ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติรับคำร้องทั้งของฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาล กรณีเสียบบัตรแทนกันระหว่างโหวตร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 ศาลเรียกให้ผู้เกี่ยวข้องยื่นคำชี้แจง 4 ราย ภายในวันที่ 4 ก.พ. ประกอบด้วย
นายสรศักดิ์ เพียรเวช เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร นายฉลอง เทอดวีระพงศ์ ส.ส.พัทลุง พรรคภูมิใจไทย น.ส.ภริม พูลเจริญ ส.ส.สมุทรปราการ พรรคพลังประชารัฐ และนายสมบูรณ์ ซารัมย์ ส.ส.บุรีรัมย์ พรรคภูมิใจไทย ดังนั้น งบประมาณปี”63 ยังแขวนอยู่บนเส้นด้าย ยังไม่รู้ลูกผี-ลูกคน โดยเฉพาะมาตราในร่าง พ.ร.บ.งบประมาณที่เป็นปัญหา เพราะเกิดจาก “ฉลอง” ลงพื้นที่งานวันเด็ก แต่กลับมีชื่อว่าเป็นผู้ลงมติ ทั้ง 25 มาตรา กลายเป็นมาตรามีปัญหา ส่อแววอาจแท้งไปทั้ง 25 มาตรา หรือโยนให้สภากลับมาโหวตใหม่…ทำให้ถูกต้อง อาจลามไปถึงการแท้งทั้งฉบับ
เปิดไส้ในทั้ง 25 มาตรา เริ่มจากมาตรา 31 งบประมาณของหน่วยงานของศาล ทั้งศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ จำนวน 6,229,204,200 บาท มาตรา 32 เป็นของหน่วยงานขององค์กรอิสระและองค์กรอัยการ 4,125,548,900 บาท มาตรา 33 เป็นงบฯขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 76 แห่ง ซึ่งตั้งเป็นงบฯไว้ 55,037,059,300 บาท มาตรา 34 เป็นงบประมาณของหน่วยงานอื่นของรัฐ เช่น สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า 318,261,200 บาท
มาตรา 35 เป็นงบประมาณรายจ่ายของสภากาชาดไทย 10,619,162,900 บาท มาตรา 36 งบประมาณรายจ่ายของส่วนราชการในพระองค์ 7,685,282,800 บาท
มาตรา 37 เป็นงบฯสำหรับแผนงานบูรณาการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ 10,865,463,300 บาท อาทิ สำนักนายกรัฐมนตรีและหน่วยงานในกำกับ 5 หน่วยงาน กระทรวงกลาโหม 4 หน่วยงาน กระทรวงการ
ต่างประเทศ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และหน่วยงานในกำกับ 2 หน่วยงานกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 2 หน่วยงาน กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 5 หน่วยงาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 8 หน่วยงาน ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ มาตรา 38 งบฯสำหรับแผนงาน บูรณาการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ตั้งเป็น 17,009,098,000 บาท แบ่งให้กับสำนักนายกรัฐมนตรีและหน่วยงานในกำกับ กระทรวงกลาโหม กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม กระทรวงคมนาคม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน กระทรวงศึกษาธิการ การประปาส่วนภูมิภาค การรถไฟแห่งประเทศไทย สถาบันการบินพลเรือน
มาตรา 39 เป็นงบฯสำหรับแผนงานบูรณาการจัดการมลพิษและสิ่งแวดล้อม 416,530,100 บาท แบ่งให้กับ 5 หน่วยงานประกอบด้วย กรมประชาสัมพันธ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม
มาตรา 40 งบประมาณรายจ่ายสำหรับแผนงานบูรณาการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ตั้งเป็น 957,087,900 บาท มาตรา 41 งบประมาณรายจ่ายสำหรับแผนงานบูรณาการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสังคมสูงวัย 875,163,000 บาท
มาตรา 42 งบประมาณรายจ่ายสำหรับแผนงานบูรณาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 59,431,072,500 บาท ให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) กรมชลประทาน กรมปศุสัตว์ กรมฝนหลวงและการบิน กรมพัฒนาที่ดิน กรมเจ้าท่า กรมอุตุนิยมวิทยา เป็นต้น
มาตรา 43 งบประมาณรายจ่ายสำหรับแผนงานบูรณาการป้องกัน ปราบปราม และบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด 5,319,091,200 บาท แบ่งเป็น งบฯของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร กระทรวงกลาโหม
มาตรา 44 งบประมาณรายจ่ายสำหรับแผนงานบูรณาการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ ตั้งงบฯไว้ 1,305,251,400 บาท
มาตรา 45 งบประมาณรายจ่ายสำหรับแผนงานบูรณาการพัฒนาด้านคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ ตั้งไว้ 95,374,976,900 บาท จำแนกให้หลายหน่วยงาน อาทิ กระทรวงคมนาคม และหน่วยงานในกำกับกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ของกระทรวงพาณิชย์
มาตรา 46 งบประมาณรายจ่ายสำหรับแผนงานบูรณาการพัฒนา
ผู้ประกอบการ และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสู่สากล ตั้งงบฯไว้ทั้งสิ้น 1,886,910,300 บาท จำแนกให้กับ
หน่วยงาน อาทิ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน)
มาตรา 47 งบประมาณรายจ่ายสำหรับแผนงานบูรณาการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ (อีอีซี) 6,954,577,800 บาท มาตรา 48 งบประมาณรายจ่ายสำหรับแผนงานบูรณาการพัฒนาพื้นที่ระดับภาค เป็นจำนวน 20,811,202,700 บาท แบ่งให้กับ 11 หน่วยงานรัฐ อาทิ การประปาส่วนภูมิภาค สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงแรงงาน กระทรวงมหาดไทย
มาตรา 49 งบประมาณรายจ่ายสำหรับแผนงานบูรณาการพัฒนาและส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ให้ตั้งเป็นงบประมาณรายจ่ายของหน่วยรับงบประมาณ 3,185,556,700 บาท
มาตรา 50 งบประมาณรายจ่ายสำหรับแผนงานบูรณาการพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต รับงบประมาณ 1,313,539,900 บาท
มาตรา 51 งบประมาณรายจ่ายสำหรับแผนงานบูรณาการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว ให้ตั้งเป็น 7,371,447,000 บาท แบ่งให้กับหน่วยงานในกำกับของสำนักนายกรัฐมนตรี เช่น สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ
มาตรา 52 งบประมาณรายจ่ายสำหรับแผนงานบุคลากรภาครัฐ รับงบประมาณ จำนวน 777,267,620,100 บาท
มาตรา 53 งบประมาณรายจ่ายสำหรับทุนหมุนเวียน รับงบประมาณ เป็นจำนวน 202,268,635,400 บาท ซึ่งเป็นกองทุนในหน่วยงานราชการ เช่น กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กองทุนสำหรับกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มาตรา 54 งบประมาณรายจ่ายสำหรับแผนงานบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ ให้ตั้งเป็นจำนวน 272,127,134,200 บาท เป็นงบฯในส่วนสำนักบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง และหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ เช่น การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
มาตรา 55 งบรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง 62,709,465,800 บาท คือ แผนงานรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลังจะเห็นได้ว่าทั้ง 25 มาตรา เกี่ยวข้องกับงบประมาณบูรณาการทั้งด้านเศรษฐกิจสำคัญๆ อย่างอีอีซีเงินสำหรับกองทุนหมุนเวียนเพื่อช่วยเหลือ SMEs ปัญหาความมั่นคงในพื้นที่ชายแดนใต้ กระทบแผนงานป้องกัน ปราบปราม และบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด