Funding Societies ติดปีกให้ความรู้ด้านสินเชื่อเพื่อการค้าแก่กลุ่มธุรกิจ SME ไทย ในปี 2566

Funding Societies

รูปแบบสินเชื่อ SME ที่ปรับให้เหมาะสมกับความต้องการของกลุ่มธุรกิจ SME ไทย พร้อมเคียงข้างทุกขั้นตอนของการพัฒนาธุรกิจ  ด้วยการจัดหาแหล่งเงินทุนที่มีความยืดหยุ่นสูง ไม่ต้องมีหลักประกัน ผ่านขั้นตอนการสมัครออนไลน์ที่ไม่มีความยุ่งยากและรวดเร็ว

คุณ ชัชกร พฤกษานานนท์ ผู้บริหารฝ่ายพัฒนาธุรกิจของ Funding Societies ประเทศไทย

Funding Societies แพลตฟอร์มการเงินดิจิทัลแบบครบวงจรสำหรับธุรกิจ SME ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตอกย้ำถึงความพร้อมในการให้ความสนับสนุนกลุ่มธุรกิจ SME ไทย ผงาดสู่ผู้นำเศรษฐกิจระดับภูมิภาคฯ ด้วยผลิตภัณฑ์สินเชื่อ SME ทีมีความหลากหลายเพื่อมุ่งตอบโจทย์ทุกช่วงวงจรการพัฒนาธุรกิจไทยสมัยใหม่ ซึ่งถือเป็นการก้าวข้ามขีดจำกัดของการทำธุรกรรมด้านสินเชื่อกับสถาบันการเงินและการยื่นขอรับพิจารณาสินเชื่อแบบดั้งเดิม

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่ากลุ่มธุรกิจ SME เป็นกระดูกสันหลังของเศรษฐกิจไทย แต่อย่างไรก็ตาม ความตระหนักรู้เกี่ยวกับข้อดีด้านสินเชื่อเพื่อการค้าที่มีความหลากหลายสำหรับแต่ละช่วงวงจรธุรกิจในกลุ่มธุรกิจ SME ไทยนั้นเพิ่งจะเริ่มเติบโตขึ้น เมื่อมีผู้ประกอบการไทยรุ่นใหม่ ๆ เพิ่มมากขึ้น

ธุรกิจ SME มีส่วนสำคัญต่อการเติบโตของเศรษฐกิจและ GDP ของประเทศ ซึ่งเป็นสิ่งที่จะมองข้ามไม่ได้เลย เพราะภาคธุรกิจดังกล่าวได้แสดงให้เห็นถึงความยืดหยุ่นในการรับมือและช่วยให้เศรษฐกิจประเทศอยู่รอดได้ เมื่อครั้งช่วงเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ปีที่แล้ว จากข้อมูลของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2565 (มกราคม-กันยายน) รายรับจากธุรกิจ SME ไทย มีมูลค่ารวม 4.54 ล้านล้านบาท (หรือ 131,800 ล้านเหรียญสหรัฐ) ซึ่งคิดเป็น 35.2% ของ GDP รวมของประเทศไทย โดยเพิ่มขึ้นจากปี 2564 ที่ 5.1% ธุรกิจ SME คิดเป็นสัดส่วนที่ 99.57% ของจำนวนธุรกิจทั้งหมดในประเทศไทย และมีอัตราการจ้างงานกว่า 12.6 ล้านคน ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อ GDP ทั้งหมดของประเทศ ทั้งนี้ กลุ่มธุรกิจ SME ยังเป็นเหตุผลหลักที่ช่วยผลักดันให้เศรษฐกิจไทยพร้อมเติบโตในปี 2566 โดย สสว. คาดการณ์ว่า GDP จะโตขึ้น 3.6% ซึ่งจะช่วยรับมือภาวะเศรษฐกิจโลกตกต่ำที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต

ถึงกระนั้น SME ไทยจำนวนมากยังคงเผชิญกับความท้าทายด้านเงินทุนในระยะต่าง ๆ ของการพัฒนาธุรกิจซึ่งความท้าทายเหล่านี้ยังรวมถึงข้อจำกัดด้านหลักประกัน การไม่มีประวัติเครดิตที่มากพอ ซึ่งจำกัดการเข้าถึงสินเชื่อทั่วไปจากธนาคารแบบดั้งเดิม เป็นอุปสรรคสำคัญในการขยายขนาดธุรกิจให้ทันกับความต้องการของตลาด

คุณ ชัชกร พฤกษานานนท์ ผู้บริหารฝ่ายพัฒนาธุรกิจของ Funding Societies ประเทศไทย กล่าว Funding Societies ประสบความสำเร็จในการให้ความสนับสนุน  SME ทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อให้ธุรกิจของพวกเขาเติบโตไปตามเป้าหมาย ด้วยการให้สินเชื่อแล้วกว่า 1 แสนล้านบาท (3 พันล้านเหรียญสหรัฐ)ให้กับธุรกิจขนาดย่อมและขนาดกลาง (SME) ทั่วทั้งภูมิภาค โดยนับเป็น SME ถึงกว่า 100,000 ราย

