.52 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล

10. กระทรวงวัฒนธรรม ตัวอย่าง ร้อยละ 31.53 ระบุว่า ค่อนข้างพอใจ รองลงมา ร้อยละ 29.54 ระบุว่า
ไม่ค่อยพอใจ ร้อยละ 17.94 ระบุว่า ไม่พอใจเลย ร้อยละ 12.29 ระบุว่า พอใจมาก และร้อยละ 8.70 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล

11. กระทรวงศึกษาธิการ ตัวอย่าง ร้อยละ 35.04 ระบุว่า ค่อนข้างพอใจ รองลงมา ร้อยละ 30.08 ระบุว่า
ไม่ค่อยพอใจ ร้อยละ 19.08 ระบุว่า ไม่พอใจเลย ร้อยละ 12.29 ระบุว่า พอใจมาก และร้อยละ 3.51 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล

12. กระทรวงมหาดไทย ตัวอย่าง ร้อยละ 36.03 ระบุว่า ไม่ค่อยพอใจ รองลงมา ร้อยละ 26.26 ระบุว่า ค่อนข้างพอใจ ร้อยละ 24.27 ระบุว่า ไม่พอใจเลย ร้อยละ 11.91 ระบุว่า พอใจมาก และร้อยละ 1.53 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล

13. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตัวอย่าง ร้อยละ 32.82 ระบุว่า ไม่ค่อยพอใจ รองลงมา ร้อยละ 30.00 ระบุว่า
ค่อนข้างพอใจ ร้อยละ 21.99 ระบุว่า ไม่พอใจเลย ร้อยละ 11.91 ระบุว่า พอใจมาก และร้อยละ 3.28 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล

14. กระทรวงอุตสาหกรรม ตัวอย่าง ร้อยละ 30.92 ระบุว่า ค่อนข้างพอใจ รองลงมา ร้อยละ 30.84 ระบุว่า
ไม่ค่อยพอใจ ร้อยละ 18.01 ระบุว่า ไม่พอใจเลย ร้อยละ 11.68 ระบุว่า พอใจมาก และร้อยละ 8.55 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล

15. กระทรวงยุติธรรม ตัวอย่าง ร้อยละ 32.90 ระบุว่า ไม่ค่อยพอใจ รองลงมา ร้อยละ 27.02 ระบุว่า ไม่พอใจเลย ร้อยละ 24.50 ระบุว่า ค่อนข้างพอใจ ร้อยละ 11.53 ระบุว่า พอใจมาก และร้อยละ 4.05 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล

16. กระทรวงคมนาคม ตัวอย่าง ร้อยละ 36.03 ระบุว่า ไม่ค่อยพอใจ รองลงมา ร้อยละ 29.47 ระบุว่า ค่อนข้างพอใจ ร้อยละ 21.37 ระบุว่า ไม่พอใจเลย ร้อยละ 10.92 ระบุว่า พอใจมาก และร้อยละ 2.21 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล

17. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตัวอย่าง ร้อยละ 33.44 ระบุว่า ค่อนข้างพอใจ รองลงมา
ร้อยละ 31.00 ระบุว่า ไม่ค่อยพอใจ ร้อยละ 19.69 ระบุว่า ไม่พอใจเลย ร้อยละ 10.76 ระบุว่า พอใจมาก และร้อยละ 5.11 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล

18. กระทรวงแรงงาน ตัวอย่าง ร้อยละ 35.80 ระบุว่า ไม่ค่อยพอใจ รองลงมา ร้อยละ 25.65 ระบุว่า ค่อนข้างพอใจ ร้อยละ 25.42 ระบุว่า ไม่พอใจเลย ร้อยละ 10.53 ระบุว่า พอใจมาก และร้อยละ 2.60 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล

19. กระทรวงกลาโหม ตัวอย่าง ร้อยละ 36.56 ระบุว่า ไม่ค่อยพอใจ รองลงมา ร้อยละ 28.63 ระบุว่า ค่อนข้างพอใจ ร้อยละ 21.60 ระบุว่า ไม่พอใจเลย ร้อยละ 10.31 ระบุว่า พอใจมาก และร้อยละ 2.90 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล

