กรมทางหลวงเผย 47 สายทางต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ ช่วงสงกรานต์ 2561

นายธานินทร์ สมบูรณ์ อธิบดีกรมทางหลวง เปิดเผยถึงการเตรียมความพร้อมของกรมทางหลวงในการอำนวยความสะดวกและปลอดภัย เพื่อรองรับการเดินทางของประชาชนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2561 ภายใต้นโยบาย One Transport ของกระทรวงคมนาคม ว่าปีนี้จะเน้นการบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมทางหลวงชนบท กรมการขนส่งทางบก

โดยมีเป้าหมายเข้มข้นยกกำลังสาม เพื่อลดอุบัติเหตุแก่ผู้เดินทาง โดยในปีนี้ทางกระทรวงคมนาคมได้มีเป้าหมายที่จะให้อุบัติเหตุเป็นศูนย์ ใน 77 สายทาง ที่กระทรวงคมนาคมคัดเลือกมา โดยเป็นของกรมทางหลวง 47 สายทางกรมทางหลวงชนบท 30 สายทาง

โดยคัดเลือกจากพื้นที่นำร่องภายใต้ความร่วมมือระหว่างกระทรวงคมนาคม กับ Ministry of Land, Infrastructure, Transport and Tourism (MLIT) แห่ง ประเทศญี่ปุ่น จำนวน 8 สายทาง สายทางที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุดในช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2560 จำนวน 24 สายทาง สายทางที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุดในรอบปี 2560 จำนวน 5 สายทาง เส้นทางเข้าสู่แหล่งท่องเที่ยวที่ประชาชนนิยมท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ จำนวน 10 สายทาง

อธิบดีกรมทางหลวงยังกล่าวต่อไปอีกว่า กรมทางหลวงได้สั่งการให้หน่วยงานในพื้นที่ ได้แก่ สำนักงานทางหลวง แขวงทางหลวง หมวดทางหลวง เตรียมความพร้อมเส้นทางให้สมบูรณ์ 100% ในทุกมิติโดยดำเนินการเป็นมาตรการที่เพิ่มขึ้นพิเศษจากมาตรการปกติ ดังนี้

ช่วงก่อนโครงการ 777 ยกกำลังสาม ทำการตรวจสอบความปลอดภัยเชิงลึกและเร่งปรับปรุงแก้ไข เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุตรวจสอบความครบถ้วนของป้ายเตือน และติดตั้งป้ายเตือน ไฟกระพริบ และหรือ ไฟฟ้าชั่วคราว (ถ้าจำเป็น) เพิ่มเติมในบริเวณที่เกิดเหตุบ่อยครั้งตรวจสอบระยะมองเห็นบริเวณทางแยกทางเชื่อม และปรับปรุงให้มีระยะเพียงพอในการหยุดรถได้ทันตรวจสอบผิวจราจรและไหล่ทางให้อยู่ในสภาพดี ไม่เป็นอุปสรรคต่อการขับขี่ตรวจสอบอุปกรณ์นำทางต่างๆ ให้เพียงพอในการขับขี่เวลากลางคืน

ช่วง 7 วันก่อนเทศกาลสงกรานต์ ตรวจสอบความพร้อมของเส้นทางในการอำนวยความสะดวกและปลอดภัยประชุมซักซ้อมการทำงานร่วมกันเป็นทีม One Transport ประกอบด้วย กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท กรมการขนส่งทางบก และตำรวจทางหลวง ตั้งเต็นท์อำนวยการบริเวณพื้นที่ เสริมป้าย Vinyl เตือนและรณรงค์เป็นระยะๆ ตลอดเส้นทางที่ถนนลื่นเมื่อฝนตก ให้ติดตั้งป้ายเตือนฝนตกถนนลื่นทุกระยะ 200 เมตร จนสิ้นสุดช่วงที่ถนนลื่น รวมถึงป้ายเตือนง่วงให้จอดพัก

