AWC ควีน ออฟ มิกซ์ยูสโปรเจ็กต์ Super Productive ก้าวข้ามพายุเศรษฐกิจ

สัมมนาใหญ่แห่งปี “Thailand 2020 # ก้าวข้ามพายุเศรษฐกิจ” จัดโดยหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2562 ที่ผ่านมา โดยวงการอสังหาริมทรัพย์ได้รับเกียรติจาก “วัลลภา ไตรโสรัส” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) หรือ AWC ร่วมเปิดมุมมองในหัวข้อ “Super Productive ก้าวข้ามพายุเศรษฐกิจ”

Building a Better Future

“อสังหาริมทรัพย์เป็นการลงทุนระยะยาว AWC ตระหนักและให้ความสำคัญในเรื่องคุณค่าของการพัฒนาโครงการจะถูกส่งต่อรุ่นสู่รุ่น วันนี้คำถามคือ เราจะก้าวข้ามพายุเศรษฐกิจนี้ได้ยังไง…”

มุมมอง CEO AWC ไซเคิลธุรกิจพร็อพเพอร์ตี้จะสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ สังคม และชุมชน เป็นที่มาของบิสสิเนสโมเดลภายใต้สโลแกน “Building a Better Future” ร่วมกันสร้างอนาคตที่ดีกว่า เป็นคอนเซ็ปต์ที่ต้องการมีส่วนช่วยผลักดันให้เกิดโครงการเพื่อสังคมและช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตทั่วประเทศไทย

ทั้งนี้ AWC มีความเชื่อมั่นศักยภาพและความแข็งแกร่งของประเทศไทย โดยเฉพาะเซ็กเตอร์ท่องเที่ยว ซึ่งประเทศไทยมีสถิติการเติบโต high growth ระดับโลก เป็นประเทศเป้าหมายด้านการท่องเที่ยวติดอันดับ 3 ปีซ้อน, เมืองท่องเที่ยวชั้นนำอย่างกรุงเทพฯ ภูเก็ต และพัทยา ติดอันดับท็อป 20 ของเมืองที่นักท่องเที่ยวทั่วโลกอยากมาเยือน

ที่น่าสนใจมากที่สุด ธุรกิจจัดประชุมและสัมมนาและการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล หรือ MICE-Meeting, Incentive Travel, Convention and Exhibition ของประเทศไทยมีอัตราการเติบโตสูงถึง 48% ต่อปี ซึ่งก้าวกระโดดมาก มีอัตราการเติบโตของการใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยวเติบโต 4.4 เท่า ในรอบสิบปี

โดยธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในเครือ AWC ที่พัฒนาเป็นไปในเชิงอสังหาฯ ไลฟ์สไตล์ เมื่อมองถึงศักยภาพตรงนี้ เราจึงสร้างอนาคตที่ดีกว่าให้กับประเทศด้วยการสร้างสินค้า-อสังหาริมทรัพย์ที่มีคุณภาพมาตรฐานระดับโลก ซึ่งถือว่าเราจะเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างขีดการแข่งขันให้กับประเทศไทย

พอร์ตอสังหาฯใหญ่สุดในไทย

ในพอร์ตของบริษัทปัจจุบันแบ่งเป็น 4 พอร์ตหลักด้วยกัน แบ่งเป็นโรงแรม 14 แห่ง จำนวนห้องพักรวม 4,421 ห้องพัก, ธุรกิจรีเทล 9 แห่ง พื้นที่รวม 198,781 ตารางเมตร, ธุรกิจอาคารสำนักงานให้เช่า 4 แห่ง พื้นที่รวม 270,594 ตารางเมตร และมีโครงการพร็อพเพอร์ตี้ที่อยู่ระหว่างการลงทุนในช่วง 5 ปีอีก 13 โครงการ ถือเป็นพอร์ตใหญ่สุดของประเทศ

ตัวอย่างโครงการสำคัญ ๆ เช่น โรงแรม Bangkok Marriott Marquis Queen”s Park ที่เปลี่ยนจากโรงแรมอิมพีเรียล ควีนปาร์คเดิม ตั้งเป้าให้เป็น Best Convention Hotel และได้รับรางวัล Best Convention Hotel Asia ถือว่าได้มาตรฐานระดับโลก

หรือโครงการ ASIATIQUE The Riverfront เน้นการสร้าง detination ดึงคนให้ออกจากบ้าน ละจากมือถือ แล้วให้มาอยู่ในที่ของเราให้มีความสุข ได้ใช้เวลากับครอบครัว ตรงนี้คือคอนเซ็ปต์ที่เราจะสร้าง เพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของคนไทยและโลก และเป็นจุดหนึ่งที่มองว่าศักยภาพที่จะสามารถดึงนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกให้เข้ามาในประเทศ ก็ถือเป็นความตั้งใจของ AWC

