Quick Aid LLC บริษัทสหรัฐอเมริกาฟ้อง สิงหเสนี กรุ๊ป ข้อหาทุจริตในการผลิตชุด PPE มูลค่ากว่า 8 ล้านเหรียญสหรัฐ

Quick Aid LLC

เดือนกุมภาพันธ์ปี 2021 บริษัทจากสหรัฐอเมริกาอย่าง Quick Aid LLC ได้ทำการวางมัดจำ 50% เป็นจำนวน 239 ล้านบาท (8 ล้านเหรียญสหรัฐ) ให้กับบริษัทเอกชนในไทยอย่าง สิงหเสนี กรุ๊ป จำกัด สำหรับการสั่งซื้อถุงมือไนโตรชนิด USFDA/CDC 510(K) โดยที่มีคุณจิณณะ สิงหเสนี เป็นกรรมการผู้บริหารของบริษัท โดยทางตัวแทนของทางสิงหเสนี กรุ๊ป ได้แจ้งว่าจะทำการจัดส่งถุงมือดังกล่าวให้กับบริษัท Quick Aid ภายใน 45 วัน

หลังจากการชำระเงินดังกล่าวไปไม่นาน ทางคุณจิณณะ สิงหเสนีได้ทำการถอนเงินทั้งหมดของสิงห เสนี กรุ๊ปออกจากบัญชีของบริษัทให้ เป็นเงินสดและเช็ค โดยไม่กี่เดือนต่อมา ทางคุณจิณณะ ก็ได้ทำการเปลี่ยนชื่อตัวเองเป็น ศิรินลญานี บุนนาค และถุงมือที่ได้ทำการสั่งซื้อตามสัญญาการขาย ก็ไม่ถูกจัดส่งมาเลยแม้แต่ชิ้นเดียว

จากการสืบประวัติที่ผ่านมา คุณจิณณะ สิงหเสนี ได้มีการเปลี่ยนชื่อ-สกุลทั้งหมดถึง 8 ครั้ง ดังนี้

  • ชิศลุษา พรหมกาจ
  • ชิศลุษา ศรีกันจาน
  • ชิศลุษา ธัญญศิริภัทร
  • ณณภัทร ศรีกาญจน์
  • พิศมัย ศรีกาญจน์
  • ฌิศาภัทร ธารสิริภัทร์
  • จิณณะ สิงหเสนี
  • ศิรินลญานี บุนนาค

ก่อนหน้านี้ คุณจิณณะ มีหมายจับในข้อหาฉ้อโกงถึง 4 คดี ส่วนคดีอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องนั้น ทางคุณจิณณะได้มีการไกล่เกลี่ยก่อนจะมีการฟ้องก่อนที่จะมีคดีของ Quick Aid ที่ทางบริษัทขอให้มีการควบคุมตัวคุณจิณณะโดยใช้หมายจับดังกล่าว และในปัจจุบันเองหมายศาลดังกล่าวได้ถูกยกเลิกไป แต่ก็ยังมีการบันทึกไว้ในหมายศาล

ทาง Quick Aid ได้เข้าแจ้งความกับกองบังคับการปราบปรามต่อบริษัท สิงหเสนี กรุ๊ป ฐานฉ้อโกง และกระทำการปิดบังหลักฐานโดยเจตนา ทางคู่กรณีได้ทำการถอนเงินสดทั้งหมดจากบริษัทเพื่อป้องกันการติดตามในภายหลัง ทางพนักงานอัยการของ Quick Aid ได้ดำเนินการฟ้องคดีอาญาต่อศาลอาญากรุงเทพเหนือ (คดี #AOR3992/2565) และมีการพิจารณาคดีครั้งแรกในวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2566 โดยเป็นเวลาเกือบสองปีนับตั้งแต่มีการโอนเงินให้แก่คู่กรณี

บริษัท สิงหเสนี กรุ๊ป เคยได้รับการจดทะเบียนบนเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา หรือ USFDA ในฐานะผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายถุงมือยางไนไตรล์ USFDA/CDC 510(K) ที่ได้รับใบอนุญาตให้จัดจำหน่ายนอกประเทศไทยได้ และทางสิงหเสนี กรุ๊ป เองก็ได้มีการประชาสัมพันธ์ใบอนุญาตดังกล่าวที่ได้จาก USFDA ในเพจเฟสบุ๊กของบริษัทด้วย แต่บริษัทสิงหเสนี กรุ๊ปกลับไม่มีใบรับรองดังกล่าวทั้งสองแต่อย่างใด และหลังจากสิงหเสนี กรุ๊ปได้รับเงินจำนวนดังกล่าวจาก Quick Aid ใบอนุญาตที่จดทะเบียนออนไลน์กับทาง USFDA ก็ถูกระงับไป

ในปี 2563 ทางสิงหเสนี กรุ๊ปได้ประกาศลงนามข้อตกลงกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ บริษัท เอทีจีนส์ จำกัด และการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เพื่อจัดตั้งโรงงานผลิตถุงมือยาง ณ วันนี้ แผนประชาสัมพันธ์ของบริษัทสิงหเสนีไม่ประสบผลสำเร็จแต่อย่างใด

จากฐานข้อมูลบริษัท สิงหเสนี กรุ๊ป ได้มีการจดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเป็นเงินมูลค่า 950 ล้านบาท โดยเงินทุนที่มีมูลค่าสูงเช่นนี้ จะเป็นการบ่งบอกถึงความน่าเชื่อถือของบริษัท แต่ในทางกลับกัน ในแง่ของรายได้ต่อปี บริษัทไม่เคยได้รับรายได้เกินกว่า 1 ล้านบาทเลยตั้งแต่มีการก่อตั้งบริษัท

ก่อนที่เงินมูลค่ากว่า 239 ล้านบาทจะถูกถอนออกจากบัญชีของบริษัท ทางสิงหเสนี กรุ๊ปได้มีการจดทะเบียนเพิ่มทุนของบริษัทเพิ่มเติม และทางบริษัท ยังได้ทำการกำหนดรายได้จากการขายเป็นการลงทุนใหม่ เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ให้บริษัทต้องเสียภาษีที่ต้องทำการชำระตามปกติกับกรมสรรพากร

เรียกได้ว่าคดีลักษณะนี้ ถือเป็นคดีที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งต่อสาธาณชนคนไทย รวมไปถึงฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นอุทาหรณ์ไม่ให้คดีที่เกิดจากการฉ้อโกงในรูปแบบดังกล่าวเกิดขึ้นอีกในอนาคต เพราะในปัจจุบัน บทลงโทษในทางกฎหมายอาจจะยังไม่รุนแรงมากพอที่จะป้องกันอาชญากรรมในลักษณะเดียวกันได้ และสำหรับคดีการฉ้อโกงเป็นประเภทบุคคลในประเทศไทยมีบทลงโทษเป็นการจำคุกสูงสุดเพียงแค่ 3 ปี เท่านั้น หากตีมูลค่าบทลงโทษเป็นเงิน การฉ้อโกงจำนวน 239 ล้านบาท จะสามารถคิดเป็นเงินปีละ 80 ล้านบาท ซึ่งนับว่าอาจจะยังไม่มากพอเมื่อเทียบกับความเสียหายที่เกิดขึ้น