“กลุ่มแคร์” ชงไอเดีย อัดฉีด 2 ล้านล้าน ให้ SMEs ลดดอก-ปลอดต้น 4 ปี

เมื่อวันที่ 28 มิ.ย. กลุ่มแคร์ นำโดย นพ.สุรพงษ์ สืบวงค์ลี แกนนำกลุ่มแคร์ พร้อมด้วย นายศุภวุฒิ สายเชื้อ นายดวงฤทธิ์ บุญนาค สมาชิกกลุ่มแคร์ นำเสนอมาตรการแก้วิกฤตเศรษฐกิจในช่วงโควิด – 19 เพื่อชุบชีวิตเศรษฐกิจไทย อัดฉีด SME 2 ล้านล้าน ลดดอก ปลอดต้น 4 ปี

ทั้งนี้ นพ.สุรพงษ์ กล่าวว่า สถานการณ์อย่างนี้ถ้าเป็นประเทศอื่นประกาศชัยชนะแล้ว แต่แปลกที่ประเทศไทยยังจะประกาศ ต่ออายุ พ.ร.ก.ฉุกเฉินไปอีก 1 เดือน โดยศักยภาพของไทย ถ้ามีตัวเลขโผล่ขึ้นมาบ้างก็เป็นไร เพราะมีเตียง icu อยู่ 4 พันกว่าเตียง เรารับผู้ป่วยใหม่ 100 คนได้สบายๆ ไม่ต้องกังวล โดยทางการแพทย์ยังมีความเห็นแตกต่างกันแล้วเรื่องมาตรการผ่อนคลาย โดย ศบค.บอกว่าอย่าการ์ดตก แต่กระทรวงสาธารณสุขพูดน้ำเสียงไม่เหมือนเดิม บอกว่าสบายใจได้แล้ว และพูดเรื่อง travel bubble ได้แล้ว

“ผมเห็นข้อมูลจากวอร์รูมสาธารณสุขทุกวัน จึงเห็นว่าสบายใจได้แล้ว สมรภูมิจบแล้ว แต่ 150 วันอันตราย อย่างที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน ต.ค.นี้ถ้าไม่ทำอะไรจะเป็นตุลามหาวิกฤต”

ดร.ศุภวุฒิ กล่าวว่า ที่รัฐบาลปิดเศรษฐกิจ เม.ย.มีผลกระทบของโรค ทุกคนยอมรับได้ แต่มาตรการเยียวยาที่ออกมานั้นระยะสั้นเท่านั้น ขณะที่เยียวยาเงิน 5 พันบาท 3 เดือน ก็กลบตัวเลขเศรษฐกิจที่ไม่ดี และรัฐบาลไปช่วยในการปล่อยกู้ Soft loan 5 แสนล้านบาทให้ SMEs ให้แต่ละรายกู้ได้ไม่เกิน 20% ของเงินกู้เดิมซึ่งไม่พอ ดังนั้น สภาพในปัจจุบันมีจำนวนลูกหนี้ที่ขอความช่วยเหลือทั้งหมด 16.367 ล้านราย มูลค่า 6.84 ล้านล้านบาท กว่า 1 ใน 3 ของสินเชื้อทั้งระบบ ในส่วนนี้มีธุรกิจที่ขอผ่อนปรนหนี้มากถึง 1.148 ล้านรายโดยมีมูลหนี้ ทั้งสิ้นประมาณ 2.98 ล้านล้านบาทและมีหนี้บุคคลอีก 15.22 ล้านคน มูลหนี้ 3.87 ล้านล้านบาท

ขณะที่มาตรการ SMEs 5 แสนล้านบาท ที่ช่วยและปล่อยกู้ให้กับภาคธุรกิจจริงๆ ได้แค่ 82,700 หมื่นล้านเท่านั้น ยังติดล็อกเงื่อนไขต่างๆ แสดงว่าเงินไปไม่ถึง วิกฤตครั้งนี้เป็นวิกฤตคนจนและคนทั่วไป ต่างจากวิกฤต 2540 ที่เป็นวิกฤตของคนรวย เพราะวิกฤตโควิดเหมือนแผ่นดินแยกแล้วมีเหว เป็นหน้าที่ของรัฐบาลสร้างสะพานข้ามเหวไปอีกฟากหนึ่ง สะพานที่สร้างถ้าสร้างไม่ครบก็ไม่มีประโยชน์เพราะเดินไปแล้วมันตก ถ้ามีช่องว่างคนตัวเลขก็จะตก แต่คนที่แข็งแรงก็กระโดดข้ามได้ ดังนั้น การสร้างสระพานต้องสร้างครบจริงๆ ใช้เวลานานแค่ไหน จึงเสนอว่ามาตรการช่วยคนมากที่สุดในช่วง 2 ปี แพ็คเกจที่ออกมาต้องช่วยคนส่วนใหญ่ SMEs ก้าวข้ามไปช่วง 2 ปี

