ธนารักษ์ย้ำ! 1 ม.ค. 61 พร้อมบังคับใช้กม.ภาษีที่ดินฯ ใช้เกณฑ์ราคาเดียวคำนวณภาษี

ธนารักษ์ย้ำ 1 ม.ค. 61 พร้อมบังคับใช้กม.ภาษีที่ดินฯ ใช้เกณฑ์ราคาเดียวคำนวณภาษี เผยสิ่งปลูกสร้างเฉลี่ย 7.2-7.8 พัน/ตรม. โรงแรม 8.9 พัน/ตรม.

สภาหอการค้าไทยจัดสัมมนาหัวข้อ “เจาะลึกภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง” เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2560 นางวิลาวัลย์ วีระกุล ผู้อำนวยการสักงานประเมินราคาทรัพย์สิน กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง บรรยายหัวข้อ “เจาะลึกร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และข้อยกเว้น ลดหย่อน ขั้นตอนกระบวนการประเมินค่า เรียกเก็บ และชำระภาษีอย่างไร” มีรายละเอียด ดังนี้

ปัจจุบัน กรมธนารักษ์ได้ทำราคาประเมินไม่ค่อยเป็นไปตามราคาตลาด แต่ราคาประเมินมาจากการแจ้งของเจ้าของทรัพย์สิน ว่าท่านยอมรับว่าจะเสียภาษีเท่านี้ในการจดทะเบียนและนิติกรรม กรมจึงใช้เกณฑ์นี้เป็นฐานคำนวณ ผ่าน 2 คณะกรรมการ 1.ในเขตกทม. มีปลัดกทม.เป็นประธาน ดูแลราคาประเมินในเขตกรุงเทพมหานคร จึงต้องบอกว่าเป็นธรรมที่สุดแล้วในการจัดเก็บภาษี แต่อาจไม่เป็นธรรมในการเวนคืน เพราะมีสำนักประเมินสำนักเดียวที่ทำให้ คนที่ถูกเวนคืนจะอุทธรณ์อยู่เสมอ

ดังนั้น ราคาประเมินที่ดิน หายท่านคงคุ้นเคย และราคาไม่ได้สูงกว่าราคาซื้อขาย

เวลาพิจารณามูลค่าทรัพย์สิน ให้คำนึงว่าใช้ตาม “บัญชีราคาประเมิน” เท่านั้น ประเด็นคือทำให้โปร่งใสได้ยังไง รับมอบหมายจาก รมว.คลัง 1.ต้องทำราคาประเมินรายแปลงทั้งประเทศ เป้าหมาย 1 มกราคม 2561 จะประกาศรายแปลงทั้งประเทศ

ทั้งนี้ ยี่สิบปีที่แล้วประเมินได้ปีละ 4-5 แสนแปลง ปัจจุบันทำได้ปีละ 2 ล้านแปลง วันนี้ได้รับโจทย์ 13.4 ล้านแปลงต้องทำสำเร็จให้ได้ใน 1 ปี วิธีการอย่างแรก ใช้วิธีการเอาต์ซอร์ส งบกลาง 800 กว่าล้านบาท จ้างบริษัททำฐานข้อมูล เปลี่ยนวิธีการจากใช้คน แมนนวล มาใช้โปรแกรมบนมาตรฐานสากล ทุกอย่างทำบนเทคโนโลยี ไอแพด การตรวจเช็กข้อมูลเวลาเจ้าหน้าที่ออกไปทำงาน เราสามารถตรวจสอบได้ว่าเข้าพื้นที่จริงหรือไม่ เวลาถ่ายรูปมีจีพีเอสแสดงชัดเจน

วันนี้คืบหน้า 70% เหลือเวลาทำงานอีก 4 เดือน ยังมีรายบล็อก ถ53 จังหวัด เดือนกันยายจะทำให้เสร็จ และเดินหน้าเพื่อให้สามารถประกาศบังคับใช้วันที่ 1 มกราคม 2561 ถึงตอนนั้น เจ้าของทรัพย์สินสามารถเข้าดูที่ดินรายแปลงของท่านได้

