
คนที่เรียนรู้เรื่อง SEO หลายคนจะได้ยินคำนี้เลย คำว่า On-Page ซึ่งหลายคนอาจจะสงสัยแล้วว่าคำนี้มีความหมายถึงอะไร มันคืออะไร ทำไมต้องรู้จัก?
มาเถอะ มาดูกันเลยว่า On-Page สำหรับ SEO นั้น คืออะไร เพราะวันนี้ AMPROSEO ได้เปิดตำราเอาเรื่องน่าสนใจที่ช่วยเรื่องการทำให้ User ได้มีโอกาสมองเห็นเว็บไซต์นี้มาบอกกัน รับรองเลยว่าจะไม่งกความรู้อย่างแน่นอน แล้ว On-Page คืออะไรน้า ฮั่นแน่~ อยากรู้กันแล้วใช่ม้า มาดูกันๆ
On-Page คืออะไร
On-Page คือ การปรับปรุงหน้าเว็บไซต์ที่มองเห็นได้ เช่น พวกเนื้อหา ชื่อ หัวข้อ ฯลฯ เพื่อทำให้หน้าเว็บนั้นๆ ขึ้นไปติดอันดับบนหน้า Google แต่การปรับที่หน้าเว็บไซต์ของเรามันไม่ได้แค่ทำให้แค่เนื้อหามีคุณภาพ ดูสวยงามอะไรแบบนั้นหรอกนะ แต่ยังต้องทำให้บอทของ Google เข้ามาจับได้ง่าย ทีนี้พอบอทจับแล้วเขาก็จะอ่านดูว่าเว็บของเราเนี่ย มันเขียนอะไร เรากำลังนำเสนออะไรอยู่ และเวลาที่คนค้นหา Google ก็จะเลือกเว็บที่เนื้อหาตรงกับสิ่งที่คนค้นหาหรือ User ต้องการมากที่สุดไปจัดลำดับเอาไว้ ถ้าเว็บเราโดนอกโดนใจทั้งคนอ่านและ Google ก็จะมีโอกาสได้อัพระดับตัวเองขึ้นไปติดหน้าแรก เผลอๆ อาจจะขึ้นครองที่ 1 ได้เลยล่ะ
พอจะรู้เลยใช่มั้ยว่า การทำ On-Page สำหรับ SEO นั้นถือว่าสำคัญมาก ถ้าอยากให้ใครมาเสิร์ชแล้วเจอเราในหน้าแรก เจอเราทันที ก็ต้องทำ On-Page ให้ดี ให้แม่น เพราะอย่างที่รู้กันว่าถ้าอยู่อันดับต้นๆ คนก็จะเข้ามาแน่ๆ ยังไงก็มีโอกาสมากกว่าอันดับล่างลงไปแน่นอน
ประโยชน์ของการทำ On-Page SEO
หลายคนอาจจะยังไม่เข้าใจว่าทำไมต้องทำ On-Page SEO ด้วยล่ะ เราทำเว็บให้ User ของเราใช้กันไม่ใช่เหรอ แต่เท่าที่ฟังดูมันกลับเหมือนเรากำลังทำให้บอทของ Google อ่านอยู่มากกว่าอีก ซึ่งความจริงแล้วมันก็ไม่ได้เป็นถึงขนาดนั้นหรอก เพราะไอ้ตัว On-Page ตัวนี้ มันมีประโยชน์มากมาย AMPROSEO จะบอกให้ชัดเจนไปนะ ลองอ่านดูจากหัวข้อด้านล่างนี้เลย
- ในแง่ของคนใช้งาน