20. กระทรวงพาณิชย์ ตัวอย่าง ร้อยละ 35.95 ระบุว่า ไม่ค่อยพอใจ รองลงมา ร้อยละ 26.49 ระบุว่า ไม่พอใจเลย ร้อยละ 25.80 ระบุว่า ค่อนข้างพอใจ ร้อยละ 9.39 ระบุว่า พอใจมาก และร้อยละ 2.37 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล

‘จิรายุ’ มองโพล คำถามอคติหรือไม่ ชี้ผลงานทยอยออกผล

นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี กล่าวกรณีผลสำรวจของนิด้าโพล ระบุว่า โพลชิ้นนี้อาจมีคำถามปลายเปิดแบบอคติหรือไม่ ขณะที่รัฐบาลมีการสำรวจความคิดเห็นเป็นประจำทุกเดือน ส่วนใหญ่เห็นว่ารัฐบาลเดินมาถูกทางแล้วทั้งการแก้ไขปัญหาสังคมและเรื่องอื่น โดยเฉพาะเศรษฐกิจที่เห็นตัวเลขเป็นรูปธรรมชัดเจนว่าโตถึง 3.2% ในไตรมาสที่ผ่านมาและคาดว่าไตรมาสที่ 1 ของปีนี้ จะมีการเติบโตมากขึ้นจากนโยบายของรัฐบาล

และเกือบ 6 เดือนที่ผ่านมา รัฐบาล น.ส.แพทองธาร ชินวัตร ทำผลงานเด่น 5 เรื่องที่อยู่ในใจประชาชน คือ

1.การปราบปรามคอลเซ็นเตอร์ โดยการใช้กลไกความร่วมมือระหว่างประเทศไทย-เพื่อนบ้าน ระเบิดสะพานโจร ซีลชายแดนทุกด้าน ตัดเส้นทางข้ามแดนอย่างผิดกฎหมาย ตัดไฟฟ้า-อินเตอร์เน็ต-น้ำมัน ระงับบัญชีม้ากว่าล้านบัญชี ออกกฎหมายจัดการคอลเซ็นเตอร์และไซเบอร์ เจ้าของแอปฯ ธนาคาร เครือข่ายมือถือ ร่วมรับผิดชอบความเสียหายต่อประชาชน

2.เงินหมื่นฟื้นเศรษฐกิจ กระจายตัวลงไปในทุกพื้นที่ สู่กลุ่มเปราะบางในจังหวัดที่มีความยากจนสูง เงินหมุนเวียนเข้าสู่ร้านค้าขนาดเล็กและชุมชน ทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคธุรกิจปรับตัวสูงขึ้น ดำเนินการนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจตามที่นายกรัฐมนตรีได้แถลงต่อรัฐสภา

3.บ้านเพื่อคนไทย รูปธรรมคำสัญญาจากรัฐบาล ว่าจะทำให้คนไทยมีกินมีใช้ มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี โดยใช้พื้นที่ของรัฐที่มีศักยภาพพัฒนาให้เกิดประโยชน์กับประชาชนมากที่สุด ทำให้คนไทยเข้าถึงที่อยู่อาศัย ไม่ต้องมีเงินดาวน์ ผ่อนรายเดืนอไม่สูง ได้บ้านคุณภาพดี

4.การดูแลสุขภาพของประชาชนในรูปแบบ 30 บาทรักษาทุกที่ทำให้บริการมีสุขภาพดี ลดการเดินทางและสร้างให้คนไทยมีอายุยืนมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นนโยบายที่เห็นเป็นรูปธรรม

5.การเป็นตัวแทนของประเทศไทยในการเชิญชวนนักลงทุนระดับโลกเข้ามาลงทุนในประเทศไทยจำนวนมากที่มีมูลค่าหลาย ล้านล้านบาทในช่วงเวลาเพียง5เดือน ทั้งบริษัท Google TikTok NVIDIA และหลากหลายบริษัททั่วโลกทำให้เห็นถึงอนาคตของประเทศไทยในด้านการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เดินมาถูกทางแล้ว

