เปิดโผรถไฟ 86 ขบวนเข้า “หัวลำโพง” ถึงปี 65

เปิดโผ “รถไฟ” 86 ขบวนเข้า “หัวลำโพง” ถึงปี 65 เร่งทำเช็กลิสต์ 4 ด้าน จบให้ลงใน 1 เดือน

วันที่ 21 ธันวาคม 2564 นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทสไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า หลังจากที่มีการประชุมคณะกรรมการเตรียมการเปิดให้บริการและการบริหารโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) และสถานีกลางบางซื่อ ครั้งที่ 8/2564 มีมติคงการเดินรถไฟทุกขบวนในปัจจุบันเข้าสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) ตามปกติไปก่อน จำนวนทั้งหมด 86 ขบวน (เชิงพาณิชย์ 46 ขบวน/เชิงสังคม 40 ขบวน)

สำหรับขบวนรถไฟเชิงพาณิชย์จะเริ่มเปิดเดินรถที่สถานีรถไฟกรุงเทพตามเดิม 46 ขบวน แบ่งเป็น สายเหนือ 12 ขบวน, สายอีสาน 16 ขบวน, สายใต้ 16 ขบวน และสายตะวันออก 2 ขบวน ดังนี้

สายเหนือ 12 ขบวน ได้แก่

-ขบวนรถไฟที่ 7/8 สถานีรถไฟกรุงเทพ – เชียงใหม่ – สถานีรถไฟกรุงเทพ (ไป-กลับ)
-ขบวนรถไฟที่ 9/10 สถานีรถไฟกรุงเทพ – เชียงใหม่ – สถานีรถไฟกรุงเทพ (ไป-กลับ)
-ขบวนรถไฟที่ 13/14 สถานีรถไฟกรุงเทพ – เชียงใหม่ – สถานีรถไฟกรุงเทพ (ไป-กลับ)
-ขบวนรถไฟที่ 109/102 สถานีรถไฟกรุงเทพ – เชียงใหม่ – สถานีรถไฟกรุงเทพ (ไป-กลับ)
-ขบวนรถไฟที่ 107/112 สถานีรถไฟกรุงเทพ – เด่นชัย – สถานีรถไฟกรุงเทพ (ไป-กลับ)
-ขบวนรถไฟที่ 111/105 สถานีรถไฟกรุงเทพ – เด่นชัย – สถานีรถไฟกรุงเทพ (ไป-กลับ)

สายอีสาน 16 ขบวน ได้แก่

-ขบวนรถไฟที่ 21/22 สถานีรถไฟกรุงเทพ – อุบลราชธานี – สถานีรถไฟกรุงเทพ (ไป-กลับ)
-ขบวนรถไฟทีี่ 23/24 สถานีรถไฟกรุงเทพ – อุบลราชธานี – สถานีรถไฟกรุงเทพ (ไป-กลับ)
-ขบวนรถไฟทีี่ 72/72 สถานีรถไฟกรุงเทพ – อุบลราชธานี – สถานีรถไฟกรุงเทพ (ไป-กลับ)
-ขบวนรถไฟทีี่ 25/26 สถานีรถไฟกรุงเทพ – หนองคาย – สถานีรถไฟกรุงเทพ (ไป-กลับ)
-ขบวนรถไฟทีี่ 75/76 สถานีรถไฟกรุงเทพ – หนองคาย – สถานีรถไฟกรุงเทพ (ไป-กลับ)
-ขบวนรถไฟทีี่ 133/134 สถานีรถไฟกรุงเทพ – หนองคาย – สถานีรถไฟกรุงเทพ (ไป-กลับ)
-ขบวนรถไฟทีี่ 135/136 สถานีรถไฟกรุงเทพ – อุบลราชธานี – สถานีรถไฟกรุงเทพ (ไป-กลับ)
-ขบวนรถไฟทีี่ 139/140 สถานีรถไฟกรุงเทพ – อุบลราชธานี – สถานีรถไฟกรุงเทพ (ไป-กลับ)

