“ไตรรัตน์” เผยผู้สูงวัยติดถิ่น อยากอยู่บ้านตัวเอง 97% แนะลูกหลานปรับปรุงบ้าน-ทำเดย์แคร์ งบอย่างต่ำ2แสน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) จัดสัมมนาหัวข้อ “ทิศทางการพัฒนาที่อยู่อาศัย เพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ” โดย รศ.ไตรรัตน์ จารุทัศน์ หัวหน้าหน่วยวิจัยสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุและผู้พิการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ปี 2496 เริ่มประเทศไทยเริ่มทำบ้านบางแค ปัจจุบันมีผู้สูงอายุมากกว่าเด็ก เรียกปรากฎการณ์สังคมสูงวัย เกิด 3 อย่างพร้อมกัน คือผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น เด็กน้อยลง แรงงานน้อยลงด้วย ถ้าวางแผนไม่ดีจะเกิดภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว

โดยปี 2546 มีผู้สูงอายุ 10% ประเทศไทยยังไม่ตระหนักมาก อีกแปดปีหน้าหรือปี 2568 เพิ่มเป็น 20% แนวโน้มปี 2578 เพิ่มเป็น 30% สาเหตุเพราะยุคเบบี้บูมเมืองไทยซึ่งเกิดล่าช้ากว่าญี่ปุ่นและอเมริกา หรือเกิดปี 2506-2526 เรียกว่าเป็นรุ่น 1 ปัจจุบันอายุ 55-80 ปี ตอนนี้อยู่ในช่วงรุ่น 2 อายุ 38-54 ปี

โดยรุ่น 1 อายุ 55-80 ปี เกิดหลังสงครามโลกครั้งที่สอง มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เศรษฐกิจชะลอตัว ส่วนใหญ่ประชากรทำอาชีพภาคเกษตร รุ่น 2 อายุ 34-54 ปี เติบโตตามสภาพสังคมและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงมาก ตอนนี้เริ่มมีการดัสรัปต์เกิดเยอะมาก โดยเฉพาะยุคออนไลน์ คำถามสำคัญคือคนสูงวัยจะอยู่อย่างไร

ลำดับบ้านผู้สูงอายุ ปี 2496-2498 มีบ้านบางแค บ้านธรรมปกรณ์, หลังนั้นห่างกัน 41 ปีเริ่มมีการพัฒนาโครงการในปี 2537 จนถึงปี 2548-2550-2554 ล่าสุดปีนี้กำลังมีซันเพลย์ 70 ยูนิต จิณณ์ 1,300 ยูนิต และกมลาซีเนียร์ ลิฟวิ่ง

ปัจจุบันมีสถานสงเคราะห์คนชรา 20 แห่ง รับได้แค่ 2,285 คน หลังจากนั้นมีสวางคนิเวศ เฟสหนึ่ง-สอง คีย์ซักเซสคือ แบรนดิ้งสภากาชาด, ทำเลสมบูรณ์แบบ 80 ไร่ บริจาคโดยมูลนิธิอื้อจือเหลียง มีวัดอโศการาม ปีหน้ารถไฟฟ้าบีทีเอส-บางปูแล้วเสร็จ ทำให้น่าอยู่มากขึ้น

นอกจากนี้มีเวลเนสซิตี้ อยุธยา, บุศยานิเวศน์ ปัยยิกา เริ่มเป็นโครงการที่ผู้สูงอายุเริ่มพึ่งพา 2-3 หมื่นบาท/เดือน มีบ้านวิลล่า มีสุข เชียงใหม่ และกำลังจะมีโครงการซันเพลย์, จิณณ์ เวลบีอิ้งฯลฯ

ชุมชนผู้สูงอายุมี CCRC หรือระบบการดูแลอย่างต่อเนื่อง (Continuing Care Retirement Commynities) เปรียบเทียบต่างชาติอยู่กันอย่างไร พบว่า ตัวอย่างอเมริกา อยู่กันเป็นชุมชน 104 ยูนิต, ในญี่ปุ่นมีหลายเฟส ทั้ง 100-200-300 ยูนิต มีเดย์แคร์เกิดขึ้นตามเทศบาล ชุมชนต่างๆ

ทั้งนี้ ปลายปีจะเกิดเดย์แคร์ที่บึงยี่โถ ซึ่งมีแล้วสองแห่งกำลังจะมีแห่งที่ 3 เกิดจากการสังสรรค์ ทั้งนี้ มีซีเนียร์เดย์แคร์ของคนกรุงเทพฯ เกิดแห่งแรกที่สปอร์ตคลับ ถนนอังรีดูนังต์

บรูมเบิร์กเผยแพร่รายงานค่าใช้จ่ายผู้สูงอายุ พบว่า อเมริกามีประกันผู้สูงอายุ ในขณะที่ทิศทางการพัฒนาผู้สูงอายุไทย ข้อมูลพบว่าคนชนบทผู้สูงอายุชอบอยู่บ้านตัวเอง 92% ในเมือง 72% คนญี่ปุ่นเกิน 75% อเมริกาเกิน 95% อยากอยู่บ้านตัวเอง เพราะธุรกิจเฮลท์แคร์บูมมาก

ทำให้เริ่มมีธุริจปรับปรุงบ้าน และทำเดย์แคร์ จึงขอฝากให้บุตรหลานหันมาเน้นการปรับปรุงบ้านให้กับผู้สูงอายุในบ้าน วันพ่อปีนี้และปลายปีจะมีช็อปช่วยชาติ คาดว่าจะมีการใช้เงินครัวเรือนละ 2 แสนบาท เพื่อปรับปรุงบ้าน

ทิศทางต่อมา สนับสนุนการสร้างชุมชนผู้สูงวัย แบ่งเป็นกลุ่มที่อยู่อย่างอิสระ ไม่พึ่งพา, อีกกลุ่มคืออยู่อย่างพึ่งพา และอยู่ในการดูแลของแพทย์ คีย์เวิร์ดของเดย์แคร์คือบรรยากาศต้องเป็นบ้าน ไม่ทำตึกสูง

สำรวจจากลูกค้าผู้สูงวัยต่างชาติที่มาพักอาศัยในบ้านเรา ซีเนียร์ลิฟวิ่งหลายคนคิดว่าง่ายแต่ความจริงยากมาก นอกจากทำเล โปรดักต์ ราคา ดีเวลอปเปอร์เก่งแล้ว แต่ยังขาดเรื่องเซอร์วิสที่ผู้สูงวัยต้องการอย่างมากที่สุด


ดังนั้น โครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยผู้สูงวัยต้องเริ่มจาก T-trust ความเชื่อถือ B-Brand ตรายี่ห้อ T-team ทีมงานพร้อมทั้งทีมโปรดักต์และทีมบริการ S-system ระบบดูแลครบวงจร