ครม.อนุมัติงบกลาง 204 ล้านบาท รับมือโควิด ระบาดระลอกสอง

คณะรัฐมนตรีอนุมัติงบกลาง 204 ล้านบาท รับมือโควิด ระบาดระลอกสอง

เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2563 ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจําปี 2563 งบกลาง รายการ เงินสํารองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจําเป็น เพื่อเตรียมความพร้อมป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่ : กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ระยะการระบาดระลอก 2 จํานวน 204 ล้านบาท ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ

เพื่อให้สามารถควบคุมการระบาดของโรคที่อาจเกิดขึ้นในระลอก 2 ให้อยู่ในวงจํากัด ลดโอกาส การแพร่เชื่อเข้าสู่ประเทศ ลดผลกระทบทางสุขภาพ รวมถึงสามารถดูแลคนไทยและผู้เดินทางจากต่างประเทศ ให้ปลอดภัยจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามหลักการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ

ทั้งนี้กระทรวงสาธารณสุขระบุว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยส่งผลกระทบในวงกว้างทั้งด้านสาธารณสุข เศรษฐกิจ สังคม ความมั่นคง ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะมีระยะเวลาต่อเนื่องยาวนาน สถานการณ์การแพร่ระบาดทั่วโลกโดยข้อมูล ณ วันที่ 22 กันยายน 2563 มีผู้ป่วยยืนยันสะสม จํานวนทั้งสิ้น 31,468,646 ราย เสียชีวิต 968,840 ราย โดยประเทศไทยมีผู้ป่วยยืนยันสะสม จํานวน 3,511 ราย เสียชีวิต 59 ราย อยู่ใน ระหว่างพักรักษา จํานวน 109 ราย รักษาหายแล้ว จํานวน 3,343 ราย

ขณะที่ประเทศไทยได้ยกระดับการแจ้งเตือนโรคในผู้เดินทางให้หลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีการระบาด ติดตามสถานการณ์โรคทั้งในประเทศ และต่างประเทศอย่างใกล้ชิด และบริหารจัดการทรัพยากร เสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบการเฝ้าระวัง ค้นหาผู้ป่วยโรคติดเชื้อโควิด-19 ที่มาจากต่างประเทศ ทั้งการคัดกรอง ณ ช่องทางเข้าออกประเทศ ที่ท่าอากาศยานนานาชาติ 5 แห่ง

ได้แก่ ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ ดอนเมือง เชียงใหม่ ภูเก็ต กระบี่ และเชียงราย และรัฐบาลมีนโยบายให้ผู้เดินทางมาจากต่างประเทศต้องกักตัวประมาณ 14 วัน ณ สถานที่ที่รัฐจัดไว้ให้ในระดับประเทศ (National State Quarantine) และระดับจังหวัด (Local State Quarantine) เพื่อดูแลประชาชนชาวไทยและผู้เดินทางจากต่างประเทศให้ปลอดภัยตามหลักการป้องกัน การแพร่กระจายเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภา

รวมทั้งลดความเสี่ยงของบุคลากรทางการแพทย์ และเจ้าหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติและสัมผัสกับผู้ป่วยด้านการสอบสวนโรคการรักษาได้มีขวัญกําลังใจในการทํางาน เกิดการบูรณาการการทํางานร่วมกันของทุกหน่วยงานในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินให้เป็นไปอย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