จากจุดนี้ทำให้เราได้ตัวเลขนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 70% และได้รางวัล Best Shopping Destination in Asia จาก TripAdvisor ด้วย และกำลังจะมีแผนที่จะขยายต่อเนื่องออกไปอีกประมาณ 90,000 ตารางเมตร และมีแผนสร้างโรงแรม convention hotel by the river เพื่อเป็นแลนด์มาร์กใหม่ของริมแม่น้ำเจ้าพระยา

หรืออีกแห่งหนึ่งที่เพิ่งเปิดเมื่อปีที่แล้วคือโรงแรม Marriott Bangkok The Surawong ทำเลจุดนี้ครอบครัวซื้อที่ดินไว้เมื่อ 26 ปีก่อน มีการใช้โดรนขึ้นไปบินสำรวจและเช็กวิวก่อนจะพัฒนาโครงการ ซึ่งหลังจากเปิดได้แค่ 2 เดือนก็ได้รับรางวัล Best Hotel in Bangkok จาก Tripadvisor และห้องอาหารจีนของโรงแรมก็ยังได้รับรางวัล Best Chinese Restaurant สามารถช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาใช้บริการได้ และยังมีแผนของโครงการอื่นที่จะพัฒนาอีก

นอกจากนี้การพัฒนาของเราอยากเน้นเรื่องของ sustainable value อย่างโรงแรมที่จัดงานเสวนาในวันนี้ โรงแรม The Athenee Hotel, Luxury Collection Hotel Bangkok ก็ได้รับรางวัล Best Sustain-able Asia Pacific Award เป็นโฟกัสที่ร่วมกับพาร์ตเนอร์ทั้งหมดในรูปแบบ sustain ability โดยรวมแล้วเราจึงเชื่อมั่นว่า building a Better for the Country สำหรับไทยเรา จึงเป็นการรวมพลังและสร้างให้เป็นจุดหมายปลายทางให้กับโลก อันนี้เป็นมุมของการสร้าง quanlity ของ product

เป้าโต 2 เท่าทั้งโรงแรม-รีเทล

อีกมุมหนึ่ง ไปป์ไลน์แผนธุรกิจเพื่อสร้างการเติบโตได้อย่างต่อเนื่องในระยะยาว กับบทบาทในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ซึ่งขีดความสามารถในการแข่งขันจริง ๆ คือการมี facility ที่พร้อม วันนี้ประเทศไทยเราเป็นศูนย์กลางของภูมิภาค เราอยู่ในระดับเศรษฐกิจที่น่าตื่นเต้นและมีเสน่ห์ อาหารอร่อย คนไทยมีรอยยิ้ม และมีคัลเจอร์ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกอยู่แล้ว สิ่งสำคัญคือเราจะเสริม facility เข้าไปในแต่ละเมืองอย่างไร จะมีส่วนร่วมในการสร้างงานให้กับ exotic destination ที่กำลังเติบโตทั่วประเทศได้ยังไง

และแผนโตในระยะสั้น กลาง และยาว ณ ปัจจุบัน เรามีแผนธุรกิจที่จะเติบโตในส่วนของห้องพักโรงแรม 2 เท่า และพื้นที่ค้าปลีกเพิ่มขึ้นอีก 2 เท่าเช่นเดียวกัน โดย AWC มีโครงการใหญ่ที่สุดเป็นโครงการมิกซ์ดีเวลอปในพัทยา ทำเลที่มีพื้นที่ต่อเนื่องกับโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษหรือ EEC ตั้งเป้าให้เป็นทั้ง best and biggest hotel in the beach เพื่อดึงกลุ่มนักท่องเที่ยวเป้าหมายระดับโลก แล้วสร้าง destination ใหม่ ๆ

ที่ผ่านมา ในช่วง 5 ปีเราพัฒนาไปแล้ว 30 กว่าโครงการ ลงทุนรวมมากกว่า 30,000 ล้านบาท ล่าสุด AWC เพิ่งเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯจึงได้เห็นบทวิเคราะห์ว่า การพัฒนาของเราถือเป็นครึ่งหนึ่งของตลาด ส่วนคุณภาพก็เป็น best posi-tioning ในตลาดหลักทรัพย์ฯ

