‘สมลักษณ์’พลิกคำพิพากษา คดี ‘มาร์ค-เทือก’แนะร้องตั้งผู้ไต่สวนอิสระ ไต่สวนสลายม็อบ 2553

จากกรณีที่ศาลฎีกา มีคำพิพากษา 4288-4289/2560 ลงวันที่ 26 มิถุนายน 2560 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ว่า ศาลอาญาไม่มีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาที่อัยการ โจทก์ และนายสมร ไหมทอง และนางหนูชิต คำกอง โจทก์ร่วม ฟ้องนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี จำเลยที่ 1 และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ผอ.ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน จำเลยที่ 2 ในฐานความผิดฆ่าผู้อื่นและพยายามฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 80, 83, 84 และ 288 ระหว่างการสลายผู้ชุมนุม นปช. เมื่อเดือน เม.ย.-พ.ค. 2553 ในคำพิพากษา ระบุด้วยว่า โจทก์ฎีกาด้วยว่า หากศาลอาญาไม่มีอำนาจรับพิจารณาคดีนี้ และยังไม่ได้สืบพยานเพื่อให้รู้ข้อเท็จจริง เท่ากับว่าคดีฆาตกรรมที่โจทก์และโจทก์ร่วมทั้งสองฟ้องนั้น ไม่สามารถเข้าสู่การพิจารณาในศาลใดๆ ได้อีก โดยศาลระบุว่า คดีดังกล่าวอยู่ในเขตอำนาจของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการ เมือง และมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับคดีอยู่หลายฉบับ

ตอนหนึ่งของคำ พิพากษาระบุว่า ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีอำนาจรับพิจารณาพิพากษาคดีอาญา สำหรับการกระทำอันเป็นกรรมเดียวแต่ผิดกฎหมายหลายบท และบทใดบทหนึ่ง อยู่ในอำนาจของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยให้รับพิจารณาพิพากษาข้อหาความผิดบทอื่น ตามที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสอง ในข้อหาฐานเป็นผู้ก่อ หรือใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดข้อหาฆ่าคน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288, 80, 83 และ 84 ไว้ด้วย ตามรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 250 (2) และ 275 วรรคหนึ่ง ซึ่งใช้บังคับขณะเกิดเหตุ และมี พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 19 (2) 66 วรรคหนึ่ง และ 70 กับ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการ เมือง 2542 มาตรา 9 (1) 10, 11 และ 24 ซึ่งใช้บังคับขณะเกิดเหตุ และประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 24/2557 กำหนดให้มีผลบังคับใช้ต่อไป

น.ส.สมลักษณ์ จัดกระบวนพล อดีตกรรมการ ป.ป.ช. และอดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา กล่าวว่า จากคำพิพากษาดังกล่าว ศาลฎีกาได้แสดงเหตุผลให้ผู้เสียหายในคดีสลายการชุมนุมปี 2553 ดำเนินการใหม่ให้ถูกศาล ซึ่งก็คือ ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง คำวินิจฉัยของศาลฎีกา เป็นเรื่องข้อกฎหมายว่ามาผิดศาล แต่ไม่ได้ปิดทางว่าจะฟ้องคดีไม่ได้อีก เพราะขณะนี้ยังไม่ได้มีการวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าการกระทำในคดีดังกล่าวผิด หรือไม่ผิด แต่ต้องไปวินิจฉัยที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