สำหรับผู้ที่มีโฉนดเยอะๆ ยังไม่ได้นำไปเปลี่ยนเป็นระวางยูทีเอ็ม ควรนำไปเปลี่ยนจากระบบศูนย์กำเนิด หรือ 3 น 3 ก มาเป็นระบบ UPM-ระบบแผนที่ของกรมที่ดินซึ่งเป็นระบบซีรีส์ เปลี่ยนได้ที่กรมที่ดิน

ถ้าหากไม่มาเปลี่ยนโฉนดเข้าสู่ระบบ UPM เลขที่ดินของแบบเก่าหรือศูนย์กำเนิดจะไม่ตรงกับระบบใหม่ สามารถยื่นคำขอ 10 บาทก็เปลี่ยนเข้าสู่เทคโนโลยีใหม่แล้ว

ทั้งนี้ บุคลากรทั้งหมดที่มีใช้เพื่องานนี้ เพื่อให้มีความโปร่งใส่ ไม่ต้องให้ใครมาตีราคาที่ดินโดยไม่รู้ว่ามีมูลค่าเท่าไหร่

เรื่องที่สอง “โรงเรือนและสิ่งปลูกสร้าง”​ ทางสำนักประเมิน กรมธนารักษ์เป็นผู้กำหนด สำหรับที่อยู่อาศัย ราคาตั้งแต่ 7,200-7,800 บาท/ตรม. โดยไม่ได้แยกประเภทอาคาร เช่น ครึ่งตึกครึ่งไม้ ปูนล้วน ฯลฯ

ทั้งนี้ บัญชีสิ่งปลูกสร้างได้รับนโยบายให้ง่ายที่สุด สะดวกใช้ โดยหน่วยงานท้องถิ่นหรือ อปท. เช่น บ้านเดี่ยว มี 1 ราคาหรือราคาเดียวต่อตารางเมตร แถมยังมีค่าเสื่อมราคาด้วย โดยได้จัดอบรม อปท. 4 เดือน 34 รุ่น ให้ทุก อปท. 1,700 อปท. ให้มีองค์ความรู้ด้านนี้ให้มีความพร้อม ทุกอปท.มีความรู้แล้ว วันนี้เราแยกบัญชีราคาให้เสร็จแล้ว วันนี้สามารถดูรายละเอียด รายแปลงสำหรับที่ดิน และรายแปลงสำหรับสิ่งปลูกสร้าง

เดิมบัญชีอาคาร 69 แบบเหลือ 31 แบบ เช่น ที่อยู่อาศัย บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์​ บ้านแถว (รวมบ้านแฝด) ตึกแถว แค่สี่ประเภท ราคาประเมินจะเปลี่ยนทุก 4 ปี ดังนั้นจึงเสียภาษีน้อยมาก แถมมีค่าเสื่อมราคาอีก เช่น อาคารคอนกรีต อายุการใช้งาน 47 ปี หลังจากนั้นเหลือแค่ 24% (ราคาซาก) ถ้ามีการขายต่อราคาภาษีก็เป็นไปตามซาก

บ้านไม้ อายุ 18 ปี ถูกหัก 80-90% ทำให้สิ่งปลูกสร้างมีผลกระทบจากภาษีที่ดินฯ​น้อยมาก , โรงแรม 8,900 บาท/ตารางเมตร เป็นต้น ฉะนัน้ ราคาที่คนคิดว่ามูลค่าทรัพย์สินพันล้านอาจไม่ใช่สิ่งปลูกสร้าง แต่เป็นราคาที่ดิน ขณะที่ราคาที่ดินก็เป็นไปตามที่จดแจ้งในการเสียภาษีเช่นกัน

ทั้งนี้ ทำเลใดที่มีการพัฒนาเพิ่มขึ้น ก็จะตามไปปรับราคาประเมิน