ช่วง 7 วันระหว่างเทศกาลสงกรานต์ วิ่งตรวจเส้นทางและระยะๆ และตั้งจุดเฝ้าระวังตลอดเส้นทางประสานตั้งจุดตรวจความเร็วและความเมา พร้อมป้ายเตือน กรณีฝนตกตั้งป้ายเตือนพร้อมไฟกระพริบให้ลดความเร็ว เป็นระยะๆ เส้นทางที่มีความเสี่ยงหลับใน ให้ติดตั้งไฟกระพริบเป็นระยะ ประสานเจ้าหน้าที่กรมการขนส่งทางบก หรือตำรวจในการตั้งจุดตรวจโดยเน้นหลังเที่ยงคืน กรณีมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นต้องถึงหน้างานโดยเร็ว และรายงานรายละเอียด พร้อมสาเหตุเชิงลึก

ช่วง 7 วันหลังเทศกาลสงกรานต์ เริ่มลดระดับการเฝ้าระวังเพื่อเข้าสู่สภาวะปกติเก็บข้อมูล และสรุปข้อมูลเพื่อประเมินผล

ทั้งนี้สำหรับเส้นทางดังกล่าวประกอบด้วยเส้นทางหลวงนำร่องตามโครงการ One Transport 47 สายทางประกอบสายทางดังต่อไปนี้

ลำดับที่ 1 ทางหลวงหมายเลข 1 ตอนโนนปอแดง – ปากดง ระหว่าง กม. 386 – 394 จังหวัดกำแพงเพชร

ลำดับที่ 2 ทางหลวงหมายเลข 1 ตอนวังม่วง – แม่เชียงรายบน ระหว่าง กม.535 – 540 จังหวัดตาก

ลำดับที่ 3 ทางหลวงหมายเลข 4 ตอนหนองหมู – ห้วยยาง ระหว่าง กม. 276 +813- 295 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ลำดับที่ 4 ทางหลวงหมายเลข 4 ตอนน้ำรอด-พ่อตาหินช้าง ระหว่าง กม. 425-440 จังหวัดชุมพร

ลำดับที่ 5 ทางหลวงหมายเลข 4 ตอนเขาพับผ้า – พัทลุง ระหว่าง กม. 1158+ 1163 จังหวัดพัทลุง

ลำดับที่ 6 ทางหลวงหมายเลข 12 ตอนกลางสะพานมิตรภาพแม่สอด – แม่ละเมา ระหว่าง กม. 1- 6 จังหวัดตาก

ลำดับที่ 7 ทางหลวงหมายเลข 22 ตอนสูงเนิน – ท่าแร่ ระหว่าง กม. 161- 167 จังหวัดสกลนคร

ลำดับที่ 8 ทางหลวงหมายเลข 22 ตอนกุรุคุ – นครพนม ระหว่าง กม. 235-240 จังหวัดนครพนม

ลำดับที่ 9 ทางหลวงหมายเลข 33 ตอนบางปะหัน – โคกแดง ระหว่าง กม. 49- 62 จังหวัดอยุธยา

ลำดับที่ 10ทางหลวงหมายเลข 41 ตอนถ้ำพรรณรา – ทุ่งสง ระหว่าง กม. 264-271 จังหวัดนครศรีธรรมราช

ลำดับที่ 11 ทางหลวงหมายเลข 41 ตอนสี่แยกโพธิ์ทอง – พัทลุง ระหว่าง กม. 377- 382+616 จังหวัดพัทลุง

ลำดับที่ 12 ทางหลวงหมายเลข 43 ตอนนาหม่อม – จะนะ ระหว่าง กม. 270 – 320 จังหวัดสงขลา

ลำดับที่ 13 ทางหลวงหมายเลข 101 ตอนร้องกวาง – สวนป่า ระหว่าง กม. 283-290 จังหวัดแพร่

ลำดับที่ 14 ทางหลวงหมายเลข 118 ตอนท่าก๊อ – ดงมะดะ ระหว่าง กม. 132 + 139 จังหวัดเชียงราย

ลำดับที่ 15 ทางหลวงหมายเลข 205 ตอนโคกสวาย – ขท.นครราชสีมาที่ 1 ระหว่าง กม. 204 + 209 จังหวัดนครราชสีมา