น.ส.สม ลักษณ์กล่าวว่า มาตรา 24 พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง 2542 กำหนดให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง รับคดีอันเป็นการกระทำกรรมเดียวแต่มีความผิดต่อกฎหมายหลายบท และบทใดบทหนึ่งอยู่ในอำนาจศาลมาพิจารณา ผู้เสียหาย จึงสามารถร้องต่อที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกา เพื่อตั้งผู้ไต่สวนอิสระได้เลย ตามมาตรา 275 ในรัฐธรรมนูญ 2550 เพราะ ป.ป.ช.เคยให้เรื่องนี้ตกไป ซึ่ง พ.ร.บ.ป.ป.ช. มาตรา 86 กำหนดว่า หากจะยื่นร้องใหม่ ต้องมีหลักฐานใหม่ เมื่อที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาได้รับเรื่องจากผู้เสียหาย อาจส่งให้ ป.ป.ช.ดำเนินการไต่สวนคำร้อง หรือตั้งผู้ไต่สวนอิสระดำเนินการก็ได้

ชี้ผิดม.157ยื่นวุฒิสภาถอดถอนได้

“หาก การไต่สวนของผู้ไต่สวนอิสระ หรือ ป.ป.ช. พบว่ามีความผิดเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 157 ประมวลกฎหมายอาญา ก็ส่งเรื่องให้วุฒิสภาถอดถอนได้ตามรัฐธรรมนูญ 2550 ที่บังคับใช้ระหว่างเกิดเหตุ แม้รัฐธรรมนูญ 2560 จะยกเลิกไปแล้วก็ตาม หากเห็นว่าเป็นเรื่องฆ่า พยายามฆ่า ให้ส่งอัยการสูงสุดเพื่อฟ้องศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการ เมือง” น.ส.สมลักษณ์กล่าว และว่า การดำเนินการตามแนวทางนี้ จะแก้ความคลุมเครือจากเหตุการณ์ปี 2553 เป็นผลดีต่อจำเลย หากศาลชี้ว่าไม่ผิดก็จะสง่างามและขาวสะอาด ส่วนญาติผู้เสียหายและผู้เสียหายจะได้รับการเยียวยาจากกระบวนการนี้

เมื่อ ถามว่า ทางผู้เสียหายจะดำเนินการยื่นต่อ ป.ป.ช.ซ้ำอีก น.ส.สมลักษณ์กล่าวว่า ป.ป.ช.เคยให้เรื่องนี้ตกไป หากจะรื้อฟื้นต้องมีหลักฐานใหม่ ทางผู้เสียหายสามารถดำเนินการโดยยื่นขอให้ตั้งผู้ไต่สวนอิสระต่อที่ประชุม ใหญ่ศาลฎีกาตามมาตรา 275

ตั้งคณะไต่สวนอิสระสอบต่อ

ทั้งนี้ มาตรา 276 รัฐธรรมนูญ 2550 บัญญัติไว้ว่า ในกรณีที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาเห็นควรดำเนินการตามคำร้องที่ยื่นตามมาตรา 275 วรรคสี่ ให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาพิจารณาแต่งตั้งผู้ไต่สวนอิสระ จากผู้ซึ่งมีความเป็นกลางทางการเมืองและมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ ประจักษ์ หรือจะส่งเรื่องให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ดำเนินการไต่สวนตามมาตรา 250 (2) แทนการแต่งตั้งผู้ไต่สวนอิสระก็ได้ คุณสมบัติ อำนาจหน้าที่ วิธีการไต่สวน และการดำเนินการอื่นที่จำเป็นของผู้ไต่สวนอิสระให้เป็นไปตามที่กฎหมาย บัญญัติ เมื่อผู้ไต่สวนอิสระได้ดำเนินการไต่สวนหาข้อเท็จจริงและสรุปสำนวนพร้อม ทำความเห็นแล้ว ถ้าเห็นว่าข้อกล่าวหามีมูลให้ส่งรายงานและเอกสารที่มีอยู่พร้อมทั้งส่งความ เห็นไปยังประธานวุฒิสภา เพื่อดำเนินการตามมาตรา 273 และส่งสำนวนและความเห็นไปยังอัยการสูงสุด เพื่อยื่นฟ้องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองต่อไป และให้นำบทบัญญัติมาตรา 272 วรรคห้า มาใช้บังคับโดยอนุโลม

 

ที่มา มติชนออนไลน์