“เมื่อ Funding Societies เข้าสู่ตลาดประเทศไทย เราได้ทำการวิจัยอย่างเชิงลึกเพื่อทำความเข้าใจความต้องการของกลุ่มธุรกิจ SME ไทยอย่างถ่องแท้ และตระหนักว่าผลิตภัณฑ์ที่เรานำเสนอนั้นยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการของพวกเขาได้อย่างสมบูรณ์ ดังนั้นเราจึงมีการปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ของเราเพื่อนำเสนอโซลูชันที่ปรับให้เข้ากับตลาดของประเทศไทยอย่างแท้จริง นอกจากนั้นเรายังเล็งเห็นช่องว่างเกี่ยวกับองค์ความรู้ด้านเงินทุน ซึ่ง SME ไทยส่วนใหญ่เข้าใจ สินเชื่อระยะสั้น (Term loan) อยู่แล้ว แต่ส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจเรื่องสินเชื่อเพื่อการค้า อย่าง สินเชื่อใบสั่งซื้อ และ สินเชื่อแฟคตอริ่ง ซึ่งเป็นอีกสองกำลังสำคัญที่จะช่วยให้ผู้ผลิตและผู้ประกอบการ บริหารจัดการเงินทุนหมุนเวียนธุรกิจได้ดียิ่งขึ้น และในส่วนคอนแทรคเตอร์ ก็สามารถทำโครงการให้สำเร็จลุล่วงได้หากมีความเข้าใจด้านสินเชื่อเพื่อธุรกิจโครงการ ดังนั้น เราจะยังคงมุ่งมั่นในการให้ความรู้แก่ตลาดต่อไปเกี่ยวกับทางเลือกด้านเงินทุนหมุนเวียนธุรกิจที่มีความหลากหลายสำหรับระยะต่าง ๆ ของวงจรธุรกิจ” คุณ ชัชกร กล่าวเสริม

SME สามารถศึกษาเกี่ยวกับทางเลือกด้านเงินทุนธุรกิจที่มีความเหมาะสมกับแต่ละช่วงการพัฒนาธุรกิจจาก Funding Societies ได้ที่ https://fundingsocieties.co.th/?lang=th&tab=sme

ที่ผ่านมา Funding Societies ได้ให้การสนับสนุน SME ไทยเป็นจำนวนมาก อาทิ บริษัท สปาร์ค ลิ้ง เพาเวอร์ จำกัด ซึ่งเป็นผู้นำในการส่งออกสมาร์ทโฟน รวมถึงผู้จำหน่ายปลีก-ส่งผลิตภัณฑ์โทรคมนาคม โดยดำเนินธุรกิจมากว่า 25 ปี แต่ยังคงเผชิญกับความท้าทายในการเพิ่มเงินทุน ซึ่งมีความจำเป็นและเป็นกรณีเร่งด่วน โดยในอดีต  ทาง สปาร์ค ลิ้ง เพาเวอร์ สามารถเข้าถึงได้เฉพาะสินเชื่อระยะสั้นขนาดเล็กที่ไม่ค่อยตรงกับความต้องการของยอดขายของบริษัทฯ ที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังมีข้อกำหนดด้านหลักประกันที่เข้มงวด โดยไม่คำนึงถึงลักษณะธุรกิจที่ทำการขอสินเชื่อ

ซึ่ง คุณ ชนัฏธกรณ์  โคตะสูตร  กรรมการบริษัท สปาร์ค ลิ้ง เพาเวอร์ จำกัด  กล่าวว่า “การที่เราจะเป็นผู้นำตลาดที่มีอำนาจต่อรองได้นั้น เราจำเป็นต้องมีเงินทุนจำนวนมาก ซึ่งทาง Funding Societies ได้ให้บริการเงินทุนวงเงินสูง โดยไม่จำเป็นต้องมีหลักประกันและมีกระบวนการอนุมัติที่ง่ายและไม่ซับซ้อนซึ่งเหมาะสำหรับเรามาก นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับปรัชญาของธุรกิจเราที่ว่า “ธุรกิจเราจะเติบโตไปด้วยกัน” อีกด้วย

อีกหนึ่ง SME ที่มีความน่าสนใจคือ  บริษัท พรหมไทคูณ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทรับเหมาก่อสร้างเกี่ยวกับไฟฟ้าส่องสว่างและสัญญาณจราจร ซึ่งได้รับใบอนุญาตจดทะเบียนกับกรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบท และ เป็นตัวแทนจำหน่ายสายไฟ เสาไฟ อุปกรณ์ไฟฟ้า อุปกรณ์ให้แสงสว่างตามมาตรฐานสากล

คุณ ณิชาพัฒน์ คำดี กรรมการบริหารบริษัท พรหมไทคูณ จำกัด กล่าวว่า “การที่เราจะขยายธุรกิจให้เติบโตได้ตามเป้าหมาย เราจำเป็นที่ต้องเข้าถึงแหล่งเงินทุนเป็นจำนวนมาก   เพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างกับภาครัฐให้แล้วเสร็จ ซึ่งเงินทุนดังกล่าวล้วนเป็นปัจจัยสำคัญต่อธุรกิจของเรา ซึ่งทาง Funding Societies  สามารถตอบโจทย์ความต้องการของเราได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการเข้าถึงเงินทุนจากสินเชื่อใบสั่งซื้อ และสินเชื่อเพื่อธุรกิจโครงการ ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้หลักประกันขั้นตอนการขอก็ไม่มีความยุ่งยากและรวดเร็ว ซึ่งสำคัญต่อการเติบโตธุรกิจของเรา”


Funding Societies ยังคงมีความมุ่งมั่นที่จะเดินหน้าสนับสนุน SME ไทย ตลอดจน ผู้ผลิต ผู้ค้า และ คอนแทรคเตอร์ ทุกช่วงจรการพัฒนาธุรกิจ อย่างไม่หยุดยั้ง ร่วมค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ธุรกิจ SME ที่มีส่วนช่วยสร้างสังคมไทยให้แข็งแกร่ง ได้ที่ https://fundingsocieties.co.th/