ลำดับที่ 16 ทางหลวงหมายเลข 212 ตอนย้อมพัฒนา – นาโพธิ์ ระหว่าง กม. 406-411 จังหวัดมุกดาหาร

ลำดับที่ 17 ทางหลวงหมายเลข 212 ตอนหนองยอ – อุบลราชธานี ระหว่าง กม. 568-574 จังหวัดอุบลราชธานี

ลำดับที่ 18 ทางหลวงหมายเลข 224 ตอนพะโค – หนองสนวน ระหว่าง กม. 90- 95 จังหวัดนครราชสีมา

ลำดับที่ 19 ทางหลวงหมายเลข 226 ตอนหัวทะเล – หนองกระทิง ระหว่าง กม. 15 + 20 จังหวัดนครราชสีมา

ลำดับที่ 20 ทางหลวงหมายเลข 304 ตอนดอนขวาง – โพธิ์กลาง ระหว่าง กม.272-278 จังหวัดนครราชสีมา

ลำดับที่ 21 ทางหลวงหมายเลข 402 ตอนหมากปรก – เมืองภูเก็ต ระหว่าง กม. 30- 35 จังหวัดภูเก็ต

ลำดับที่ 22 ทางหลวงหมายเลข 1084 ตอนป่าแดง – หาดชะอม ระหว่าง กม. 5- 14 จังหวัดนครสวรรค์

ลำดับที่ 23 ทางหลวงหมายเลข 2044 ตอนร้อยเอ็ด – หนองดง ระหว่าง กม. 0+184 – 5 จังหวัดร้อยเอ็ด

ลำดับที่ 24 ทางหลวงหมายเลข 3395 ตอนวัฒนานคร – โคคลาน ระหว่าง กม. 82- 87 จังหวัดสระแก้ว

ลำดับที่ 25 ทางหลวงหมายเลข 2 ตอนสระบุรี – ตาลเดี่ยว ระหว่าง กม. 0-5 จังหวัดสระบุรี

ลำดับที่ 26 ทางหลวงหมายเลข 4 ตอนปากท่อ – สระพัง ระหว่าง กม.123-133 จังหวัดสมุทรสงคราม

ลำดับที่ 27 ทางหลวงหมายเลข 35 ตอนสะพานขึ้นแม่น้ำท่าจีน-ยาโคก ระหว่าง กม.4-5 จังหวัดสมุทรสาคร

ลำดับที่ 28 ทางหลวงหมายเลข 41 ตอนเกาะมุกข์ – ควนรา ระหว่างกม. 118 – 132 จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ลำดับที่ 29 ทางหลวงหมายเลข 101 ตอนแยกบ้านฝ้าย – ร้องกวาง ระหว่าง กม. 252 – 257 จังหวัดแพร่

ลำดับที่ 30 ทางหลวงหมายเลข 1 ตอนพาน – สันทรายหลวง ระหว่าง กม. 916- 922 จังหวัดเชียงราย

ลำดับที่ 31 ทางหลวงหมายเลข 1 ตอนแม่คำ – กลางสะพานแม่น้ำสาย ระหว่าง กม. 972 – 976จังหวัดเชียงราย

ลำดับที่ 32 ทางหลวงหมายเลข 3 ตอนชลบุรี – ศรีราชา ระหว่าง กม. 98 – 103 จังหวัดชลบุรี

ลำดับที่ 33 ทางหลวงหมายเลข 4 ตอนคลองหวะ – พังลา ระหว่าง กม. 1258+642-1263 จังหวัดสงขลา

ลำดับที่ 34 ทางหลวงหมายเลข 12 ตอนเข็กน้อย – แยกอนุสาวรีย์พ่อขุนผาเมือง ระหว่าง กม.340 – 348 จังหวัดเพชรบูรณ์

ลำดับที่ 35 ทางหลวงหมายเลข 217 ตอนวารินทร์ชำราบ – พิบูลมังสาหาร ระหว่าง กม. 22 – 37จังหวัดอุบลราชธานี

