ห้องเรียนดิจิทัล “ยูโอบี” ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา

หนึ่งในความท้าทายที่ยิ่งใหญ่สำหรับการศึกษาไทยคือ “ความเหลื่อมล้ำ” โดยจากข้อมูล Mapping the Digital Divide ของสหประชาชาติ (United Nations) ระบุว่า ประเทศไทยมีสัดส่วนเฉลี่ยนักเรียน 17 คน ใช้คอมพิวเตอร์1เครื่องในโรงเรียนร่วมกันโดยโรงเรียนเอกชนและโรงเรียนในเมืองมักมีความพร้อมด้านเทคโนโลยี ทั้งจำนวนคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ที่มากกว่าโรงเรียนรัฐบาลและโรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล ซึ่งอัตราส่วนนักเรียนต่อคอมพิวเตอร์ที่ไม่เพียงพอสร้างความท้าทายต่อการเข้าถึงแหล่งความรู้ที่มีคุณภาพและการพัฒนาทักษะแห่งอนาคต สะท้อนไปสู่ผลคะแนน PISA (Program for International Student Assessment) โดยในปี 2561 คะแนนของเด็กไทยรั้งท้ายอันดับ 13 ของ 79 ประเทศทั่วโลกที่เข้าร่วมการประเมิน และนับตั้งแต่การประเมิน PISA ปี 2543 จนถึง 2561 เด็กไทยมีทักษะด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ที่ไม่สูงขึ้น ในขณะที่ด้านการอ่านมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง ด้วยเหตุนี้ “ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย” (UOB) ในฐานะสถาบันทางการเงินที่เห็นความสำคัญของการพัฒนาการศึกษาในสังคม จึงทำโครงการ “ห้องเรียนดิจิทัล UOB My Digital Space” โดยร่วมกับโครงการร้อยพลังการศึกษา มูลนิธิยุวพัฒน์ ส่งเสริมการเรียนรู้โดยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้จัดการเรียนการสอน เริ่มในปี 2566 จำนวน 3 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนอนุบาลเกาะจันทน์ จ.ชลบุรี โรงเรียนถ้ำปินวิทยาคม จ.พะเยา และโรงเรียนเสด็จวนชยางค์กูลวิทยา จ.ลำปาง

“ธรรัตน โอฬารหาญกิจ” ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริหารสื่อสารและภาพลักษณ์องค์กร ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่า การศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญ ต่อการพัฒนาประเทศ ในฐานะสถาบันทางการเงิน
จึงได้เริ่มจากการให้ความรู้ด้านการเงิน (financial literacy) ผ่านหลักสูตรการเงินออนไลน์ UOB Money 101 ร่วมกับโครงการร้อยพลังการศึกษา มูลนิธิยุวพัฒน์ นับตั้งแต่ ปี 2564 โดยมีนักเรียนมากกว่า 2,300 คน จาก 39 โรงเรียน ในพื้นที่ต่างจังหวัดและพื้นที่ห่างไกลได้เข้าเรียน ผ่านแพลตฟอร์มออฟไลน์ในโรงเรียนและออนไลน์ และยังคงเดินหน้าสานต่ออย่างต่อเนื่อง
“ในปี 2565 เราเริ่มมองเรื่องการให้ความรู้ด้านอื่น ๆ แก่เด็ก ๆ จึงร่วมกับโครงการร้อยพลังการศึกษา
มูลนิธิยุวพัฒน์ ทำโครงการห้องเรียนดิจิทัล UOB My Digital Space เพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนวิชาพื้นฐาน ได้แก่ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ ซึ่งทางยูโอบีสนับสนุนในด้านฮาร์ดแวร์ ในการจัดหา
เครื่องคอมพิวเตอร์ให้เพียงพอต่อจำนวนเด็กนักเรียน และสนับสนุนด้านซอฟต์แวร์มีมาตรฐานในวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษด้วย”
จุดเด่นของห้องเรียนดิจิทัล UOB My Digital Space คือ ช่วยให้การเรียนการสอนในโรงเรียนมีประสิทธิภาพและน่าสนใจมากขึ้น รวมทั้งพัฒนานักเรียนให้มีนิสัย
ใช้เทคโนโลยีเพื่อเข้าถึงการหาความรู้ นอกเหนือจากการใช้เพื่อความบันเทิงหรือสื่อสารทางไกลเท่านั้น ซึ่งห้องเรียนดิจิทัลทำให้นักเรียนเรียนรู้จากที่ไหนก็ได้ (learn anywhere) ผ่านคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ โดยมีครูคอยดูแลให้คำปรึกษาและสรุปบทเรียน นักเรียนยังสามารถทบทวนบทเรียนผ่านแอปพลิเคชันที่บ้านได้ด้วย ซึ่งในปี 2566 มีนักเรียนกว่า 2 พันคนได้ประโยชน์จากโครงการนี้

