
การต่อภาษีและ พ.ร.บ. รถยนต์ เป็นสิ่งที่ผู้ใช้รถทุกคนต้องทำต่อเนื่องทุกปี เพื่อให้รถของตัวเองใช้งานบนถนนได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย แต่ก็ยังมีคนจำนวนมากที่แยกไม่ออกว่า พ.ร.บ. กับ ภาษีต่างกันอย่างไร วันนี้เราจะมาพูดถึงรายละเอียดของทั้งคู่ว่า แท้จริงแล้วเหมือนหรือต่างกันยังไง และทำไมต้องต่ออายุพร้อมกัน
หน้าที่ของ พ.ร.บ. และ ภาษีรถยนต์
ภาษีและ พ.ร.บ. เป็นเงื่อนไขสำหรับรถทุกชนิด ที่เจ้าของต้องดำเนินการตามระเบียบของกฎหมายจราจรทางบก พ.ศ. 2522 โดยทั้งคู่มีรายละเอียดและหน้าที่แตกต่างกัน ดังนี้
- ครม.เคาะแล้ว ซื้อสินค้าลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 5 หมื่นบาท เริ่ม 1 ม.ค. 67
- สินมั่นคงฯ : คปภ.เกาะติดกระบวนการฟื้นฟูกิจการ-ส่งสัญญาณเตือน ปชช.
- MOTOR EXPO 5 วัน ค่ายอีวี BYD ลุ้นแซงโตโยต้า ขึ้นผู้นำขายสูงสุด
พ.ร.บ. รถยนต์
พ.ร.บ. รถยนต์ หรือ “พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถยนต์” คือ ประกันภาคบังคับที่รถทุกคันต้อง มีอายุความคุ้มครองเพียง 1 ปี และต้องต่ออายุเป็นประจำทุกปีด้วยเช่นกัน โดย พ.ร.บ. เป็นหลักประกันเพื่อรองรับอุบัติเหตุจราจร ให้เงินชดเชยสำหรับค่ารักษาพยาบาล ค่าสินไหมทดแทน และค่าปลงศพ สำหรับผู้ประสบภัย ได้แก่ ผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร และคู่กรณี สามารถแบ่งค่าชดเชยได้ 2 ประเภท ดังนี้
ค่าเสียหายเบื้องต้น
เป็นเงินชดเชยที่ทำเรื่องขอเบิกได้ทันทีไม่ต้องพิสูจน์ความถูกผิด มีรายการชดเชย ดังนี้
- ค่ารักษาพยาบาลสำหรับผู้ประสบภัย สูงสุดคนละ 30,000 บาท
- เงินชดเชยเบื้องต้นกรณีสูญเสียอวัยวะหรือพิการถาวร สูงสุดคนละ 35,000 บาท
- ค่าปลงศพ สูงสุดคนละ 35,000 บาท
- ถ้าเกิดความเสียหายหลายเคสรวมกันจะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นรวมกันไม่เกิน 65,000 บาท/คน
ค่าสินไหมทดแทน
เงินชดเชยเพิ่มเติม ขอเบิกได้หลังจากพิสูจน์แล้วว่าเราเป็นฝ่ายถูก มีรายการชดเชย ดังนี้
- ค่ารักษาพยาบาลสำหรับผู้ประสบภัย สูงสุดคนละ 80,000 บาท
- ค่าสินไหมกรณีสูญเสียอวัยวะ หรือพิการถาวรสิ้นเชิง ชดเชยสูงสุดคนละ 200,000-500,000 บาท
- ค่าสินไหมกรณีเสียชีวิต ชดเชยสูงสุดคนละ 500,000 บาท
- ค่าชดเชยนอนโรงพยาบาลวันละ 200 บาท (รวมกันไม่เกิน 20 วัน)
- ถ้าเป็นฝ่ายผิดไม่สามารถเบิกเงินชดเชยส่วนนี้ได้
ภาษีรถยนต์
ภาษีรถยนต์ คือค่าใช้จ่ายที่เจ้าของรถต้องเสียเพื่อต่ออายุทะเบียนรถแบบปีต่อปี ซึ่งเงินภาษีถูกจัดเก็บโดยกรมการขนส่งทางบก พร้อมส่งต่อไปเป็นงบประมาณสำหรับพัฒนาระบบคมนาคมให้มีความสะดวกมากขึ้น ถ้าต่อภาษีล่าช้าจะมีค่าปรับเพิ่ม 1% จากภาษีที่ต้องจ่ายทบรายเดือน และกรณีไม่ได้ต่อทะเบียนนานเกิน 3 ปี จะถูกระงับใช้ทะเบียนรถยนต์ พร้อมกับเสียค่าปรับย้อนหลังทั้งหมด
พ.ร.บ. และ ภาษีรถยนต์เกี่ยวข้องกันยังไง
สิ่งที่ทำให้หลายคนเข้าใจผิดคิดว่า พ.ร.บ. และ ภาษีรถยนต์เหมือนกัน คือการต่ออายุของทั้งคู่ที่ต้องทำพร้อมกัน ขั้นตอนเริ่มต้นจากการต่อ พ.ร.บ. ควบคู่กับตรวจสภาพรถยนต์ก่อน แล้วค่อยไปสู่ขั้นตอนการเสียภาษีรถยนต์ที่กรมการขนส่งทางบก ถ้าไม่ต่อ พ.ร.บ. ก่อนจะไม่สามารถเสียภาษีรถยนต์ได้ ดังนั้นทั้งสองอย่างต้องทำพร้อมกันถึงจะดำเนินการได้ตามระเบียบ
มาถึงตรงนี้คงเข้าใจกันแล้วว่า พ.ร.บ. และ ภาษีรถยนต์ มีหน้าที่ต่างกันอย่างสิ้นเชิง แต่ก็ต้องทำเรื่องพร้อมกันขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้เด็ดขาด สำหรับใครที่กลัวเลยกำหนด สามารถต่อภาษีและ พ.ร.บ. ล่วงหน้าได้ 90 วัน หรือประมาณ 3 เดือน ถ้ามีเวลาว่างก็จัดการก่อนได้เลยไม่ต้องรอโดนปรับ