ลองของ-หมิ่นศาลรัฐธรรมนูญ วิพากษ์ยุบพรรคโทษจำคุก

ศาลรัฐธรรมนูญถูกถูลู่ถูกัง คลุกฝุ่นกับการเมืองข้างถนนบนเส้นทางความขัดแย้งการเมืองตั้งแต่ปี 2550 ไม่ว่าการเมืองเปลี่ยนขั้ว-ข้างไหน แต่มักตกเป็นเป้าหมายถูกโจมตีลำดับต้น ๆ เสมอ

ในช่วงที่สภาผู้ทนราษฎรมาจากการเลือกตั้ง ศาลรัฐธรรมนูญ-นักการเมืองยื้อยุดฉุดกระชากการเขียนกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะประเด็น “หมิ่นศาล” แต่ไม่เคยได้ผ่านสภาผู้แทนราษฎร

กระทั่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นำกำลังเข้าควบคุมอำนาจการบริหารประเทศ เมื่อ 22 พ.ค. 2557 แล้วเขียนกติการัฐธรรมนูญ-กฎหมายลูกขึ้นใหม่ บทบัญญัติเรื่อง “ห้ามหมิ่น” จึงถูกบรรจุอยู่ใน พ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ 2560 โทษของการ “หมิ่นศาลรัฐธรรมนูญ” มีโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปี ถึง 7 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000 บาท ถึง 140,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

บุคคลที่ถูก ตามที่เป็นข่าวว่ามีการ เช่น “ปิยบุตร แสงกนกกุล” เลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ ที่อ่านแถลงการณ์ของพรรคอนาคตใหม่ ต่อการยุบพรรคไทยรักษาชาติ ถูก พ.อ.บุรินทร์ ทองประไพ ฝ่ายกฎหมาย คสช. เข้าแจ้งความฐานหมิ่นศาลรัฐธรรมนูญ

ขณะที่การวิพากษ์วิจารณ์กรณีการพิจารณาคดี ส.ส.ถือหุ้นสื่อ ของศาลรัฐธรรมนูญ ก็ถูกนำมาขยายต่อในสังคม กระทั่งมีการใช้ข้อหา “หมิ่นศาลรัฐธรรมนูญ” เอาผิดกันเกิดขึ้น

อีกทั้งล่าสุดศาลรัฐธรรมนูญ 25 ก.ค.ที่ผ่านมา สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญได้เผยแพร่เอกสารข่าวชี้แจงเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของศาล รธน. รวมถึงกรณีการวิพากษ์วิจารณ์ การพิจารณาวินิจฉัยคดีของศาล ที่อาจเข้าข่ายละเมิดอำนาจศาล ไม่ว่าในโลกจริง หรือโลกโซเชียลก็ไม่มีข้อยกเว้น

“เมื่อ พ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญปีཹ ได้มีผลใช้บังคับแล้วตั้งแต่วันที่ 3 มี.ค. 61 การวิพากษ์วิจารณ์คำสั่ง คำวินิจฉัย หรือการทำหน้าที่ของศาล จะต้องอยู่ภายใต้ขอบเขต หรือบทบัญญัติของ พ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญปีཹ มาตรา 38 วรรคสาม โดยการวิจารณ์คำสั่ง หรือคำวินิจฉัยคดีนั้น จะต้องกระทำโดยสุจริต และมิได้ใช้ถ้อยคำ หรือมีความหมายหยาบคาย เสียดสี หรืออาฆาตมาดร้ายซึ่งครอบคลุมถึงการใช้สื่อและสังคมออนไลน์”

“อุดม รัฐอมฤต” อดีตกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ เห็นว่า กรณี “ห้ามหมิ่นศาล” เป็นการป้องกันการวิจารณ์ศาลรัฐธรรมนูญโดยไม่สุจริต ให้ครอบคลุมการใช้สื่อและสังคมออนไลน์ การปลุกระดมมวลชนที่มาล้อมกดดันศาล

บุคคลที่ “ลองของ” ไม่ว่าในโลกนอกจอ หรือโลกในโซเชียลมีเดีย “หมิ่นศาล” อาจถูกดำเนินคดี