สายใต้ 16 ขบวน ได้แก่

-ขบวนรถไฟที่ 31/32 สถานีรถไฟกรุงเทพ – หาดใหญ่ – สถานีรถไฟกรุงเทพ (ไป-กลับ)
-ขบวนรถไฟที่ 43/40 สถานีรถไฟกรุงเทพ – สุราษ๋ฎร์ธานี – สถานีรถไฟกรุงเทพ (ไป-กลับ)
-ขบวนรถไฟที่ 83/84 สถานีรถไฟกรุงเทพ – ตรัง – สถานีรถไฟกรุงเทพ (ไป-กลับ)
-ขบวนรถไฟที่85/86 สถานีรถไฟกรุงเทพ – นครศรีธรรมราช – สถานีรถไฟกรุงเทพ (ไป-กลัย)
-ขบวนรถไฟที่ 171/172 สถานีรถไฟกรุงเทพ – สุไหงโก-ลก – สถานีรถไฟกรุงเทพ (ไป-กลับ)
-ขบวนรถไฟที่ 39/44 สถานีรถไฟกรุงเทพ – สุราษฎร์ธานี -สถานีรถไฟกรุงเทพ (ไป-กลับ)
-ขบวนรถไฟที่ 909/910 สถานีรถไฟกรุงเทพ – น้ำตก – สถานีรถไฟกรุงเทพ (ไป-กลับ)
ขบวนรถไฟที่ 911/912 สถานีรถไฟกรุงเทพ – สวนสนปะดิพัทธ์ – สถานีรถไฟกรุงเทพ (ไป-กลับ)

และ 4. สายตะวันออก 2 ขบวน ได้แก่ ขบวนรถไฟที่ 997/995 กรุงเทพฯ – บ้านพลูตาหลวง – กรุงเทพฯ

ส่วนขบวนรถไฟเชิงสังคม ให้บริการ 40 ขบวนประกอบด้วย

สายเหนือ 14 ขบวน ได้แก่

-ขบวนรถไฟที่ 201/202 กรุงเทพ – พิษณุโลก – กรุงเทพฯ
-ขบวนรถไฟที่ 207/205 กรุงเทพฯ – นครสวรรค์ – กรุงเทพฯ
-ขบวนรถไฟที่ 209/210 กรุงเทพฯ – ตาคลี – กรุงเทพ
-ขบวนรถไฟที่ 211/212 กรุงเทพฯ – ตะพานหิน – กรุงเทพฯ
-ขบวนรถไฟที่ 301/302 กรุงเทพฯ – ลพบุรี – กรุงเทพฯ
-ขบวนรถไฟที่ 313/314 กรุงเทพฯ – ชุมทางบ้าภาชี – กรุงเทพฯ
-ขบวนรถไฟที่ 327/315กรุงเทพฯ – ลพบุรี – กรุงเทพฯ

สายอีสาน 4 ขบวน ไดแก่ 1. ขบวนรถไฟที่ 339/340 กรุงเทพฯ – แก่งคอย – กรุงเทพฯ และ 2. ขบวนรถไฟที่341/342 กรุงเทพฯ – แก่งคอย – กรุงเทพฯ

สายใต้ 4 ขบวน ได้แก่ 1. ขบวนรถไฟที่ 261/262 กรุงเทพฯ – หัวหิน – กรุงเทพฯ และ 2.ขบวนรถไฟที่ 355/356 กรุงเทพฯ – สุพรรณบุรี – กรุงเทพฯ

และสายตะวันออก 18 ขบวน ได้แก่

-ขบวนรถไฟที่ 275/276 กรุงเทพฯ – อรัญประเทศ – กรุงเทพฯ
-ขบวนรถไฟที่ 277/278 กรุงเทพฯ – กบินทร์บุรี – กรุงเทพฯ
-ขบวนรถไฟที่ 279/280 กรุงเทพฯ – อรัญประเทศ – กรุงเทพฯ
-ขบวนรถไฟที่ 281/282 กรุงเทพฯ – กบินทร์บุรี – กรุงเทพฯ
-ขบวนรถไฟที่ 283/284 กรุงเทพฯ – บ้านพลูตาหลวง – กรุงเทพฯ
-ขบวนรถไฟที่ 367/390 กรุงเทพฯ – ฉะเชิงเทรา – กรุงเทพฯ
-ขบวนรถไฟที่ 371/372 กรุงเทพฯ – ปราจีนบุรี – กรุงเทพฯ
-ขบวนรถไฟ 383/384 กรุงเทพฯ – ฉะเชิงเทรา – กรุงเทพฯ
-ขบวนรถไฟที่ 391/388 กรุงเทพฯ – ฉะเชิงเทรา – กรุงเทพฯ

