หยุดสงกรานต์ อาจฝ่าฝืนมติ ครม. ขัดพรบ.โรคติดต่อ เสี่ยงรับโทษ 1 ปี ปรับ 1 แสน

ตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2563 ที่ระบุมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส 2019 หรือโควด-19 โดยมีมาตรการ ด้านการป้องกัน เพื่อ “ลดโอกาสการแพร่ระบาดของโรคในสถานที่ต่างๆ ที่มีความเสี่ยงสูง”

1 ในมาตรการป้องกัน และลดความแออัดในการเดินทาง เพื่อลดโอกาสการแพร่ระบาดของโรค คือ “งดวันหยุดสงกรานต์ วันที่ 13-15 เมษายน 2563 โดยให้เลื่อนออกไปก่อน” เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด โดยจะชดเชยให้ในวันเวลา ที่เหมาะสม

มติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว มีสถานะเป็นกฏหมาย ให้หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรของรัฐ ทุกแห่งต้องดำเนินการตามมาตรการดังกล่าว โดยบังคับใช้ควบคู่กับ พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558

ทั้งนี้ หากฝ่าฝืนพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 มาตรา 52 ที่ระบุว่าผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานควบคุม โรคติดต่อตามมาตรา 34 (3) (4) (7) หรือ (8) หรือมาตรา 40 (3) หรือ (4) หรือผู้ว่าราชการจังหวัดหรือ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ตามมาตรา 35 ที่ระบุว่า

“ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นเร่งด่วนเพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ของโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาด ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดโดยความเห็นชอบของ “คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด” หรือ “ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร” โดยความเห็นชอบ ของคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร”

1.สั่งปิดตลาด สถานที่ประกอบหรือจำหน่ายอาหาร สถานที่ผลิตหรือ จำหน่ายเครื่องดื่ม โรงงาน สถานที่ชุมนุมชน โรงมหรสพ สถานศึกษา หรือสถานที่ อื่นใดไว้เป็นการชั่วคราว

2.สั่งให้ผู้ที่เป็นหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคติดต่ออันตรายหรือ โรคระบาดหยุดการประกอบอาชีพเป็นการชั่วคราว

3.สั่งห้ามผู้ที่เป็นหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคติดต่ออันตรายหรือ โรคระบาดเข้าไปในสถานที่ชุมนุมชน โรงมหรสพ สถานศึกษา หรือสถานที่อื่นใด เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ ทั้งนี้ หากฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ทั้งนี้ นายธีระพงษ์ วงศ์ศิวะวิลาส เลขาธิกานายกรัฐมนตรี ได้ลงนามในหนังสือเวียนถึงส่วนราชการ กระทรวงท กรม ต่างๆ “ด่วนที่สุด” เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2563 เรื่องให้เลื่อนวันหยุดราชการในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ระบุว่า

“ในการประชุมคณะรัฐมนตรี วันที่ 17 มีนาคม 2563 คณะรัฐมนตรีเห็นว่า โดยที่คณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 ได้เสนอให้เลื่อนวันหยุดเทศกาลสงกรานต์ออกไปก่อน เพื่อลดการเดินทาง เคลื่อนย้ายและรวมตัวของประชาชนในพื้นที่ต่างๆ อันจะเป็นการช่วยป้องกันยับยั้งการแพร่ระบาดของโรค”

ในส่วนของรัฐวิสาหกิจ สถาบันการเงิน และภาคเอกชน ให้รัฐวิสาหกิจแต่ละแห่ง ธนาคาแห่งประเทศไทย กระทรวงแรงงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณาดำเนินการให้สอดคล้องกับการเลื่อนวันหยุดดังกว่า และให้เป็นไปตามกฏหมายที่เกี่ยวข้องแต่ละกรณีด้วย