ลำดับที่ 36 ทางหลวงหมายเลข 323 ตอนแยกปากกิเลน – น้ำตกไทรโยคใหญ่ ระหว่างกม.110 – 115 จังหวัดกาญจนบุรี

ลำดับที่ 37 ทางหลวงหมายเลข 401 ตอนบางกุ้ง – เขาหัวช้าง ระหว่าง กม.175 – 180 จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ลำดับที่ 38 ทางหลวงหมายเลข 1009 ตอนจอมทอง – ดอยอินทนนท์ ระหว่าง กม. 0+5 จังหวัดเชียงใหม่

ลำดับที่ 39 ทางหลวงหมายเลข 4030 ตอนถลาง – หาดราไวย์ ระหว่าง กม. 26-28+290 และ29+790-32จังหวัดภูเก็ต

สำดับที่ 40 ทางหลวงหมายเลข 2 ตอนขอนแก่น – หินลาด ระหว่างกม. 343- 354 จังหวัดขอนแก่น

ลำดับที่ 41 ทางหลวงหมายเลข 4 ตอน สระพระ –ห้วยทรายใต้ ระหว่าง กม.187-193 จังหวัดเพชรบุรี

ลำดับที่ 42 ทางหลวงหมายเลข 1 1 ตอนบึงหลัก-หนองเขียว ระหว่าง กม.346-351 จังหวัดอุตรดิตถ์

ลำดับที่ 43 ทางหลวงหมายเลข 12 ตอนน้ำดุก – ห้วยซ้ำมะคาว ระหว่าง กม.372-375 จังหวัดเพชรบูรณ์

ลำดับที่ 44 ทางหลวงหมายเลข 32 ตอนไชโย – สิงห์ใต้ ระหว่าง กม.78- 83+900 จังหวัดอ่างทอง

ลำดับที่ 45 ทางหลวงหมายเลข 340 ตอนสาลี – สุพรรณบุรี ระหว่าง กม. 55-60 จังหวัดสุพรรณบุรี

ลำดับที่ 46 ทางหลวงหมายเลข 3312 ตอนลำลูกกา – คลองใน ระหว่าง กม.19-21 จังหวัดนครนายก

ลำดับ 47 ทางหลวงหมายเลข 4029 ตอนกระทู้ – ป่าตอง ระหว่าง กม 0.-3+236 จังหวัดภูเก็ต

โดยเส้นทางดังกล่าวที่กล่าวมาข้างต้นทั้ง 47 เส้นทางมูลเหตุการเกิดเหตุมาจาก ขับรถเร็ว หลับใน เมาสุรา ตัดหน้าในระยะกระชั้นชิด ฝ่าฝืนเครื่องหมายจราจร โดยกรมทางหลวงได้มีมาตรการในเส้นทางดังกล่าวเข้มข้นเป็นพิเศษมากขึ้นโดยติดป้ายจำกัดความเร็วมากขึ้น ตั้งจุดสกัด เพิ่มป้ายเตือน เช่น Rumble Strip ไฟกระพริบ รวมถึงติดตั้งอุปกรณ์กันชนกันตก เช่นราวกั้นอันตราย แท่งbarrier คอนกรีต เป็นต้น จัดเจ้าหน้าที่ออกตรวจโดยใช้ไฟวับวาบ ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืนเพื่อป้องกันการหลับในรวมทั้งเตือนสติผู้ขับขี่

แต่อย่างไรก็ตามกรมทางหลวง ขอให้ประชาชนผู้ใช้ทางศึกษาเส้นทางก่อนการออกเดินทาง ขับขี่ด้วยความระมัดระวัง พักผ่อนให้เพียงพอ และหากรู้สึกง่วงขณะขับรถให้จอดแวะพักในจุดบริการของกรมทางหลวง รวมทั้งต้องไม่ขับขี่ขณะมึนเมา และที่สำคัญขอให้เคารพกฎจราจร กฎหมายอย่างเคร่งครัด รวมทั้งขอความร่วมมือในการปฎิบัติตามนโยบายของกระทรวงคมนาคมได้แก่ ขับรถช้า เปิดไฟหน้า คาดเข็มขัด