ลงทุน Premium Brands อย่างไรให้คุ้มค่า

แบรนด์เนม
บทความโดย : บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน บัวหลวง จำกัด (BBLAM)

ลงทุน Premium Brands อย่างไรให้คุ้มค่าและตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์

หากจะถามว่า “ธีมการลงทุนไหนที่มาแรงในปี 2566” คงจะหนีไม่พ้นการลงทุน Premium Brands หรือกลุ่มสินค้าแบรนด์หรูระดับไฮเอนด์ ทำไมนะหรือ ?
เพราะท่ามกลางความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจและภาวะเงินเฟ้อสูง ที่ทำให้สินทรัพย์การลงทุนแต่ละตัวปรับฐานกันเป็นว่าเล่น แต่สำหรับธุรกิจในกลุ่ม Premium Brands ยังมีการเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อสูง ยังเป็นกลุ่มที่มีอำนาจซื้อและจับจ่ายใช้สอยอยู่ ประกอบกับความต้องการของผู้บริโภคกลุ่มนี้ ที่ให้ความสำคัญกับคุณภาพของสินค้าหรือบริการเป็นหลัก
รวมถึงการได้รับประสบการณ์ที่ดีจากสินค้าหรือบริการนั้น ๆ จนราคากลายเป็นปัจจัยรอง
เทรนด์การลงทุนหุ้นกลุ่ม Premium Brands ได้รับความสนใจมานานแล้ว ในรูปแบบของการลงทุนในสินค้าจริง ด้วยการซื้อเพื่อเป็นเจ้าของสินค้านั้น หรือการใช้บริการสินค้าแบรนด์หรูเพื่อสร้างประสบการณ์ด้วยตัวเอง ทำให้ความต้องการสินค้าในกลุ่ม Premium Brands เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยเอกลักษณ์เฉพาะของสินค้ากลุ่มนี้ ไม่ว่าจะเป็น
1. เหนือกาลเวลา (Timeless) ไม่ว่าเวลาจะผ่านไป สินค้าแบรนด์หรูที่เน้นความคลาสสิก ก็ไม่ได้ล้าสมัย อีกทั้งสินค้าบางประเภท ยิ่งนาน ยิ่งราคาขึ้นอีกด้วย
2. คุณภาพสูง (High Quality) เป็นที่ยอมรับ สาเหตุที่ราคาสูงอย่างหนึ่งเพราะการผลิตหรือการบริการที่พิถีพิถัน ใส่ใจรายละเอียด ทำให้ผู้บริโภคประทับใจ เกิดการเชื่อมั่นในแบรนด์ (Loyalty)
3. ความคุ้มค่า (Worthiness) หัวใจสำคัญของการซื้อสินค้าและบริการระดับบน คือตอบโจทย์การใช้งานจริง เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีแก่ลูกค้า เมื่อใช้งานได้จริง ด้วยคุณภาพดี ผู้บริโภคก็รู้สึกคุ้มค่าแล้วที่ตัดสินใจ
4. มีความต้องการเพิ่มขึ้น (Demanding) จากรุ่นสู่รุ่น จากปากต่อปาก ทำให้คนมีกำลังซื้อสูงรุ่นใหม่ ๆ มีความสนใจที่จะซื้อหามาไว้ในครอบครอง สัมผัสประสบการณ์ความลักเซอรี่ ทำให้ธุรกิจแบรนด์หรูเติบโตยาวนานอย่างแข็งแกร่ง และธุรกิจยังมีอำนาจในการกำหนดราคาอีกด้วย
แล้วสถานการณ์ธุรกิจแบรนด์หรูตอนนี้เป็นอย่างไร ?
เรามีอัพเดตสถานการณ์ของธุรกิจ Premium Brands จากผู้จัดการกองทุน PICTET Asset Management ซึ่งบริหารกองทุนหลักให้กับกองทุน B-PREMIUM พบว่าในไตรมาส 2 ปี 2566 ธุรกิจกลุ่ม Premium Brands มีผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่ง โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าหรู และกลุ่มโรงแรม ซึ่งได้รับแรงหนุนจากลูกค้าโซนเอเชีย โดยเฉพาะปัจจัยการเปิดประเทศของจีนที่ทำให้ความต้องการเพิ่มขึ้น รวมถึงลูกค้าไฮเอนด์ในสหรัฐ แต่หุ้นของธุรกิจนี้ก็ยังอาจผันผวนเป็นระยะได้
2 หุ้นเด่นในพอร์ตที่โตดีในไตรมาส 2 ที่ผ่านมา คือ หุ้น #Tesla ที่ปรับตัวขึ้นมากว่า 20% ตามด้วยหุ้น #Apple ที่ปรับขึ้นมาโดดเด่นพร้อมกับหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ไม่เท่านั้น ผู้จัดการกองทุนมีการปรับพอร์ต และยังคัดหุ้นเข้าพอร์ตเพิ่มเติม เน้นแบรนด์คุณภาพสูง มีแนวโน้มเติบโตดี กำไรเด่น และกระแสเงินสดแกร่ง โดยเข้าลงทุนใน 2-3 กลุ่ม
กลุ่มแรก : เก็บโอกาสจากความผันผวนของตลาด ได้แก่ Hermes, Richemont และ LVMH
กลุ่มที่สอง : ลงทุนเพราะมองเห็นผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่ง ได้แก่ EssilorLuxottica, Marriott, Hilton, Ralph Lauren และ LuluLemon โดยเฉพาะ LuLuLemon ได้รับการตอบรับที่ดีในตลาดสหรัฐ
กลุ่มที่สาม : ลงทุนในตลาดท่องเที่ยวแบบ Premium Travel ในโซนยุโรป และโซนเอเชีย ได้แก่ Sofitel, Raffles, Orient Express และ Banyan Tree
นอกจากนี้ กองทุนหลักยังได้ขายทำกำไรพร้อมลดการถือครองในหุ้น American Express เพื่อหลีกเลี่ยงธุรกิจสินเชื่อ และการตั้งสำรองหนี้เสียเพิ่มมากขึ้น รวมถึงลดการถือครองหุ้น Starbucks ด้วยเหตุผลการชะลอการบริโภคในตลาดสหรัฐ
ณ วันนี้ การลงทุนใน Premium Brands ไม่จำเป็นต้องลงทุนเป็นหมื่นเป็นแสนเพื่อซื้อสินค้าหรือบริการ Luxury มาครอบครอง แต่ทุกคนสามารถเข้าถึงการลงทุนได้ ผ่านกองทุนเปิดบัวหลวง Premium Brands (B-Premium) ได้แล้ว เริ่มต้นด้วยเงินลงทุนเพียง 500 บาทเท่านั้น ด้วยจุดเด่นที่มีผู้จัดการกองทุนคอยบริหารจัดการพอร์ตที่เหมาะสมในทุกสถานการณ์ เพื่อตอบโจทย์เป้าหมายการลงทุน