ทุ่ม 2 พันล้านรับรถไฟฟ้าสายสีแดง “ศิริราช” ผุดโรงพยาบาล 12 ชั้นบนสถานี

ตามแผนปฏิบัติการเร่งด่วนหรือ Action Plan 2560 ของกระทรวงคมนาคม มีโครงการลงทุนก่อสร้างส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีแดงช่วงตลิ่งชันศิริราชระยะทาง 5.8 กม. วงเงิน 7,469 ล้านบาท 

ล่าสุดโครงการผ่านการอนุมัติจากคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (...) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เตรียมเสนอให้กระทรวงคมนาคมและคณะรัฐมนตรี (ครม.) ประทับตราในเร็ว ๆ นี้ เพื่อให้ทันรับการเปิดใช้สายสีแดงบางซื่อตลิ่งชันจะเปิดหวูดปี 2563 

สำหรับสายสีแดงตลิ่งชันศิริราชทาง...” ได้น้อมนำกระแสรับสั่งของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาดำเนินการให้เป็นรูปธรรม หลังพระราชทานแนวทางการแก้ไขปัญหาจราจรโดยรอบโรงพยาบาลศิริราชและฝั่งตะวันตกของกรุงเทพฯเมื่อวันที่ 27 มิ.. 2554 

โดยขยายโครงข่ายระบบสายสีแดงเพิ่มเติมเป็นช่วงตลิ่งชันศิริราช ตามที่ได้มีการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบเบื้องต้นไว้พร้อมส่วนต่อขยายช่วงตลิ่งชันศาลายาในอนาคต 

ด้านโรงพยาบาลศิริราชล่าสุดหารือร่วมกับกระทรวงคมนาคม จะขอใช้พื้นที่เหนือสถานีศิริราช ก่อสร้างอาคารหลังใหม่ 

พิชิต อัคราทิตย์รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยประชาชาติธุรกิจว่า โรงพยาบาลศิริราชขอใช้พื้นที่ของ ร...บริเวณเหนือสถานีศิริราชซึ่งเป็น 1 ในสถานีของสายสีแดงอ่อนช่วงตลิ่งชันศิริราช ก่อสร้างโรงพยาบาลศิริราชที่มีแผนจะสร้างใหม่ เป็นอาคารสูง 12 ชั้น ค่าก่อสร้างประมาณ 1,500- 2,000 ล้านบาท เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้มาใช้บริการโรงพยาบาล

เป็นการพัฒนากึ่งรูปแบบ TOD จะใช้ประโยชน์พื้นที่สถานีร่วมกัน ทั้ง 2 หน่วยงานจะต้องดูด้านเทคนิค ออกแบบรายละเอียด จากนั้นนำมาเสนอกระทรวงพิจารณาก่อนเสนอให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติต่อไป

นายพิชิตกล่าวว่า ตามแผนทั้ง 2 หน่วยงานจะทำงานคู่ขนานกันไป เพื่อให้การเปิดให้บริการพร้อมกัน โดยทางโรงพยาบาลศิริราชจะเริ่มสร้างตึกใหม่ประมาณในเดือน พ.. 2561 ส่วนสถานีรถไฟฟ้าทาง ร...มีแผนจะเริ่มสร้างสร้าง มิ.. 2561 จะใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 2 ปี 6 เดือน จากนั้นจะเปิดให้บริการพร้อมกันภายในเดือน ธ.. 2563 

รูปแบบโครงการตามที่...” ออกแบบไว้ จะก่อสร้างทางรถไฟใหม่เป็นทางคู่ไปตามแนวเขตทางรถไฟเดิม มี 3 สถานี ได้แก่สถานีตลาดน้ำตลิ่งชันเป็นสถานีระดับพื้น ตั้งอยู่บริเวณจุดตัดทางรถไฟกับถนนฉิมพลี ห่างจากสถานีตลิ่งชันประมาณ 1.8 กม.

สถานีจรัญสนิทวงศ์เป็นสถานียกระดับ ตั้งอยู่บริเวณสวนบางขุนนนท์ ห่างจากสถานีตลาดน้ำตลิ่งชันประมาณ 2.7 กม

และสถานีธนบุรีศิริราชเป็นสถานีระดับพื้นดิน ตั้งอยู่บริเวณด้านหลังโรงพยาบาลศิริราช ใกล้กับอาคารศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ ห่างจากสถานีจรัญสนิทวงศ์ประมาณ 1.3 กม

เมื่อแล้วเสร็จจะช่วยแก้ปัญหาการจราจรบริเวณโดยรอบโรงพยาบาลศิริราช และพื้นที่ฝั่งตะวันตกของกรุงเทพฯ ย่านวังหลัง ถนนอรุณอมรินทร์ จรัญสนิทวงศ์ บางขุนนนท์ ตลาดน้ำตลิ่งชัน และบรมราชชนนี 

เพราะอนาคตจะเชื่อมกับสายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรมบางขุนนนท์) ทำให้การเดินทางสมบูรณ์ ในปีแรกเปิดบริการคาดว่าจะมีผู้ใช้บริการ 29,400 เที่ยวคน/วัน 

อีกทั้งยังเชื่อมต่อ 3 ศูนย์การศึกษาด้านการแพทย์ ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี และมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ทำให้การเดินทางของนักศึกษาแพทย์และประชาชนที่เข้ามาใช้บริการได้ง่ายขึ้น