คลังยัน กม.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างไม่ได้เลื่อน เป้าหมายบังคับใช้ภายในปี 2562

ดร.พรชัย ฐีระเวช ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กระทรวงการคลัง บรรยายหัวข้อ “เจาะลึกร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และข้อยกเว้น ลดหย่อน ขั้นตอนกระบวนการประเมินค่า เรียกเก็บ และชำระภาษีอย่างไร” มีรายละเอียด ดังนี้
ภาษีที่ดินฯ กลัวภาษีแพง กลัวจ่ายภาษีไม่ถูก ย้อนหลังเราเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครปี 2543 มีคนใช้สิทธิ์ 40% มีสถิติคนมีที่ดินเกิน 50 ตารางวาจำนวน 3 แสนคน จากผู้ใช้สิทธิ์เลือกตั้ง 10 ล้านคน ถ้ากม.ใหม่นี้มาบังคับใช้ และทดแทนภาษีบำรุงท้องที่และภาษีโรงเรือนจะหายไป
 
ภาษีบำรุงท้องที่เก็บจากการใช้ที่ดิน ปัจจุบันใช้ราคาประเมินปี 2521-2524 เป็นฐานคำนวณภาษี เป็นการใช้ราคาประเมิน 40 ปีที่แล้ว ทั่วประเทศเก็บได้ 900 ล้านบาท ในเขตกทม.เก็บได้หลัก 100 ล้านบาท น้อยมาก
 
ภาษีโรงเรือนฯ ทั่วประเทศ 2.7 หมื่นล้านบาท ในกทม. 1.2 หมื่นล้านบาท เกือบครึ่งของภาษีตัวนี้
 
ถ้าเราใช้ราคาปานกลางในการคำนวณภาษีบำรุงท้องที่ ปี 21-24 ปี 2559 กระทรวงมหาดไทยทดลองใช้ราคาประเมินปัจจุบันจะมีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างมาก จึงหันมาใช้ราคาปานกลางในการจัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่ เพื่อสะท้อนราคาอสังหาริมทรัพย์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างมากในปัจจุบัน นั่นคือข้อมูลที่ใช้คำนวณเก็บภาษีบำรุงท้องที่เป็นข้อมูลเก่า
 
ผมเชื่อว่าคนคงไม่ชอบแน่ๆ ถ้าที่ดินติดกันเพื่อนบ้านเสียภาษีน้อยกว่า แต่ภาษีใหม่จะรู้ได้ทันทีว่าข้างบ้านราคาประเมินเท่าไหร่ เสียภาษีเท่าไหร่ เราจะให้มีการประกาศในพื้นที่มีทรัพย์สินอะไร ราคาประเมิน เสียภาษีเท่าไหร่ เราและคนอื่นดูได้เพื่อลดการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่
 
ดร.พรชัยกล่าวว่า ภาษีโรงเรือนและที่ดิน เก็บจากค่าเช่า 12.5% ยังมีรายละเอียดปลีกย่อยในการคำนวณภาษี มีปัญหาในการจัดเก็บรายได้
 
เปรียบเทียบงบประมาณ กทม.ปีละ 7 หมื่นล้านบาท แต่จัดเก็บเองเพียง 1.2 หมื่นล้าน จากผู้เสียภาษีปีละ 3 แสนกว่าคนเท่านั้นเอง ปูพื้นฐานเพื่อให้เข้าใจถึงการเตรียมบังคับใช้ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
 
มีผู้ให้ข่าวว่า รัฐบาลจะเลื่อนการบังคับใช้ภาษี ขอเรียนยืนยันว่าไม่ได้ประกาศเลื่อนใช้ เพราะกม.อยู่ในขั้นตอนพิจารณาของสนช. ต้องทำความเข้าใจเพราะจะนิ่งนอนใจเกินไป โดยเป้าหมายยังอยู่ที่ผลักดันบังคับใช้ภายในปี 2562