ช.การช่าง-เดอะมอลล์ปลุกค้าปลีกใต้ดิน ประเดิม “ลาดพร้าว” สถานีแรกปีหน้าลุยสายสีม่วง

.การช่างโหมค้าปลีกรถไฟฟ้าใต้ดิน เร่งรีโนเวต เนรมิตพื้นที่อาคารจอดแล้วจร 2,000 ตร..สถานีลาดพร้าว ดึงกูร์เมต์ซูเปอร์มาร์เก็ต ระดับพรีเมี่ยม เครือเดอะมอลล์ รับสไตล์คนเมือง ปลายปีเปิดเชิงพาณิชย์สถานีเพชรบุรีรับสิงห์คอมเพล็กซ์ ลุยติ่งสายสีม่วง 16 สถานี ทุ่ม 300 ล้านพัฒนาเฟสแรก 8 สถานี ประเดิมเตาปูนตลาดบางใหญ่ ปี“63 ยึดสีน้ำเงินต่อขยาย 

นายณัฐวุฒิ ตรีวิศวเวทย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แบงคอก เมโทร เน็ทเวิร์คส์ จำกัด (BMN) บริษัทลูก บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) และ บมจ..การช่าง ผู้รับสัมปทานเดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน เปิดเผยประชาชาติธุรกิจว่า วันที่ 4 .. 2560 บริษัท BMN จะเซ็นสัญญากับบริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด ผู้พัฒนาธุรกิจกลุ่มฟู้ดรีเทลภายใต้แบรนด์กูร์เมต์ มาร์เก็ตร่วมเป็นพันธมิตรพัฒนาพื้นที่ซูเปอร์มาร์เก็ตที่พื้นที่อาคารจอดแล้วจรรถไฟฟ้าใต้ดินสถานีลาดพร้าว พื้นที่ประมาณ 2,000 ตร.. เป็นแห่งแรกของประเทศไทย 

ดึงซูเปอร์มาร์เก็ตพรีเมี่ยมดูดคน

ความร่วมมือครั้งนี้ เราจะปรับปรุงพัฒนาพื้นที่ให้ทางกูร์เมต์เช่าเปิดซูเปอร์มาร์เก็ต ซึ่งเป็นระดับพรีเมี่ยม รองรับไลฟ์สไตล์คนเมือง ผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าใต้ดิน รวมถึงผู้อยู่อาศัยในบริเวณโดยรอบ คาดว่าจะเปิดเดือน ก..นี้

นายณัฐวุฒิกล่าวอีกว่า ผลประกอบการ 2559 อยู่ที่ 500 ล้านบาท โต 8% หลัก ๆมาจากโฆษณาประมาณ 300 ล้านบาท โทรคมนาคม 170 ล้านบาท และรีเทล 70 ล้านบาท เนื่องจากมีการเปิดพื้นที่เชิงพาณิชย์เพิ่มอีก 2 สถานี คือ ปีที่แล้วเปิดสถานีคลองเตยกับศูนย์วัฒนธรรม ซึ่งเปิดเมื่อเดือนเม.. 2560 ยังเหลือลาดพร้าว รัชดาภิเษก ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์และเพชรบุรี

สถานีเพชรบุรีมีพื้นที่ประมาณ 1,000 ตร.. เราวางแผนจะเปิดภายในปลายปีนี้ ทำเลดีมากสามารถเดินเชื่อมกับแอร์พอร์ตลิงก์ที่มักกะสัน และโครงการสิงห์คอมเพล็กซ์ ของบริษัทสิงห์ เอสเตท ที่จะเจาะอุโมงค์ทางเดินเชื่อมทะลุสถานีรถไฟฟ้า เหมือนที่สถานีพระราม 9 จากการเซอร์เวย์พบว่าปริมาณผู้โดยสารดีมากอยู่ที่ประมาณ 2 หมื่นเที่ยวคน/วัน เป็นอันดับ 3 รองจากสถานีสุขุมวิทที่เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 4-5 หมื่นเที่ยวคน/วัน และพระราม 9 อยู่ที่กว่า 2 หมื่นเที่ยวคน/วัน


ปลายปีอวดโฉมสถานีเพชรบุรี 

สำหรับการพัฒนาจากการสำรวจ รูปแบบจะเป็นแนวไลฟ์สไตล์ตอบโจทย์ในการเดินทางที่เร่งรีบ เช่น ร้านอาหาร ร้านสะดวกซื้อลอว์สัน เน้นอาหารง่าย ๆ ร้านกาแฟอเมซอน ร้านทำผม ที่แน่ ๆ มีร้านลอว์สัน

ที่จะจับมือเป็นพันธมิตรร่วมกันทุกสถานี ล่าสุดมีจตุจักรและพหลโยธิน

ส่วนสถานีรัชดาภิเษกกับศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ รอผลการศึกษารูปแบบการพัฒนาที่เหมาะสม เนื่องจากสถานีรัชดาภิเษกอยู่ในทำเลที่ยังไม่มีเรื่องคอมเมอร์เชียล อีกทั้งปริมาณผู้โดยสารยังไม่สูงสักเท่าไหร่ ดังนั้นการไปลงทุนพัฒนาเชิงพาณิชย์ในบริเวณดังกล่าวยังค่อนข้างยากอยู่ จึงรอจังหวะและโมเดลใหม่ ๆ ที่จะปรับประยุกต์มาใช้พัฒนาสอดคล้องกับสภาพพื้นที่ในปัจจุบันได้ 