เราลองคิดดูนะว่าถ้าเราจะเข้าเว็บไซต์อันนึง เราคงไม่คลิกมั่ว แบบเดาสุ่มๆ แล้วเลือกมาสักอันเหมือนสุ่มกาชาปองหรอกถูกมั้ย? แต่เราจะต้องอ่านก่อนไงว่า เว็บนี้มันจะบอกคำตอบอะไรที่เราสงสัยได้มั้ย? ตรงมั้ย? แล้วก็ค่อยคลิกเข้าไป ซึ่งไอ้ส่วนที่บอกเรานี่แหละมันคือ On-Page ที่ต้องทำ อย่างพวก URL หรือชื่อเรื่อง (Title) คำอธิบาย (Meta description) ใครที่จะเสิร์ชอะไรมาก็อ่านพวกนี้ก่อนเข้าเว็บกันทั้งนั้น เพราะคนเขาตั้งธงมาแล้วว่าต้องการอะไร จะเข้าไปดูก็ต้องเลือกอันที่ไม่เสียเวลา นี่แหละประโยชน์ของ On-Page สำหรับคนใช้งาน
-
ในแง่ของการทำงานของ Algorithm
ทีนี้มาดูประโยชน์ของอัลกอริทึ่มกันบ้าง ก็ต้องบอกว่าความจริงแล้วไม่ต่างกันเท่าไหร่หรอก เพราะไอ้พวกอัลกอริทึ่มมันก็เข้ามาเพื่อเก็บข้อมูลเหมือนกัน ซึ่งก็ต้องบอกว่าถ้าเราทำ On-Page ตัวนี้พวกมันก็จะทำงานสบายมากขึ้น
งานมันสบายแต่งานเราลำบากแล้วมันจะดีได้ยังไงล่ะ?
ก็เพราะเวลาที่เราอำนวยความสะดวก เสิร์ฟน้ำแดงให้พวกอัลกอริทึ่มแล้วเนี่ย พวกมันจะเก็บข้อมูลของเราได้เร็ว ประมาณว่า “อ๊ะ! อ๋อ เว็บคุณทำเรื่องนี้เองเหรอ” “อ้อ บอกเรื่องนี้ด้วยเหรอ โอเค เข้าใจละ!” พอมันเก็บข้อมูลไปแล้วก็เอาไปจัดเรียงว่าเราเหมาะสมจะเป็นคำตอบมากน้อยเท่าไหร่ จัดอยู่หน้าแรกเลยดีมั้ย?
บอกเลยว่ายิ่งเราทำ On-Page ตัวนี้ดีมากเท่าไหร่ โอกาสที่อัลกอริทึ่มจะเก็บเอาข้อมูลไปครบถ้วน จัดเรียงรวดเร็ว ก็ยิ่งมีมากขึ้นนะ ฟังดูแล้วเป็นเรื่องพลาดไม่ได้เลยใช่มั้ยล่ะ?
สิ่งที่ต้องรู้ก่อนการทำ On-Page
ดูประโยชน์กันแล้วก็คงรู้สึกว่ามันต้องทำ On-Page เลยใช่มั้ย แต่ว่ามันดีอย่างนี้ก็ใช่ว่าอยากทำก็ทำได้เลยนะ ยังมีเรื่องต้องรู้ก่อนด้วย ไม่ต้องรออะไรแล้ว ไปดูกันเลย
- Google ให้ความสำคัญกับเกณฑ์ที่เรียกว่า E-E-A-T Factor และ YMYL
โอเค…เรามาเริ่มทำความรู้จักกับตัว E-E-A-T Factor กันก่อนเลย ไอ้ตัวปัจจัยพวกนี้เป็นตัวย่อจากคำว่า Experience (ประสบการณ์), Expertise (ความเชี่ยวชาญ), Authoritativeness (ความมีอิทธิพล) และ Trustworthiness (ความน่าเชื่อถือ)
คือ ถ้าเราใส่สิ่งเหล่านี้ลงไปตอนทำคอนเทนต์ในหน้าเว็บ ด้วยการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้คนประทับใจเวลาเข้าเว็บ มีความเชี่ยวชาญในเรื่องที่นำเสนออยู่ มีความเป็นขาใหญ่ (ที่ไม่ใช่ขาจริงๆ นะ แต่หมายถึงเป็นที่รู้จักอะ เข้าใจบ่?) ในวงการของตัวเองมากแค่ไหน หรือมีความน่าเชื่อถือในการนำเสนอหรือไม่ อะไรพวกนี้ทำให้การทำ On-Page เห็นผลได้ดี