“ธรรัตน” กล่าวด้วยว่า ยูโอบีให้ความสำคัญกับ การมีส่วนร่วมของพนักงานในการทำเพื่อสังคม ดังนั้น ทุก ๆ ปี พนักงานอาสาสมัครจะวิ่งระดมทุน และนำเงินที่ได้จากกิจกรรมไปสมทบทุนในโครงการห้องเรียนดิจิทัล UOB My Digital Space โดยยูโอบีไม่หักค่าใช้จ่าย ซึ่งปี 2565 สามารถระดมทุนได้ 3 ล้านบาท
ทั้งนี้ ในวันส่งมอบห้องเรียนดิจิทัล UOB My Digital Space แก่โรงเรียนอนุบาลเกาะจันทน์ พนักงานยูโอบีจำนวนมากจากพื้นที่ กทม. และจังหวัดชลบุรี ได้ลงพื้นที่ร่วมทำกิจกรรมทาสีห้องเรียนและให้ความรู้ด้านการเงินแก่เด็กนักเรียนด้วย

“กนกวรรณ โชว์ศรี” ผู้อำนวยการ โครงการร้อยพลังการศึกษา มูลนิธิยุวพัฒน์ กล่าวว่า โครงการร้อยพลัง
การศึกษามุ่งเน้นลดความเหลื่อมล้ำและสร้างโอกาสทางการศึกษา โดยร่วมกับเครือข่ายทางการศึกษาและ
ภาคเอกชน สนับสนุนเครื่องมือ นวัตกรรม และความเชี่ยวชาญ ห้องเรียนดิจิทัล UOB My Digital Space เป็นการ
ใช้เทคโนโลยีและดิจิทัลส่งเสริมการเรียนรู้ โดยมีครูเป็นแกนกลาง และนักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ตามความเร็วที่ตนเองถนัดได้ เหตุผลที่ทางโครงการร้อยพลัง การศึกษาเลือกโรงเรียนอนุบาลเกาะจันทน์ เพราะโรงเรียนขาดแคลนคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ และเล็งเห็นว่าทางผู้อำนวยการและครูให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการนำเครื่องมือมาใช้อย่างจริงจังและนำมาใช้ 100% จึงทำให้เราเชื่อมั่นว่า การให้ครั้งนี้จะถูกนำไปต่อยอด สร้างประโยชน์ให้กับนักเรียนได้ระยะยาวและยั่งยืน

