10 อันดับรับงบประมาณปี 65 สูงสุด กลาโหมอู้ฟู่ 2 แสนล้าน

งบประมาณ

10 อันดับ กระทรวงที่ได้รับงบประมาณสูงสุดปี 65 ศึกษาสูงสุด 3 แสนล้าน กลาโหมอู้ฟู่เฉียด 2 แสนล้าน

เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2564 ที่ประชุมได้เห็นชอบกรอบงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2565 จำนวน 3.1 ล้านล้านบาท สำหรับกระทรวงที่ได้รับงบประมาณมากที่สุด 10 อันดับแรก ที่ได้รับงบประมาณหลักแสนล้านบาท

ได้แก่ อันดับที่ 1 กระทรวงศึกษาธิการ 332,398.6 ล้านบาท อันดับที่ 2 กระทรวงมหาดไทย 316,527 ล้านบาท อันดับที่ 3 กระทรวงการคลัง 273,941.3 ล้านบาท อันดับที่ 4 กระทรวงกลาโหม 203,282 ล้านบาท อันดับที่ 5 ทุนหมุนเวียน 195,397.9 ล้านบาท

อันดับที่ 6 กระทรวงคมนาคม 175,858.7 ล้านบาท อันดับที่ 7 กระทรวงสาธารณสุข 153,940.5 ล้านบาท อันดับที่ 8 รัฐวิสาหกิจ 130,586.4 ล้านบาท อันดับที่ 9 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 124,182.8 ล้านบาท อันดับที่ 10 ส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือ ทบวง และหน่วยงานภายใต้การควบคุมดูแลของนายกรัฐมนตรี 122,729.9 ล้านบาท และอันดับที่ 11 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 110,126.5 ล้านบาท

ทั้งนี้ อันดับที่ได้รับงบประมาณลดลั่นกันลงไป ได้แก่ อันดับที่ 12 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) 78,305.1 ล้านบาท อันดับที่ 13 กระทรวงแรงงาน 49,742.8 ล้านบาท อันดับที่ 14 สำนักนายกรัฐมนตรี 34,017.3 ล้านบาท อันดับที่ 15 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 28,325.5 ล้านบาท อันดับที่ 16 กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 24,664.8 ล้านบาท

อันดับที่ 17 กระทรวงยุติธรรม 24,321.3 ล้านบาท อันดับที่ 18 หน่วยงานของศาล 22,947.8 ล้านบาท อันดับที่ 19 หน่วยงานขององค์กรอิสระและองค์กรอัยการ 18,468.6 ล้านบาท อันดับที่ 20 จังหวัดและกลุ่มจังหวัด 17,411 ล้านบาท

อันดับที่ 21 ส่วนราชการในพระองค์ 8,761.4 ล้านบาท อันดับที่ 22 สภากาชาดไทย 8,265.4 ล้านบาท อันดับที่ 23หน่วยงานของรัฐสภา 8,208.1 ล้านบาท อันดับที่ 24 กระทรวงต่างประเทศ 7,618.7 ล้านบาท อันดับที่ 25 กระทรวงวัฒนธรรม 7,104.4 ล้านบาท อันดับที่ 26 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม 6,979.1 ล้านบาท

อันดับที่ 27 กระทรวงพาณิชย์ 6,523.3 ล้านบาท อันดับที่ 28 กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา 5,164.6 ล้านบาท อันดับที่ 29 กระทรวงอุตสาหกรรม 4,380.1 ล้านบาท อันดับที่ 30 กระทรวงพลังงาน 2,717.5 ล้านบาท และอันดับที่ 31 หน่วยงานอื่นของรัฐ 479 ล้านบาท

ขณะที่งบกลาง (11 รายการ) ได้รับงบประมาณ จำนวน 571,047.3 ล้านบาท โดยงบกลางในส่วนของเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินและจำเป็น ซึ่งเป็นอำนาจนายกรัฐมนตรี มีจำนวน 8.9 หมื่นล้านบาท