ดังนั้น ขอเสนอให้รัฐบาลสนับสนุน “สินเชื่อผ่อนปรนวงเงิน 2 ล้านล้านบาท คิดดอกเบี้ย 2 % ต่อปี ปลอดการช าระเงินต้นเป็ นเวลา 4 ปี” โดยธนาคารแห่งประเทศไทยปล่อยกู้ผ่านธนาคารพาณิชย์ที่ดอกเบี้ย 0.01% ต่อปี และรัฐบาลรับความเส่ียงของความเสียหายจากการปล่อยกู้ดังกล่าวเกือบทัง้หมด ซึ่งแตกต่างจากสินเชื่อ 500,000 ล้านบาทในปัจจุบันที่เมื่อประเมินในรายละเอียดแล้ว รัฐบาลจะรับใช้ความเสียหายให้เพียงประมาณ 30% โดยขยายขอบเขตให้ SME ที่ไม่ใช่ลูกหนี้สถาบันการเงินได้รับการสนับสนุนสินเชื่อดังกล่าวด้วย หากมีความเสียหายจากการปล่อยกู้รัฐบาลสามารถออกเป็นพันธบัตรให้ธนาคารแห่งประเทศไทย ซื้อที่ดอกเบี้ย 0.01% ต่อปี ระยะเวลาใช้คืน 100 ปี เพื่อชดใช้ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากหนี้เสียให้กับ สถาบันการเงินในอนาคต

“การปล่อยกู้ให้ SMEs 2 ล้านล้านบาท และสร้างเงื่อนไขให้ลงไป SMEs จริงๆ 1 ล้านราย และเป็นเงื่อนไข SMEs มีเงินทำธุรกิจต่อเนื่องไป 1 ปี และคืนภายใน 4 ปี เพราะผ่านไป 1 ปี ต้องปรับโครงสร้างการทำธุรกิจ เพราะแลนด์สเคปโลกเปลี่ยนไป อาจจ่ายหนี้ 1-2 % อย่างที่รัฐบาลทำอยู่ และรัฐบางต้องทำใจว่าจะเสียหายได้ 4 แสนล้านบาท ถ้าทำดี ทำเร็วแล้วเศรษฐกิจฟื้นได้เร็ว น่าจะต่ำกว่านั้นเยอะ”

“ดีกว่า โปรเจกต์ 4 แสนล้านโปรเจกต์ ที่ใช้ฟื้นฟูเศรษฐกิจของเงินกู้ 1 ล้านล้านบาท ที่ให้หน่วยงานนำเสนอโครงการ ทิศทางไปทางไหนไม่รู้ ไม่มีพลัง แต่ตรงนี้เรารู้ว่า SMEs มีปัญหาอยู่แล้ว ก็ลงไปที่ปัญหา ซึ่งธุรกิจเขามีศักยภาพของเขา มีพนักงาน ก็ให้เขามีศักยภาพต่อไป ถ้าปิดโรงงานก็ย้อนกลับมาที่ หนี้รายย่อยบุคคล 15 ล้านราย ซึ่งเป็นพนักงานของบริษัทต่างๆ ถ้าไม่ชจะเป็นปัญหาตามไปด้วย ดังนั้นต้องตั้งเป้าให้ถูก ดีไม่ดีคนกลุ่มนี้อาจต้องช่วยเพิ่ม ถ้าไม่ช่วย SMEs 15 ล้านคน มีปัญหาเยอะแน่” ดร.ศุภวุฒิ กล่าว

นายศุภวุฒิ กล่าวว่า โมเดลที่นำเสนอ ต่างประเทศก็ทำมาแล้ว ยกตัวอย่างของสหรัฐอเมริกาออกโครงการ SMEs มาเอาเงินของรัฐบาลไปให้เพียงพอกับจ้างพนักงานทุกคน 24 สัปดาห์ ถ้าจ้างแล้วไปไม่ไหว ก็ยกหนี้ให้ ขอให้เก็บพนักงานกับบริษัท 24 สัปดาห์ เพราะบริษัทที่มีศักยภาพ มีพนักงานที่มีศักยภาพ พอให้เขาฟื้นใหม่ก็ฟื้นได้ทันที แต่ถ้าปล่อยให้ปิด ทรัพยากรต่างๆ กระจัดกระจาย ถ้าจะกดปุ่มรวบรวมกันใหม่ก็จะยาก พนักกงานก็จะสูญเสียสกิล

นายดวงฤทธิ์ กล่าวว่า เรื่องหนึ่งแต่ทีกลัวคือ travel bubble รัฐบาลบอกว่าจะพูดกันอีกสองเดือน SMEs ร้านอาหาร งานฝีมือ โรงแรม จนถึง supply chain ของอาหาร ถ้ารัฐบาลยังไม่ตัดสินใจเรื่องท่องเที่ยวกธจกระทบ ภาพจะไม่มีความหวัง อย่างไรก็ตาม ในข้อเสนอของกลุ่มแคร์ ในฐานะทำธุรกิจเลี้ยงลูกน้อง ให้เวลาชำระหนี้ 4 ปี เป็นเวลาไม่เหนื่อยเกินไป การเติมเงินเข้ามาในระบบ SMEs ก็จะช่วย SMEs ได้ตรง ในฐานะที่ทำธุรกิจก็มีกำลังใจในการเลี้ยงลูกน้องต่อไป ก็มีกำลังใจต่อไป แต่ 4 แสนล้าน แทนที่ไปลงโครงการราชการก็มาลงที่ SMEs ดีกว่าหรือไม่