“ทางยูโอบีได้สนับสนุนการเพิ่มเครื่องคอมพิวเตอร์และเพิ่มซอฟต์แวร์วิชาคณิตศาสตร์ รวมถึงสนับสนุน
วิชาทางการเงิน UOB Money 101 ซึ่งทางโครงการร้อยพลัง การศึกษามีการรายงานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ทั้งต้นเทอมและปลายเทอม ให้ทางยูโอบีได้รับทราบ และจากความร่วมมือในปี 2566 นี้ ทางยูโอบีก็ได้ตกลง
ทำโครงการต่อในปี 2567 เรียบร้อยแล้ว” “สุวารินทร์ ถิ่นทวี” ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลเกาะจันทน์ กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ทางโรงเรียนสามารถ ใช้คอมพิวเตอร์สอนเฉพาะวิชาคอมพิวเตอร์ และ สอนเฉพาะ ป.4 – ม.3 ได้เท่านั้น เพราะจำนวนไม่เพียงพอ หลังจากทางยูโอบีมาช่วยสนับสนุน ก็ทำให้สามารถจัดการเรียนการสอนผ่านคอมพิวเตอร์ได้ถึง 3 วิชา คือ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ
และสอนได้ตั้งแต่ระดับ ป.1 – ม.3
“นักเรียนได้เรียนรู้ทั้ง 3 วิชา ผ่านห้องเรียนดิจิทัล UOB My Digital Space วิชาละ 2 ชั่วโมง และมีการเรียนในห้องเรียนปกติเพื่อทบทวนความเข้าใจแต่ละวิชาให้มากขึ้น ทำให้นักเรียนมีความรู้ที่สมบูรณ์และครอบคลุม และได้พัฒนาด้านดิจิทัลเพื่อตอบโจทย์ทักษะแห่งอนาคต”
“ทัศนีย์ พราวจันทึก” ครูผู้ช่วยวิชาวิทยาศาสตร์ โรงเรียนอนุบาลเกาะจันทน์ กล่าวว่า การเรียนผ่านห้องเรียนดิจิทัล UOB My Digital Space ทำให้นักเรียนสนใจการเรียนมากขึ้น เพราะมีภาพประกอบสวยงาม และแบบฝึกหัดท้ายบทที่ดึงดูดความสนใจ นอกจากนั้น นักเรียนยังชอบที่พวกเขามีอิสระในการเรียนตามความเร็วของตัวเอง เพราะการเรียนในห้องเรียนแบบปกติที่มี
ครูเป็นผู้บรรยาย นักเรียนจะต้องเรียนให้ทันเพื่อน ๆ

“ด.ญ.พิมระพัฒน์ เรืองศรี” นักเรียนชั้น ม.2 โรงเรียนอนุบาลเกาะจันทน์ เล่าว่า ชอบเรียนในห้องเรียนดิจิทัล UOB My Digital Space มาก ทำให้เข้าใจมากขึ้น แต่ละวิชามีวิดีโอบรรยายที่เข้าใจง่าย โปแกรมมีสีสันสดใส และมีแบบฝึกหัดท้ายบทให้ทบทวนความรู้ หากไม่เข้าใจตรงไหนก็สามารถยกมือถามคุณครูได้
“ธนาพร ไขศิลป” ผู้จัดการธนาคารยูโอบีสาขาสีลมคอมเพล็กซ์ กล่าวว่า การทำกิจกรรมเพื่อสังคมเป็นสิ่งที่พนักงานยูโอบีให้ความสำคัญ เพราะพวกเราเชื่อว่าสังคมและบริษัทจะต้องเติบโตไปพร้อมกัน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
“เวลามีกิจกรรมเพื่อสังคมบริษัทจะชวนพนักงานเสมอ และพนักงานจะเลือกมีส่วนร่วมตามความถนัด
อาจเป็นการช่วยบริจาคหรือช่วยสละเวลาทำกิจกรรม สำหรับการมาที่โรงเรียนอนุบาลเกาะจันทน์ครั้งนี้
มีพนักงานเกือบ 100 คน เราได้ทาสีห้องเรียน และสอนความรู้ทางการเงินให้เด็ก ๆ ในบรรยากาศที่สนุกสนาน”
การลงพื้นที่โครงการห้องเรียนดิจิทัล UOB My Digital Space ทำให้เห็นถึงความกระตือรือร้น รวมถึงความหวังของนักเรียน ครู และผู้อำนวยการโรงเรียน ที่อยากใช้ปัจจัย
พื้นฐานทั้งด้านอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้ทัดเทียมกับโรงเรียนอื่น ๆ และโครงการห้องเรียนดิจิทัล UOB My Digital Space เป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยลดการขาดแคลนทรัพยากรที่ทำให้การศึกษา ขั้นพื้นฐานของเยาวชนไทยสามารถพัฒนาได้เต็มที่ และเท่าเทียมกันทุกพื้นที่