MQDC พัฒนานวัตกรรมหุ่นยนต์อัจฉริยะเพื่อที่อยู่อาศัย เตรียมเปิดตัวหุ่นยนต์ รปภ.ไตรมาส 4 ปีนี้

บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ผู้พัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในระดับสากล เผยเทคโนโลยีหุ่นยนต์ที่พัฒนามาเพื่อโครงการที่อยู่อาศัย โดยบริษัทร่วมพัฒนาในบริษัทหุ้นส่วน Obodroid เตรียมเริ่มใช้งานหุ่นยนต์ที่โครงการวิสซ์ดอมอเวนิว รัชดา-ลาดพร้าว และจะมีการเปิดตัวต่อสาธารณะในไตรมาส 4 ปีนี้ จะมีการเปิดตัวหุ่นยนต์ รปภ.เป็นกลุ่มแรก แต่ MQDC และ Obodroid มีแผนที่จะพัฒนาระบบดูแลที่จอดรถอัตโนมัติและหุ่นยนต์บัตเลอร์ในอนาคต

หุ่นยนต์ รปภ.มีความสูงราว 150 ซม. เพื่อที่จะทำให้มีรูปลักษณ์ที่ดูจริงจังและน่าเชื่อถือมากขึ้น

“หุ่นยนต์เหล่านี้ไม่สามารถจับผู้ร้ายได้ แต่สามารถส่งสัญญาณแจ้งเหตุ บันทึกภาพ และติดตามเป้าหมาย เพื่อที่จะช่วยผู้คนในเหตุฉุกเฉินได้” นายพลณัฏฐ์กล่าว

การทดสอบหุ่นยนต์สูง 90 ซม. ที่งาน TEDx ที่จัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ ที่ Siam One ได้รับการตอบรับที่ดีมาก คุณพลณัฏฐ์ เฉลิมวรรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Obodriod กล่าว “เราได้ทดสอบลักษณะการตอบสนอง 4 รูปแบบของหุ่นยนต์ เพื่อดูว่าผู้คนจะมีการตอบสนองอย่างไร เราพบว่าหุ่นยนต์สามารถเข้ากับผู้คนได้ดี และผู้เข้าร่วมงาน TEDx ก็ชอบเล่นและสื่อสารพูดคุยกับหุ่นยนต์ของเรา”

คุณไอยริน จันทานแก้ว ผู้ออกแบบคิดค้นจาก Obodroid ได้สร้างหุ่นยนต์ให้สวยงามและทันสมัยตรงตามรสนิยมของคนสมัยใหม่

ดร.มหิศร ว่องผาติ ผู้ร่วมก่อตั้ง HG Robotics กล่าวว่า หุ่นยนต์ในที่อยู่อาศัยนั้นได้ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยที่มีการใช้ในกิจกรรมทางการทหารมาก่อน

“เราเคยสร้าง เครื่องบินไร้คนขับ (Unmanned Aerial Vehicles: UAVs) ขนาด 6 เมตร ให้กองทัพไทยโดรนไร้คนขับ และเรือไร้คนขับมาก่อน เรามองว่าหุ่นยนต์ทั้งหมดถูกสร้างมาจากระบบควบคุมและสังเกตุการณ์แบบเดียวกัน”

สำหรับหุ่นยนต์ในที่อยู่อาศัย นายมหิศรกล่าวถึงงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่า “รปภ.มีหน้าที่มากกว่าการรักษาความปลอดภัยในคอนโด รปภ.มีหน้าที่หลายอย่างมาก รวมถึงการช่วยโบกรถ ถ้ามีคนจอดผิดที่หรือขวางรถคันอื่น”

สำหรับหุ่นยนต์ รปภ.ของ MQDC มารยาทถือเป็นสิ่งสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน “การปรับให้หุ่นยนต์เข้ากับวัฒนธรรมของท้องถิ่นนับเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการพัฒนาเทคโนโลยีหุ่นยนต์ หุ่นยนต์ไทยต้องสุภาพ อย่างโรงแรมหรูๆ นั้นปกติมีป้ายน้อยทำให้แขกต้องคอยสอบถามข้อมูลต่างๆ จากพนักงาน ซึ่งหุ่นยนต์สามารถทำงานนี้ได้เป็นอย่างดี” นายมหิศรกล่าว

ทั้งนี้ นายมหิศรได้ลงแข่งขันหุ่นยนต์ตั้งแต่ยังศึกษาในระดับปริญญาตรี และได้สำเร็จการศึกษาปริญญาเอกในสาขาที่เกี่ยวข้องกับหุ่นยนต์ เขาได้ทำงานกับบริษัท NDR ซึ่งเป็นบริษัทพัฒนาระบบจักรกล และ Toshiba TEC เพื่อพัฒนาระบบหุ่นยนต์รถเข็นซื้อของที่ประเทศญี่ปุ่น

เขากล่าวว่า “ผมอ่านหนังสือการ์ตูนโดราเอมอนตอนเด็กๆ และผมอยากได้เป็นของผมเองซักตัว”

“ปัจจุบัน กว่า 20-30% ของของวิเศษของโดราเอมอนนั้นได้เกิดขึ้นจริงในโลกทุกวันนี้แล้ว เราจะมีหุ่นยนต์บัตเลอร์ในอีก 2-3 ปีข้างหน้า”

MQDC กำลังลงทุนในเทคโนโลยีหุ่นยนต์ด้วยความมุ่งมั่นในการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ยั่งยืน ซึ่งเป็นนโยบายที่บริษัท ฯ ยึดมั่น โดยมีจุดมุ่งหมายหลัก เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และความเป็นอยู่ที่ดีแบบยั่งยืน