ส่วนผู้ที่ซื้อตั๋วรถไฟล่วงหน้าไปก่อนหน้านี้ ในเส้นทางบางซื่อ – บางเขน – หลักสี่ – ดอนเมือง สามารถใช้ตั๋วโดยสารดังกล่าวโดยสารต่อไปยังสถานีหัวลำโพงได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ขณะที่ผู้โดยสารที่ซื้อตั๋วล่วงหน้าแล้วกำหนดสถานีปลายทางสถานีชุมทางบางซื่อและสถานีกลางบางซื่อ สามารถลงที่สถานีสามเสนและสถานีหัวลำโพงได้ ส่วนตั๋วที่กำหนดปลายทางเป้นสถานีดอนเมืองก็ให้ถือไปลงที่สถานีบางเขนและหลักสี่ได้โดยอนุโลม

อย่างไรก็ตาม การเดินรถตามปกติดังข้างต้น จะดำเนินการจนกว่าแผนการปรับเส้นทางเดินรถใหม่ในปี 2565 แล้ัวเสร็จ ซึ่งในที่ประชุมคณะกรรมการชุดดังกล่าว นายศักดิ์สยามได้สั่งการให้นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นผู้ควบคุมการจัดทำเช็กลิสต์ร่วมกับ ร.ฟ.ท. กรมการขนส่งทางราง (ขร.) และสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เพื่อสำรวจความคิดเห็นให้รอบด้าน จะใช้เวลาประมาณ 1 เดือน เบื้องต้น การทำเช็กลิสต์กำหนดไว้กว้างๆ 4 ประเด็น ได้แก่

1. การปรับเปลี่ยนให้รถไฟทางไกลขึ้นไปใช้ทางของรถไฟชานเมืองสายสีแดง มีปุัญหาอุปสรรคอย่างไร และประชาชนที่ยังต้องใช้สถานีระดับดิน เช่น หลักสี่ ทุ่งสองห้อง และบางเขน หากยกเลิกการใช้สถานีเหล่านี้ จะมีวิธีเยียวยาบรรเทาอย่างไร

2.การปรับรถไฟเชิงพาณิชย์ไปใช้สถานีกลางบางซื่อทั้งหมด เพื่อให้สถานีกลางบางซื่อเป็นจุดเชื่อมต่อระบบรางในอนาคต ซึ่งจะมีรถไฟชานเมืองสายสีแดงส่วนต่อขยายและรถไฟความเร็วสูงอีก 2 เส้นคือรถไฟความเร็วสูงไทยจีน กรุงเทพ – นครรสีมา และรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) แต่จะคิดถึงปัจจัยและเงื่อนไขต่างๆประกอบกันไป

3.รถไฟเชิงสังคม 40 ขบวนที่ยังวิ่งเข้าหัวลำโพง จะบริหารอย่างไรให้กระทบกับการขนส่งมวลชนระบบอื่นน้อยที่สุด เช่น จุดตัดของทางรถไฟ, ปัญหาจราจรในชั่วโมงเร่งด่วน เป็นต้น จะปรับเวลาหรือจะลดขบวนรถไฟลงหรือจะต้องมีระบบโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆเข้ามาเสริมหรือไม่ ก็เป้นเรื่องที่ต้องเช้กลิสตืเช่นกัน

และ 4. การทำประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ในประเด็นต่างๆ เพราะในอนาคตประเด็นต่างๆจะซับซ้อนมากขึ้น จะต้องพยายามสื่อสารให้เข้าใจมากขึ้น ซึ่งร.ฟ.ท.สื่อสารกับประชาชนน้อยไป ทำให้เกิดข้อมูลที่ไม่ถูกต้องไหลเวียน และ ร.ฟ.ท.จะต้องไปฟังความเห็นประชาชนเพิ่มเติมทุกภาคส่วนจริงๆ ทั้งคนที่รถติดจากการรอขบวนรถไฟ, ชุมชนรอบๆรถไฟ อาจจะต้องฟังจริงๆ

หลังจากนั้นจะกำหนด Action Plan เพื่อกำหนดขบวนรถไฟเข้าหัวลำโพงจะต้องมีเท่าไหร่และการใช้งานสถานีกลางบางซื่ออย่างเต็มประสิทธิภาพจะทำอย่างไร หรือรวมถึงการช้รถไฟชานเมืองสายสีแดงด้วย