300 ล้านลูกค้าทำไดเร็กต์บุ๊กกิ้ง

อีกมุมหนึ่ง เรากำลังร่วมกับพันธมิตรระดับโลก เพื่อสร้างเครือข่าย 300 กว่าล้านเมมเบอร์ เพื่อยกระดับและขอบข่ายการแข่งขันไปสู่เวทีระดับโลก เพราะเราเจอ disrupt ในธุรกิจท่องเที่ยวด้วย ซึ่งขณะนี้ถือเป็นกลยุทธ์หลักในการดึงกลุ่มเป้าหมายระดับโลก และใช้เครือข่ายเหล่านี้ในการต่อสู้กับ disruptive

เราเป็นพัธมิตรกับเชนโรงแรมระดับโลก 6 แห่ง ได้แก่ Marriott International Inc. (รวมถึงกลุ่ม Starwood) ฮิลตัน อินเตอร์คอนติเนนตัล โฮเต็ล กรุ๊ป มีเลีย บันยันทรี และโอกุระ และคุยกับเจ้าอื่น ๆ ที่อยากจะเข้ามาร่วม เพราะว่าเขามองว่าไทยเป็นจุดสนใจของการท่องเที่ยว ถ้าได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งก็จะถือเป็นจุดโฟกัสหลักของเขาไป เครือข่ายพันธมิตรดังกล่าวช่วยให้ AWC สามารถออกแบบและพัฒนาโครงการที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ

ซึ่งการร่วมมือกับพันธมิตรระดับโลก เพื่อพัฒนามาตรฐานการทำงานในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว แอปพลาย best practices จากหนึ่งเชนไปอีกหนึ่งเชน ยกตัวอย่าง โรงแรมอิมพีเรียล ควีนส์ปาร์คเดิม การรีโนเวตเราพยายามรักษาทุกอย่างไว้ให้มากที่สุด เก็บเสาเดิม เติมการดีไซน์และการตกแต่งตามมาตรฐานเวิลด์คลาสเข้าไป

โดย AWC เชื่อว่า สถานการณ์ภายในประเทศกำลังดีขึ้น อย่างที่ทราบกันดีว่าประเทศไทยตอนต้นปีมีการเลือกตั้งใหญ่ ทุกอย่างก็ดำเนินไปโดยคาดว่าในช่วงไตรมาส 3 ของปีนี้ และจะเห็นการเติบโตมากขึ้น เทรนด์เศรษฐกิจเริ่มกลับมาแล้ว

นอกจากพัทยาเรากำลัง maping เมืองดูไบ ฮ่องกง สิงคโปร์ จะทำให้เป็นเดสติเนชั่นภูมิภาค กลยุทธ์ตอนนี้คือการดึงนักท่องเที่ยวระดับโลกให้เข้ามาในโครงการของเรา รวมทั้งดึงกลุ่มสัมมนาเข้ามาด้วย ซึ่งต้องยอมรับว่า การทำธุรกิจ MICE ยังอยู่ในช่วงขั้นต้น เรากำลังสร้าง facility world class ต่อตลาดประชุมสัมมนา

จากโครงสร้างกลุ่มนักท่องเที่ยวเป้าหมายที่เราให้บริการ พบว่าเป็นลูกค้าลักเซอรี่ 34% กลุ่ม upper upscale 62% ที่เหลือเป็นกลุ่ม upscale กับ midscale รวมกัน 4% เจาะลึกลงไปอีกในด้านการบุ๊กกิ้ง พบว่ายอดบุ๊กกิ้งมาจากไดเร็กต์เซลส์และเว็บไซต์องค์กร 55% มาจากเว็บภายนอกกินส่วนแบ่ง 20%

ในขณะที่กลุ่มนักท่องเที่ยวใหญ่สุดตอนนี้เป็นนักท่องเที่ยวจีน 18% ญี่ปุ่น 11% สหรัฐอเมริกา 10% เกาหลีใต้และสิงคโปร์อย่างละ 5% ลูกค้าคนไทยและฮ่องกงอย่างละ 4% อินเดียสัดส่วน 3% ที่เหลือมาจากชาติอื่น ๆ รวมกัน 40%

ทั้งนี้ การทำ direct booking ก็เป็นส่วนสำคัญ เพราะการท่องเที่ยวผ่าน online booking กำลังมากินส่วนแบ่งประมาณ 20-30% เราจะทำอย่างไร เชนต่างประเทศเขาผนึกกำลังกันสร้าง network loyalty สร้าง network program กันแล้ว

ขณะเดียวกันการสร้างศักยภาพในการแข่งขันได้ต้องมองกลับมาเรื่องคน เหมือนที่ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ทุกครั้งที่มีพายุเศรษฐกิจให้มองเป็นโอกาส ถ้ากลับมาได้จะเป็นโอกาสที่มหาศาล

