ว่าที่องค์กรร้อยปี “เฮเฟเล่” ฉลอง 25 ปีก่อตั้งในไทย แจกจริงรถปอร์เช่ 6.8 ล้าน

นายโฟลเคอร์ เฮลสเติร์น กรรมการผู้จัดการ บริษัท เฮเฟเล่ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ปีนี้ครบรอบก่อตั้ง 96 ปีเฮเฟเล่ทั่วโลก ส่วนตลาดประเทศไทยครบรอบก่อตั้ง 25 ปี โดยสามารถทำยอดขายอันดับ 1 ในเอเชีย และอันดับ 3 ของเฮเฟเล่เวิลด์ไวด์ที่มียอดขายรวม 1,400 ล้านเหรียญสหรัฐ

ทั้งนี้ เฮเฟเล่ ประเทศไทย มีสินค้า 4 กลุ่มหลักที่ทำรายได้ 4,000 ล้านบาท มีอัตราเติบโต 12% แบ่งเป็นสัดส่วน 47% ยอดขายจากหมวดอุปกรณ์ประตู-หน้าต่าง, สินค้าอุปกรณ์เฟอร์นิเจอร์ 24%, สินค้าสุขภัณฑ์และอุปกรณ์ห้องน้ำ 17% และเครื่องใช้ไฟฟ้า 11%

กลยุทธ์การทำธุรกิจยังเน้นรูปแบบ B2B โดยลงทุนขยายคลังสินค้าในศูนย์กระจายสินค้าย่านบางนา-ตราด จากพื้นที่ 10,000 ตารางเมตร เพิ่มเป็น 24,000 ตารางเมตร รองรับสต๊อกสินค้ามากกว่า 25,000 รายการ กระจายไปยัง 6 โชว์รูมทั่วประเทศ ได้แก่ ในกรุงเทพที่สาขาซอยสุขุมวิท 64, สาขาบางโพธิ์, พัทยา, หัวหิน, ภูเก็ต, เชียงใหม่

ควบคู่กับกลยุทธ์ B2C โดยเฉพาะการรุกตลาดอีคอมเมิร์ซ เติมเต็มรูปแบบการช็อป omni chanal ล่าสุดเพิ่งประสบความสำเร็จจากแคมเปญ Big Clearance Sale มียอดขาย 4,500 ชิ้นใน 3 วัน

“ทั่วโลกเฮเฟเล่มี 38 จุดที่มีแวร์เฮาส์ด้วย ส่วนเซลออฟฟิศจะมี 100 จุด เฮเฟเล่ ประเทศไทยมียอดขายปีนี้ 4,000 ล้านบาท ตั้งเป้าใน 5 ปีขึ้นอันดับ 1 โดยต้องมียอดขาย 6,200-7,000 ล้านบาท”

กลยุทธ์ปี 2563 บุกลูกค้าเชนสโตร์ อาทิ เซเว่น-อีเลฟเว่น, แบงกิ้ง, ฟาสต์ฟู้ดส์ ฯลฯ ซึ่งมียอดการสั่งซื้อสูงบิ๊กล็อต 2.เริ่มบุกตลาดออนไลน์ มีการซอร์ซซิ่งสินค้ากลุ่มใหม่เข้ามาทั้งจากจีนและยุโรป ปัจจุบันสินค้าจีนมีสัดส่วน 2% ในพอร์ตทั่วโลก โดยสินค้ายุโรปปัจจุบันราคาไม่ได้แตกต่างจากจีนมากนัก จากเดิมค่าแรงยุโรปแพงก็มีการปรับตัวใช้โรบอทเข้ามาทำงานมากขึ้น

ทั้งนี้ การผลิตสินค้าเยอรมันแบรนด์มีการย้ายฐานผลิตเข้าโซนเอเชียมากขึ้น โดยมาตรฐานเยอรมันแต่ผลิตในประเทศเอเชีย ในส่วนพอร์ตรายได้ B2B ตั้งเป้าสัดส่วน 90% กับรายได้ B2C 10% และการขายเจาะลูกค้ารีโนเวต 20% สร้างใหม่ 80%

นายรัตนะ พูนสง่า ผู้อำนวยการฝ่ายขาย บริษัท เฮเฟเล่ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวเพิ่มเติมว่า ในโอกาสครบรอบ 25 ปี บริษัทจัดโปรโมชันแจกรถยนต์ปอร์เช่ และรางวัลอื่นๆ มูลค่ารวม 11 ล้านบาท

ทั้งนี้ แผนธุรกิจปี 2563 ตั้งเป้าเติบโต 5% ยอดขาย 4,200 ล้านบาท โดยมีจุดจัดจำหน่ายแบ่งเป็นโมเดิร์นเทรด 300 แห่ง เทรดิชันนอลเทรด 500 แห่ง สร้างรายได้สัดส่วนละ 50/50

กลยุทธ์การแข่งขันปี 2563 ไฮไลต์สินค้าระบบไฟกับการพัฒนาสินค้าตลาดเชนสโตร์ ที่ต้องใหม่และอัพเดตทันสมัย

การเจาะตลาดเชนสโตร์ ปรับโครงสร้าง 3 ธุรกิจ ได้แก่ 1.ธุรกิจรีเทล มินิมาร์ต, เซเว่นฯ

2.แบงกิ้งบิสสิเนส ทุกคนบอกว่าธนาคารปิดสาขาแต่ไปเปิดไซซ์คอมแพ็คตามห้างสรรพสินค้า โดยมีการแข่งขันให้แต่ละสาขามีเอกลัษณ์ เช่น แบงก์กรุงเทพสีน้ำเงิน, ไทยพาณิชย์สีม่วง เฮเฟเล่ปรับตัวตาม มีประตูเหล็ก ระบบดิจิทัลคอนโทรล ควบคุมด้วยบลูทูธ

3.เรสเตอรองค์ เช่น ฟูจิ สินค้าไฮจีนิคโปรดักต์ ท่อลำเลียงน้ำจนถึงปลายก๊อก โต๊ะทานอาหารต้องไม่สะสมแบคทีเรีย เป็นต้น

“เราขายสินค้าพร้อมโซลูชัน ขายสินค้าพ่วงบริการ โดยมีทีมบริการสินค้าเฉพาะหมวด เช่น ทีมรวมสำหรับดูแลสินค้าทั่วไป, ทีมพิเศษสำหรับสินค้าดิจิทัล ฯลฯ”

ตลาดต่างจังหวัดแบ่ง 5 ภูมิภาค ตลาดโดดเด่นในต่างจังหวัดคือหัวเมืองรองที่ยังเติบโตได้ทุกภูมิภาค