ทีนี้มาถึงอีกตัวคือ YMYL ตัวนี้แปลแล้วอาจจะงงนิดนึง เพราะมันคือ Your Money or Your Life ก็คือ ตัวหน้าเว็บไซต์ของเราเนี่ยมันจะต้องปลอดภัยกับเงินและชีวิตหรือเปล่า ไม่ได้หมายถึงว่าเราเป็นโจรหรือเปล่านะ Google เขาเชื่อว่า คนที่นำเสนอเรื่องสุขภาพก็ต้องเป็นคนที่เชื่อถือได้ ไว้ใจได้ มีการรับรอง ใครที่นำเสนอเกี่ยวกับการลงทุน เรื่องที่ต้องเสียเงิน ก็จะต้องมีความน่าเชื่อถือด้วย ดังนั้น เลยเป็นหน้าที่ Google จะเลือกเว็บไซต์ที่ไม่หลอกลวงคนอื่นเข้ามาจัดอันดับนั่นเอง
- เข้าใจการทำ Competitors Analysis
เรื่องการทำเว็บนำเสนอให้ปังตอนนี้ก็ต้องบอกเลยว่ามันคือเรื่องท้าทาย เพราะไม่ว่าจะแบบไหน ทำเรื่องอะไร มันก็มีเว็บที่คล้ายหรือเว็บที่เหมือนอยู่ดี แล้วจะทำยังไงให้เว็บเราเกิดได้ล่ะ? มันก็ต้องพึ่ง SEO และพึ่งการทำ On-Page มาช่วย แต่! ใช่ว่าแค่ทำก็จะดี เราต้องรู้ก่อนว่าอะไรจะเป็นจุดเด่นของเรา ไอ้ที่มันดีกว่าคนอื่นเขามันคืออะไรบ้าง วิเคราะห์ออกมาให้ชัดเจนแจ่มแจ้ง แล้วก็เสริมจุดนั้น สร้างให้มันดี มันเลิศไปก็ทำให้การทำ On-Page ของเราประสบความสำเร็จได้
- เข้าใจหลักการของ Search intent
ก่อนจะทำความเข้าใจกับหลักการ เราต้องรู้ก่อนว่า Search intent เนี่ย มันคือเจตนาของการค้นหา หรือก็คือคนเข้ามาหาข้อมูลเรื่องนี้ เขาหาทำไม หาเพื่อคำตอบยังไง และเป็นข้อมูลแบบไหน ถ้าเราเข้าใจตรงนี้ได้ การทำคอนเทนต์ของเราก็ถือว่าตอบโจทย์ผู้ใช้หรือ User ได้แล้ว ซึ่งไอ้ตรงนี้เนี่ย ต้องบอกว่ามันอาจจะต้องจับจุดกันเอาเองเพราะว่าแต่ละเรื่องมันก็มีรายละเอียดต่างกัน แต่ AMPROSEO ขอกระซิบเลยว่า ไม่ยากๆ
- รู้จักวิธีการทำเว็บไซต์
ต้องบอกว่าการทำ SEO มันมีเรื่องเชิงเทคนิคอยู่บ้าง ซึ่งการทำ On-Page ก็มีส่วนอยู่เล็กน้อย แต่ว่าใครที่ไม่สามารถจริงๆ มันเกินกำลังเหลือเกินแต่เราอยากทำเว็บให้ปังอยู่ ก็สามารถใช้เครื่องมือเข้าช่วย ใช้ CMS หรือระบบจัดการเนื้อหาของเว็บไซต์ อย่าง WordPress ก็ได้ มันมีให้เลือกตามที่เราจะชอบได้เลย จะช่วยแค่บางส่วนหรือใช้ช่วยเยอะๆ หน่อยก็ได้ทั้งนั้น สะดวกแบบไหนก็ใช้แบบนั้น
วิธีการปรับปรุง On-Page SEO ให้กับเว็บไซต์
ใครที่อยากจะทำให้ On-Page SEO ของเว็บไซต์ดูดีขึ้น ได้ผลมากขึ้น ก็ลอง 11 วิธีนี้กันเลย
