5 มุมมอง โลกหลัง “โควิด-19” และ “ความปกติใหม่”

โลก หลัง โควิด-19 new normal
ภาพโดย August de Richelieu

การระบาดใหญ่ของโรค “โควิด-19” ส่งผลต่อชีวิตคนทั่วโลกในหลายมิติ แม้ว่าหลายประเทศได้ปลดล็อกให้ประชาชนกลับมาทำกิจกรรมเช่นเดิมได้มากขึ้น แต่ข้อกำหนดที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อความปลอดภัย ได้ทำให้พฤติกรรมทางสังคมและบรรยากาศทางเศรษฐกิจ เปลี่ยนไปอย่างมากเมื่อเทียบกับ 5 เดือนก่อน

เมื่อทุกประเทศพยายามประคับประคองเศรษฐกิจให้เดินหน้าต่อไป พร้อมกับรักษาชีวิตของประชาชนให้ได้มากที่สุด สภาวะที่เรียกว่า “ความปกติใหม่” หรือ New Normal นี้ จะเป็นอย่างไร

“ประชาชาติธุรกิจ” รวบรวมบทวิเคราะห์และความคิดเห็นเกี่ยวกับความเป็นไปของสังคมโลกและอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ต้องเรียนรู้จะอยู่ร่วมกับโรคโควิด-19

1. วัคซีนต้านโควิด-19 คืบหน้าไปถึงไหน เมื่อไหร่เราถึงจะมีวัคซีน?

สิ่งที่เป็นความหวังสูงสุดของมวลมนุษยชาติที่จะมาต่อกรกับโรคร้ายในเวลานี้คือ วัคซีน (vaccine) ซึ่งเป็นสารชีวภาพที่ฉีดเข้าไปเพื่อกระตุ้นให้เกิดการสร้างภูมิคุ้มกันโรคที่เกิดจากไวรัสและแบคทีเรีย” บทความโดย ภาคิน วลัยวรางกูร หาตอบว่าเมื่อไหร่เราถึงจะมีวัคซีนสำหรับต่อสู้ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่นี้

2. จุดสิ้นสุดของ 5 โรคระบาดร้ายแรงในประวัติศาสตร์โลก

“ดีไลฟ์-ประชาชาติธุรกิจ” พาไปดูข้อมูล 5 โรคระบาดร้ายแรงในประวัติศาสตร์ อาทิ “กาฬโรคแห่งจัสติเนียน” “กาฬมรณะ” และ “ไข้หวัดใหญ่สเปน” ว่ามีจุดเริ่มต้นอย่างไร สร้างความเสียหายไปขนาดไหน และที่สุดแล้วมันคลี่คลายอย่างไร

3. Gen Z ซมพิษ “โควิด-19” เศรษฐกิจพัง-งานหด

แม้ผู้สูงอายุจะเป็นกลุ่มที่เสี่ยงจะได้รับผลกระทบหนักที่สุดในแง่ของสุขภาพ จากการแพร่ระบาดของ “โควิด-19” แต่ในแง่ของเศรษฐกิจ สถานการณ์โรคระบาดกำลังสร้างความยากลำบากในระยะยาวให้กับกลุ่มคนวัยทำงาน โดยเฉพาะผู้ที่กำลังจบการศึกษาและเข้าสู่ตลาดแรงงาน ซึ่งจะต้องเผชิญกับโอกาสในการทำงานที่ลดลง ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจตกต่ำและไม่มีความแน่นอน

4. มุมมองจากผู้เชี่ยวชาญ เมื่อไหร่คนจะเริ่มเที่ยวอีกครั้ง

เดือนเมษายนปีที่แล้ว สหรัฐฯ มีผู้โดยสารเครื่องบินมากกว่า 2 ล้านคนต่อวัน แต่พอถึงเดือนเมษายนปีนี้มาตรการล็อกดาวน์เพื่อหยุดเชื้อไวรัส ทำให้จำนวนผู้โดยสารลดลงกว่า 95% เหลือเพียงไม่ถึง 1 แสนคนต่อวัน หรือนี่จะเป็นปรากฏการณ์ที่แสดงให้เห็นถึงการลดลงอย่างถาวรของการเดินทางทางอากาศ คอลัมน์ ชีพจรเศรษฐกิจโลก โดย นงนุช สิงหเดชะ สำรวจภาพใหญ่การท่องเที่ยวโลก

5. ศ.ดร.ณัฐวุฒิ เผ่าทวี คาดการณ์พฤติกรรมมนุษย์และเศรษฐกิจโลกหลังโควิด

นักวิชาการด้านพฤติกรรมศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยวอริก (Warwick Business School) พูดคุยกับ “ดีไลฟ์-ประชาชาติธุรกิจ” เกี่ยวกับพฤติกรรมของคนในสังคมที่อาจจะเปลี่ยนหรือไม่เปลี่ยนไปจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น รวมถึงความเป็นไปได้ต่าง ๆ หลังจากที่สถานการณ์ดีขึ้นแล้ว