สถานีศูนย์ประชุมสิริกิติ์ดีแน่ในอนาคต เพราะมีโครงการเอฟวายไอ และศูนย์ประชุมสิริกิติ์กำลังปรับปรุงและขยายพื้นที่เพิ่มเป็นโครงการมิกซ์ยูส เราแค่รอเวลาเมื่อไหร่จะมีทราฟฟิกสูงขึ้น ซึ่ง 2 สถานีที่เหลือนี้น่าจะเป็นแผนพัฒนาของปี 2561-2562″

รีโนเวตพื้นที่สถานีรับ 3 แสนคน

นายณัฐวุฒิกล่าวอีกว่า มีแผนจะลงทุนปรับปรุงพื้นที่สถานีเชิงพาณิชย์ใหม่ทั้งหมด เนื่องจากเปิดบริการมานานแล้ว และบริเวณด้านหน้าทางเข้าก็ยังไม่ดึงดูดคนเข้ามาใช้บริการเท่าไหร่ จึงจะรีโนเวตใหม่ ซึ่งธุรกิจค้าปลีกลักษณะนี้จะต้องมีการรีโนเวตเป็นประจำ ซึ่งบริษัทเพิ่งปรับปรุงไปเมื่อ 3-4 ปีที่ผ่านมา และปัจจุบันปริมาณผู้โดยสารเพิ่มขึ้นมากอยู่ที่ประมาณ 3.3-3.5 แสนเที่ยวคน/วัน 

รายได้ปี 2560 ตั้งเป้ารายได้เติบโตประมาณ 8% หรืออยู่ที่ 530 ล้านบาท ค่าเช่ายังไม่ปรับเพิ่มขึ้นยังอยู่ที่ประมาณ 1,000 บาท/ตร..”

เท 300 ล้านพัฒนาสายสีม่วง

ขณะเดียวกันเตรียมพร้อมจะเข้าประมูลพัฒนาพื้นที่สถานีของสายสีม่วง (คลองบางไผ่เตาปูน) ระยะทาง 23 กม.จำนวน 16 สถานี ได้แก่ สถานีเตาปูน บางซ่อน วงศ์สว่าง แยกติวานนท์ กระทรวงสาธารณสุข ศูนย์ราชการนนทบุรี ศรีพรสวรรค์ แยกนนทบุรี 1 สะพานพระนั่งเกล้า ไทรม้า ท่าอิฐ บางรักใหญ่ บางพลู สามแยกบางใหญ่ ตลาดบางใหญ่ และคลองบางไผ่ รอการประกาศทีโออาร์จากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) คาดว่าอายุสัญญาเช่าจะอยู่ที่ประมาณ 5-10 ปี 

เราได้สำรวจสถานีของสายสีม่วง 16 สถานี จะแบ่งการพัฒนาตามศักยภาพ และแบ่งเป็นเฟส ซึ่งเฟสแรกจะใช้เงินลงทุนประมาณ 300 ล้านบาท พัฒนาประมาณ 8 สถานี เช่น เตาปูนเพราะเป็นสถานีขนาดใหญ่เชื่อมสีม่วงกับน้ำเงิน มีศักยภาพที่ดีในการพัฒนามากกว่าสถานีอื่น ๆ รวมถึงสถานีตลาดบางใหญ่ที่อยู่ใกล้ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวสต์เกต ส่วนที่เหลือจะตามมาเป็นเฟสต่อไป

แต่งตัวรอสายสีน้ำเงินต่อขยาย

สำหรับพื้นที่เชิงพาณิชย์สายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายบางซื่อท่าพระและหัวลำโพงบางแค ระยะทาง 27 กม. จำนวน 21 สถานี ซึ่ง BEM ได้รับสัมปทานเดินรถและบริหารพื้นที่สถานีนั้น ในส่วนของ BMN จะได้รับสัมปทานต่อจาก BEM ให้พัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ รวมถึงพื้นที่โฆษณาในสถานีและขบวนรถ จะทำให้รายได้ BMN มีการเติบโตก้าวกระโดด เนื่องจากงานเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว แต่ต้องรอเวลาอีก 2 ปีเพราะจะเปิดบริการทั้งโครงการปี 2563

ในแง่รายได้คงไม่ดีเท่ากับสีน้ำเงินปัจจุบัน เพราะสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย แนวเส้นทางพาดผ่านพื้นที่นอกเมืองมากกว่า รายได้คงจะไม่ดับเบิล ถึงแม้ว่าพื้นที่โฆษณาต่าง ๆ จะดับเบิลก็ตาม เนื่องจากศักยภาพของการทำรายได้พื้นที่โฆษณาส่วนต่อขยายอยู่นอกเมือง จะโตเหมือนย่านรัชดาภิเษก สุขุมวิทคงไม่ได้

ทั้งนี้ตลอดเส้นทางมี 21 สถานีจากการทำรายละเอียดแล้ว คงไม่สามารถนำมาพัฒนาเชิงพาณิชย์ได้ทุกสถานี โดยจะสามารถพัฒนาพื้นที่รูปแบบเมโทรมอลล์ได้จำนวน 2 สถานีที่เป็นสถานีใต้ดิน คือ สถานีสามยอด กับสถานีอิสรภาพ ส่วนสถานีที่เหลือจะเป็นแบบลอยฟ้า รูปแบบการพัฒนาจะเป็นลักษณะร้านค้าขนาดเล็กเหมือนสถานีของรถไฟฟ้าบีทีเอส