ผ่าโมเดลธุรกิจ 5 เฟรมเวิร์ก

AWC มีโมเดลธุรกิจ 5 เฟรมเวิร์ก ได้แก่ philosophy เน้นจุดเด่นวัฒนธรรมแบบไทยๆ, people, process ต้องเคลียร์ แล้วใช้เทคโนโลยีเข้ามาเสริม, product มองลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ทำยังไงให้พร็อพเพอร์ตี้มีความน่าสนใจมากกว่าเกมบนมือถือ

บิสสิเนสโมเดลของ AWC ทุกสองปีต้องรีวิวโพซิชันนิ่งสร้างอะไรเพิ่มให้ลูกค้า ต้องกำหนดตั้งแต่จิตวิญญาณจนถึงจิตใจ เพื่อสร้างความประทับใจ ให้สื่อสารมาถึงแคแร็กเตอร์ สไตล์โครงการของเราให้เห็นเลยว่าพร็อพเพอร์ตี้นี้จะ causual สไตล์โมเดิร์นหรือคลาสสิก เราใส่ใจรายละเอียดลึกลงไปถึงคอมโพเนนต์องค์ประกอบย่อยทั้งหมด เพราะถ้าเราไม่รีวิวมาถึงจิตวิญญาณ ว่าเรายังมีสปิริตที่ยังแข็งแกร่ง ในที่สุดพร็อพเพอร์ตี้จะค่อย ๆ แก่ไป แต่เราอยากเด็กไปกับลูกค้า (ยิ้ม)

คีย์สำคัญอีกเรื่องคือ public กระบวนการกำกับกิจการที่ดี เพราะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เราพัฒนาโครงการแล้วอยู่ร่วมกับชุมชน ประเทศ ต้องเริ่มตั้งแต่กระบวนการสร้างจากจุดเริ่่มต้นเป็นหลัก ไซต์ก่อสร้าง การใช้วัสดุ การดูแลสิ่งแวดล้อม การเลือกใช้เทคโนโลยีที่ดีที่สุด กระบวนการสร้างชุมชนต้องทำยังไง ทุกอย่างหลอมรวมและให้ความสำคัญทั้งหมด แม้ว่าจะมองเรื่องของการเติบโตของธุรกิจก็ตาม แต่การจะไดรฟ์องค์กรธุรกิจไปข้างหน้า ต้องวางคอร์ปอเรต คอร์ปอเรชั่น ทั้งหมดเป็นส่วนประกอบหลักที่จะทรานส์ฟอร์มทั้งองค์กรไปพร้อม ๆ กัน

การทำธุรกิจในโลกยุคใหม่ยังไม่จบเพียงบิสสิเนสโมเดล แต่ยังต้องทำในเรื่องโซเชียลเอนเตอร์ไพรส์ AWC มีมูลนิธิแอสเสทเวิลด์ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2561 แต่ก่อนหน้านี้เรามีการทำกิจกรรมองค์กรการกุศลปีนี้ต่อเนื่องเป็นปีที่ 7 แล้ว เราดำเนินกิจกรรมที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นโครงการ GIVE GREEN CBD: SYNERGY POWER 2019 โดยร่วมกับกรุงเทพมหานครและผู้ประกอบการย่านสาทรร่วมกันทำกิจกรรมเพื่อคืนกลับสิ่งดี ๆ สู่สังคมและสิ่งแวดล้อม ยกระดับคุณภาพชีวิตชาว กทม.และเยาวชนผู้ด้อยโอกาส

เติบโตคู่โซเชียลเอนเตอร์ไพรส์

รวมทั้งโครงการ “เดอะ Gallery” วิสาหกิจชุมชนในรูปของร้านขายของที่ระลึกแนวศิลปะและการออกแบบด้วยแนวคิด “Giving Art, Art of Giving” ที่อวดผลงานโดดเด่นของกลุ่มนักออกแบบมากความสามารถในประเทศไทย


เรามีเป้าสำหรับผู้บริหารชัดเจน ถ้าสามารถบริหารจัดการได้ถึงเป้า โบนัสรับเพิ่มอีก 2 เดือน (หัวเราะ) วันนี้ สิ่งที่เรามองลูกค้าและการสร้างคุณค่าเพิ่มให้ลูกค้าเป็นคีย์หลักในกระบวนการของเรา ไม่ใช่แผนพัฒนาโครงการ แต่เป็น living creation ที่จะเติบโตไปกับลูกค้า