
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 23 มิ.ย.2563 ราชกิจจานุเบกษาประกาศพระราชกฤษฎีกา กำหนดจังหวัดให้กับ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ดำเนินกิจการรถไฟฟ้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2563
โดยประกาศให้ รฟม.ดำเนินกิจการรถไฟฟ้าในจังหวัดพิษณุโลกได้ โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 175 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา 7 (1) แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2543
- “ทรู-ดีแทค” ถล่มโปร “คืนค่าเครื่อง” ย้ำรวมกันได้มากกว่า
- หวั่น EV ไทย…ซ้ำรอยจีน
- กรมอุตุฯเตือน 21-27 ก.ย. กทม.-ภาคกลาง-ตอ. ฝนตกหนัก ลมกระโชกแรง
ก่อนหน้านี้นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ รฟม.กล่าวว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติให้ รฟม.เริ่มดำเนินโครงการทั้งศึกษา ออกแบบรายละเอียดและรูปแบบการลงทุน PPP รถไฟฟ้าจังหวัดพิษณุโลก สายสีแดงช่วงมหาวิทยาลัยพิษณุโลก-เซ็นทรัลพิษณุโลก มีระยะทาง 12.6 กม.จำนวน 15 สถานี เงินลงทุน 1,666.78 ล้านบาท
รูปแบบโครงสร้างเป็นระดับพื้นดิน ส่วนรถไฟฟ้าจะเป็นระบบออโต้แทรมหรือรถรางล้อยาง ตามแผนจะเสนอขออนุมัติรูปแบบการลงทุนในเดือน พ.ค.2564 คัดเลือกเอกชนในเดือน ก.ย.2565 ก่อสร้างเดือน ต.ค.2566 เปิดบริการเดือน ธ.ค.2569
แนวเส้นทางเริ่มต้นจากมหาวิทยาลัยพิษณุโลก ผ่านสถานีขนส่งพิษณุโลกแห่งที่ 2 แนวเส้นทางมุ่งไปทางทิศเหนือตามแนวทางหลวงหมายเลข 126 ไปบรรจบกับทางหลวงหมายเลข 12 ที่สี่แยกอินโดจีน จากนั้นแนวเส้นทางมุ่งไปยังทิศตะวันตกตามแนวทางหลวงหมายเลข 12 และสิ้นสุดแนวเส้นทางที่ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพลาซ่าพิษณุโลก
ผ่านสถานที่สำคัญ เช่น ห้างสรรพสินค้าแม็คโคร ห้างสรรพสินค้าเทสโก้โลตัส หมู่บ้านชินลาภ สถานีขนส่งพิษณุโลกแห่งที่ 1 เทคนิคพาณิชย์การพิษณุโลก ห้างสรรพสินค้าท้อปแลนด์ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรวิหาร ศาลากลางจังหวัดพิษณุโลก วัดคูหาสวรรค์ หมู่บ้านพิษณุโลกเมืองใหม่ เป็นต้น