เปิดรายชื่อ 19 บจ.หุ้นยั่งยืนกลุ่มธุรกิจการเงิน THSI ปี’64

ตลาดหลักทรัพย์ฯ เปิดรายชื่อ 19 บริษัทจดทะเบียน THSI ในกลุ่มธุรกิจการเงิน (Financial Inclusion) จากรายชื่อหุ้นยั่งยืน THSI ทั้งหมด 147 ในปี 2564  สำหรับสรุปผลการดำเนินงานด้าน ESG และประโยชน์ต่อสังคม

วันที่ 12 มีนาคม 2565 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET)  เปิดรายชื่อ 19 บริษัทจดทะเบียน THSI ในกลุ่มธุรกิจการเงิน จากรายชื่อหุ้นยั่งยืน THSI ทั้งหมด 147 ในปี 2564 ได้แก่

    • BAY : ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
    • BBL : ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
    • BLA  : บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จกัด (มหาชน)
    • GCAP :  บริษัท จี แคปปิตอล จำกัด (มหาชน)
    • KBANK  : ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
    • KKP : ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน)
    • KTB :  ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
    • KTC : บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
    • LHFG  : บริษัท แอล เอช ไฟแนนซ์เชียล กรุ๊ปจำกัด (มหาชน)
    • LIT :  บริษัท ลีซ อิท จำกัด (มหาชน)
    • MTC  :  บริษัท เมืองไทย แคปปิตอล จำกัด (มหาชน)
    • NSI :  บริษัท นำสินประกันภัย จำกัด (มหาชน)
    • SAK   :  บริษัท ศักดิ์สยามลิสซิ่ง จำกัด (มหาชน)
    • SCB :  ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
    • THANI  :  บริษัท ราชธานีลิสซิ่ง จำกัด (มหาชน)
    • THREL  :   บริษัท ไทยรีประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
    • TISCO   :  บริษัท ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ปจำกัด (มหาชน)
    • TQM :   บริษัท ทีคิวเอ็มคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
    • TTB  :   ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน)

ซึ่งบริษัทเหล่านี้มีการดำเนินงานด้าน ESG ที่สร้างผลกระทบเชิงบวกให้แก่ลูกค้า และสังคมวงกว้างผ่านกระบวนการให้บริการทางการเงินอย่างรับผิดชอบ (Responsible Finance) โดยกำหนดประเด็นด้าน ESG เป็นเกณฑ์ใน กระบวนการออกผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ นอกจากนี้้ยังมีส่วนร่วมในการส่งเสริม การเข้าถึงบริการทางการเงิน (Financial Inclusion) ให้แก่ทุกภาคส่วน ในสังคม  โดยจะเป็นออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่

1.ด้านสิ่งแวดล้อม  บริษัทให้ความสำคัญกับการพัฒนาบริการผ่านระบบดิจิทัลต่าง ๆ ซึ่งไม่เพียงเป็นการเพิ่ม ความสะดวกสบายในการทำธุรกรรมของลูกค้ายังสามารถช่วยลดปริมาณการใช้ทรัพยากรกระดาษในกระบวนการทำำงานได้อีกด้วย นอกจากนี้บริษัทยังมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยสนับสนุนสินเชื่อและบริการทางการเงินให้แก่ลูกค้าในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ให้มีส่วนร่วมสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำและยกระดับการดำำเนินงานของธุรกิจให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและดีต่อสภาพภูมิอากาศมากยิ่งขึ้น ซึ่งด้านสิ่งแวดล้อมแบ่งออกเป็น 4 ด้าน

  • การบริหารจัดการพลังงาน/ไฟฟ้า 

  • การบริหารจัดการน้ำ

  • การบริหารจัดการของเสีย

  • การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก

2.ด้านสังคม บริษัทยึดหลักการเคารพสิทธิมนุษยชน โดยกำหนดให้พนักงานเข้าใจในหลักสิทธิมนุษยชน เพื่อนำำไปเป็นส่วนหนึ่งในการปฏิบัติงานที่คำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการเงินให้แก่คนในสังคมและจัดทำำโครงการส่งเสริมความรู้ทางการเงิน (FinancialLiteracy) ให้แก่กลุ่มเยาวชน ลูกค้า และประชาชนเพื่อปลูกฝังวินัยทางการเงินสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องการบริหารจัดการเงิน และสามารถเลือกใช้ผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่เหมาะสม แบ่งออกเป็น 3 ด้าน

  • การปฎิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชน

  • การดูแลพนักงาน ด้านการพัฒนาศักยภาพ สุขอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน

  • การมีส่วนร่วมพัฒนาชุมชนและสังคมผ่านกระบวนการทางธุรกิจ


3.ด้านบรรษัทภิบาลและเศรษฐกิจ
บริษัทให้ความสำำคัญกับการมีประธานกรรมการเป็นคนละคนกับผู้นำำบริษัทโดยเกือบครึ่งมีประธานกรรมการเป็นกรรมการอิสระ และส่วนใหญ่มีกรรมการที่เป็นผู้หญิงมากกว่า1คนอีกทั้งบริษัทส่วนใหญ่ได้เข้าร่วมเป็นภาคีเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชันเพื่อมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาการทุจริตและคอร์รัปชัน นอกจากนี้ มีการกำหนดหลักเกณฑ์และประเมินความเสี่ยงด้าน ESGในกระบวนการให้สินเชื่อ การออกผลิตภัณฑ์ทางการเงินและการลงทุน เพื่อให้มั่นใจว่าสามารถลดความเสี่ยงในการดำำเนินธุรกิจและลดผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมถึงมีการพัฒนาคู่ค้าให้คำำนึงถึง ESG ในกระบวนการทำำงานของคู่ค้ามากขึ้น  แบ่งออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่

  • โครงสร้างของคณะกรรมการบริษัท และการเข้าร่วมเครือข่ายในการต่อต้านทุจริต/คอร์รัปชัน

  • การบริหารความเสี่ยงด้าน ESG และ Emerging Risk


  • การพัฒนาคู่ค้าให้ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน