
ดาต้าเบส
เปิดประเทศได้เวลาอัพเดตดาต้าเบสโหมดการเดินทางคนกรุง
“ปัญญา ชูพานิช” ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ระบุว่า สนข.มีแบบจําลองด้านการขนส่งและจราจรกรุงเทพฯ-ปริมณฑลปี 2560 (ดูตารางประกอบ)
- จับตาธุรกิจเลิกจ้าง ปิดกิจการ ส่งออกสะดุด-บริษัทยักษ์ย้ายฐาน
- โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พล.อ.ประยุทธ์ เป็นองคมนตรีคนใหม่ มีผลทันที
- เปิดลงทะเบียนแก้หนี้ 1 ธ.ค.นี้ เครดิตบูโรห่วงกู้ซื้อ “รถ-บ้าน” ค้างจ่ายพุ่ง
ประโยชน์ของแบบจำลองเริ่มใช้ตั้งแต่ปี 2550 มีการปรับปรุงเรื่อยมาจนถึงปีล่าสุดยุคก่อนโควิดในปี 2560 หรือผ่านมาแล้ว 4 ปีเศษ โดยข้อมูลแบบจำลองจะถูกนำไปใช้ต่อ/นำไปใช้อ้างอิงในการลงทุนเมกะโปรเจ็กต์คมนาคม
ล่าสุด สนข.จัดจ้าง “บจ.A21 Consultant-บจ.แพลนโปร-บจ.ทรานส์คอนซัลท์-ม.ศรีนครินทรวิโรฒ” วงเงิน 39 ล้านบาท สำรวจการเดินทางของประชาชนในเขตกรุงเทพฯ-ปริมณฑล รวมทั้งศึกษาพฤติกรรมการขนส่งของรถบรรทุกสินค้า
ใช้เวลาศึกษา 16 เดือน (1 ก.ค. 2564-31 ต.ค. 2565) ซึ่งได้จัดสัมมนารับฟังความเห็นไปเมื่อวันที่ 23 พ.ย. 2564 ที่ผ่านมา พื้นที่รวม 8 จังหวัด (กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นครปฐม พระนครศรีอยุธยา ฉะเชิงเทรา) ครอบคลุม 77 อำเภอ 489 ตำบล พื้นที่รวม 6,630 ตารางกิโลเมตร สุ่มสำรวจ 80,000 ตัวอย่าง
ในยุคโควิดจากการสำรวจข้อมูลตามรายงานของ Google ณ 4 ต.ค.-15 พ.ย. 2564 คนกรุงเดินทางไปสถานีรถไฟฟ้า ป้ายรถประจำทาง สถานีรถไฟลดลง -35%, ไปสวนสาธารณะ อุทยานแห่งชาติ ชายหาด ตลาดนัด ลดลง -20% และเดินทางไปทำงาน ลดลง -14%
จำแนกตามอายุ “วัยรุ่น” (ไม่เกิน 22 ปี) เดินทาง 96% ไม่เดินทาง 4%, วัยทำงาน (22-60 ปี) เดินทาง 95% ไม่เดินทาง 5% และผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) เดินทาง 43% ไม่เดินทาง 57%,
วัตถุประสงค์การเดินทาง “วัยรุ่น” ไปเรียน 68% ทำงาน 18% ธุระส่วนตัว 9% ไปรับ-ส่ง 1% และไม่เดินทาง 4% “วัยทำงาน” ทำงาน 74% ธุระส่วนตัวและธุรการงาน 3%, รับ-ส่ง 4% และไม่เดินทาง 5% “ผู้สูงอายุ” ไม่เดินทาง 57% ธุระส่วนตัว 25% ทำงาน 14% ธุรการงานรับ-ส่ง 2%
สำหรับพาหนะ “วัยรุ่น” เดินทางด้วยรถเมล์ 32% มอเตอร์ไซค์ 23% รถยนต์ 16% “วัยทำงาน” ใช้รถยนต์ 44% รถมอเตอร์ไซค์ 25% รถเมล์ 17% และ “ผู้สูงอายุ” ใช้รถยนต์ 28% มอเตอร์ไซค์23% รถเมล์-แท็กซี่-วินมอเตอร์ไซค์สัดส่วน 10% เท่ากัน
ประเภทความหนาแน่นของพื้นที่ 3 โซนประกอบด้วย โซน “CBD” ความหนาแน่นของประชากรรายตำบลมากกว่า 6,500 คน/ตร.กม. (ผังเมืองแดง-น้ำตาล), “URBAN” 1,500-6,500 คน/ตร.กม. (ผังเมืองเหลือง-ส้ม) และ “SUBURBAN” น้อยกว่า 1,500 คน/ตร.กม. (ผังเมืองเขียว)
โดยพบว่าโซน CBD คนเดินทางด้วยรถยนต์ 40% ขนส่งสาธารณะ (รถเมล์, รถตู้, รถไฟฟ้า) และรถมอเตอร์ไซค์ 14%
โซน URBAN คนใช้รถยนต์ 43% ขนส่งสาธารณะ 25% รถมอเตอร์ไซค์ 22%
ขณะที่โซน SUBURBAN ใช้รถมอเตอร์ไซค์ 35% รถยนต์ 33% ขนส่งสาธารณะ 15%