6.การทำ GDP ปี 2567 โตขึ้นทุกไตรมาส ดึงการลงทุนเข้าประเทศสูงสุดในรอบ 10 ปี มูลค่าหลายล้านล้านบาท ทุบสถิติการส่งออกสูงสุดเป็นประวัติการณ์ 10.5 ล้านล้านบาท และทุบสถิติส่งออกสินค้าประมงทำรายได้ 2.4 แสนล้านบาทสูงสุดในรอบ 10 ปี คาดว่าจะส่งผลให้เกิดการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น นำไปสู่การปรับตัวสูงขึ้นของค่าแรงในภาพรวม เมื่อบริษัทต่างชาตินำเงินมาลงทุนในประเทศ จะสร้างประโยชน์ให้กับระบบเศรษฐกิจโดยรวม

การทำงานของรัฐบาล ในช่วงเกือบ 6 เดือนที่ผ่านมาที่เห็นเป็นรูปธรรมจะเริ่มทยอยออกผล สร้างความมั่นคงมั่งคั่งให้กับประเทศและประชาชนได้ในเร็ววันนี้ และยังมีนโยบายที่เป็นผลสำเร็จอย่างมีรูปธรรมเช่น การปราบปรามยาเสพติด บุหรี่ไฟฟ้า การเจรจาค้าขายระหว่างประเทศ ลดขั้นตอนให้กับนักลงทุนและเศรษฐกิจให้มาลงทุน

“ตัดไฟ-ตัดเน็ต สกัดแก๊งคอลเซ็นเตอร์” ผลงานเด่นรัฐบาล

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “ดัชนีการเมืองไทย ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2568” กลุ่มตัวอยาง จำนวน 2,179 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 24-28 กุมภาพันธ์ 2568 พบวา กลุมตัวอยางให้คะแนนภาพรวมดัชนีการเมืองไทยประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2568 เฉลี่ย 5.02 คะแนน ลดลงจากเดือนมกราคม 2568 ที่ได้ 5.06 คะแนน

ตัวชี้วัดที่ได้คะแนนสูงสุด คือ ผลงานของฝ่ายค้าน เฉลี่ย 5.42 คะแนน ตัวชี้วัดที่ได้คะแนนต่ำสุด คือ การแก้ปัญหายาเสพติดและผู้มีอิทธิพล เฉลี่ย 4.59 คะแนน นักการเมืองฝ่ายรัฐบาลที่มีบทบาทโดดเด่นประจำเดือน คือ แพทองธาร ชินวัตร รอยละ 46.08 ด้านนักการเมืองฝ่ายค้านที่มีบทบาทโดดเด่นประจำเดือน คือ ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ร้อยละ 48.24 ผลงานฝ่ายรัฐบาลที่ชื่นชอบประจำเดือน คือ ตัดไฟ-ตัดเน็ต แก๊งคอลเซ็นเตอร์ ร้อยละ 43.64 ผลงานฝ่ายค้านที่ชื่นชอบประจำเดือน คือ จี้ตัดไฟข้ามแดน ร้อยละ 45.23

นางสาวพรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล ระบุว่า ผลดัชนีการเมืองเดือนกุมภาพันธ์ที่นาสนใจ คือ ผลงานฝ่ายค้านคะแนนเพิ่มสูงขึ้นจากการตรวจสอบรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง ส่วนคะแนนที่เกี่ยวกับผลงานรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นผลงานนายกฯ ผลงานรัฐบาล การทำตามนโยบายที่หาเสียงไว้ หรือการแก้ปัญหาต่าง ๆ มีคะแนนลดลง แม้ประชาชนจะพอใจผลงานปราบแก๊งคอลเซ็นเตอร์และแจกเงินหมื่น แต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะพยุงคะแนนขึ้นได ดังนั้นรัฐบาลจึงควรเร่งสร้างผลงาน สื่อสารให้มากขึ้นทั้งในสภาและนอกสภา เพื่อสร้างการรับรู้และความเชื่อมั่นให้กับประชาชนในการบริหารประเทศ