- เขียนหรือนำเสนอคอนเทนต์ที่มันมีเอกลักษณ์ มีประโยชน์สามารถช่วยเป็นคำตอบได้จริง ไม่ลอกใครมา เน้นเขียนเองจะดีที่สุด
- วางกลยุทธ์การทำ Keyword Research ที่มีเป้าหมาย มีคนค้นหา เกี่ยวกับธุรกิจ และสามารถทำการแข่งขันได้
- เขียน Title Tags ที่บอกชื่อเรื่องให้ชัดเจน เข้าใจง่าย มีคำ Keyword ใส่เข้าไปด้วย
- เขียนคำอธิบายหรือส่วน Meta Descriptions ให้น่าสนใจ แบบอ่านแล้วคลิกเลย และมีคำ Keyword ใส่เข้าไปด้วย
- เขียนหัวเรื่องหลักกับหัวเรื่องย่อยให้คอนเทนต์ดูง่ายและอ่านง่าย ด้วยการจัดเรียง Heading Tag คือ เรียงจาก Heading 1, 2, 3,.. ตามลำดับความสำคัญ และไม่ใช้กระโดดไปมา รวมถึงมีคำ Keyword ใส่เข้าไปด้วย
- เพิ่มประสิทธิภาพของ URL ให้ดีกับ SEO ด้วยการทำให้สั้น กระชับ เข้าใจง่าย
- ใส่ Internal Link เพื่อเชื่อมเนื้อหาในเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกัน
- ใส่ External Link เพื่อบอกว่าเนื้อหาที่เขียนอ้างอิงมาจากที่ได้ (แต่อย่าลืมเลือกแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือด้วยนะ)
- ใส่รูปแล้วอย่าลืมเขียนคีย์เวิร์ดว่าภาพเกี่ยวกับอะไรด้วย (ALT)
- ทำให้ User อยากจะมีส่วนร่วมหรือ Engagement กับเว็บ เช่น เพิ่ม CTA เป็นต้น
- ใส่ Keyword ก็อย่าใส่มั่วๆ ต้องดู Keyword Density ขอบทความด้วยว่ามากหรือน้อยเกินไปมั้ย เพราะถ้ามากไปก็จะถูกหาว่าสแปม หรือน้อยไปก็ทำ Performance ได้ไม่ดี เพราะงั้นทำแต่พอดีๆ นะ
สรุปการทำ On-Page SEO จำเป็นไหม
อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว หลายคนคงตอบได้แล้วแหละว่า On-Page SEO มันจำเป็นมาก หรือภาษาบ้านๆ เรียกว่าโคตรจำเป็นเลย เพราะมันไม่ใช่แค่จะทำให้ User หรือผู้ใช้ของเราอ่านง่ายขึ้น ตัดสินใจได้ง่ายขึ้นเท่านั้น แต่มันยังทำให้อันดับ SEO ดีขึ้นด้วย แล้วพออันดับตรงนี้ดีขึ้นคนก็จะเข้าเว็บเรามากขึ้น มันก็ทำให้เว็บเป็นที่รู้จักมากขึ้น อะไรที่คาดหวังไว้ก็ทำได้แล้ว จะหาเงิน จะโฆษณา จะนำเสนอเรื่องสำคัญ มันก็มีคนเข้ามาดูไง บอกเลยว่าทำแล้วดีกว่าเยอะ ไม่พูดมาก ลองทำเถอะ
ใครที่อยากจะฝึกทำ SEO ให้กับเว็บไซต์ก็ยังสามารถเข้ามาอ่านดูกันได้ที่นี่เลยนะ AMPROSEO จะเอาเคล็ดลับกับเรื่องต้องรู้อื่นๆ ของ SEO มาฝากอีกแน่นอนเลย บ๊ายบัย~