นอนไม่หลับ เกิดจากสาเหตุอะไร สามารถรักษาได้ด้วยวิธีใดบ้าง?

นอนไม่หลับ

ปัญหาที่หลายคนกำลังประสบอยู่และมักมองข้าม โดยคิดว่าเป็นเรื่องทั่วไปที่สามารถเกิดขึ้นได้ คือ อาการนอนไม่หลับ เนื่องจากความเข้าใจผิดว่าเป็นเรื่องปกติและไม่ยอมปรับพฤติกรรมตนเอง หรือไปปรึกษาแพทย์ จนนอนไม่หลับสะสมเป็นระยะเวลาหลายสัปดาห์ ไปจนถึงหลายเดือน ทำให้ร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ และส่งผลกระทบที่รุนแรงขึ้นต่อร่างกาย อารมณ์ จิตใจ และพฤติกรรม

ข้อมูลน่าสนใจ กรมสุขภาพจิตพบว่า 3 ใน 4 ของประชากรไทย หรือประมาณ 19 ล้านคน กำลังเผชิญกับภาวะนอนไม่หลับ โดยราวร้อยละ 30 หรือประมาณ 5,700,000 คน มีอาการนอนหลับยาก ซึ่งกว่าร้อยละ 70 หรือเกือบ 4,000,000 คน อยู่ในวัยทำงาน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการทำงานและคุณภาพชีวิตโดยรวมของประชากร

นอนไม่หลับ อันตรายไหม ส่งผลเสียต่อร่างกายหรือไม่?

ผู้ป่วยที่มีอาการนอนไม่หลับมักจะสะดุ้งตื่นกลางดึกแล้วไม่สามารถกลับไปนอนหลับได้อย่างปกติ ทำให้กลายเป็นคนนอนหลับยากขึ้น ซึ่งอาการนอนไม่หลับหากปล่อยไว้จนมีอาการรุนแรงมากขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพหลายด้าน เช่น 

 

  • ปัญหาสุขภาพร่างกายองค์รวม อาการนอนไม่หลับเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน และโรคอ้วน เป็นต้น
  • ระบบเผาผลาญทำงานผิดปกติ การพักผ่อนไม่เพียงพอจากอาการนอนไม่หลับ ส่งผลกระทบต่อระบบย่อยอาหารที่ต้องทำงานหนักขึ้น ทำให้อยากอาหารจำพวกไขมันสูง และคาร์โบไฮเดรตสูง จนส่งผลทำให้น้ำหนักตัวขึ้น และลดน้ำหนักได้ยาก
  • ระบบทางเดินอาหารทำงานผิดปกติ ปัญหานอนไม่หลับทำให้ระบบทางเดินอาหารทำงานผิดปกติ เกิดกรดไหลย้อน อาหารไม่ย่อย และท้องผูก
  • ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ผู้ป่วยที่เป็นโรคนอนไม่หลับส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันลดลง ทำให้ร่างกายต่อสู้กับการติดเชื้อโรค เชื้อไวรัสได้ยากขึ้น เป็นสาเหตุของที่ทำให้ติดเชื้อต่าง ๆ ที่แพร่กระจายภายในร่างกายได้อย่างรวดเร็ว
  • ฮอร์โมนร่างกายไม่สมดุล ปัญหานอนไม่หลับ ส่งผลต่อระบบฮอร์โมนโดยตรง รบกวนสมดุลของฮอร์โมน ส่งผลทำให้อารมณ์แปรปรวน ไม่มีเรี่ยวแรง 
  • ขาดสมาธิ ความจำไม่ดี  สิ่งที่จะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยนอนไม่หลับมีผลต่อความสามารถในการจดจ่อ สมาธิ และความจำ 

เกร็ดน่ารู้: คนนอนไม่เพียงพอหรือนอนต่ำกว่า 6 ชั่วโมง กลุ่มนี้จะมีระดับน้ำตาลสะสมในเลือดมากกว่าคนที่เข้านอนเร็วอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากการเข้านอนผิดเวลาหรือนอนน้อยส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นตามมา และอาจนำไปสู่โรคเบาหวาน หากมีอาการนอนไม่หลับควรรีบปรึกษาแพทย์

นอนไม่หลับ สาเหตุเกิดจากอะไร

นอนไม่หลับเป็นภาวะอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ หรืออาจจะเกิดจากโรคประจำตัวและผู้ป่วยนอนไม่หลับเป็นเพราะมีความเครียดสะสม จึงทำให้มีอาการนอนไม่หลับกระสับกระส่ายตลอดทั้งคืน โดยสาเหตุหลักของอาการนอนไม่หลับที่พบได้บ่อย มีดังนี้

ADVERTISMENT

 

  • ปัญหาของสภาพจิตใจ

ความเครียด ความกังวล หรือรู้สึกไม่สบายใจเป็นสาเหตุหลักอย่างหนึ่งที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะนอนไม่หลับ โดยความเครียดจะมาจากกิจวัตรประจำวัน การเรียน ทำงาน และสถานะทางการเงิน เป็นตัวกระตุ้นที่ทำให้สมองต้องคอยคิดอยู่ตลอดเวลา รวมถึงเกิดอุบัติต่าง ๆ เช่น อุบัติเหตุร้ายแรง และสูญเสียคนในครอบครัว

ADVERTISMENT

โรคทางจิตเวช ผู้ป่วยที่เป็นโรคทางจิตเวช เช่น โรคซึมเศร้า โรคซึมเศร้าเรื้อรัง โรควิตกกังวล หรือโรคไบโพลาร์ โรคเหล่านี้สามารถทำให้ผู้ป่วยนอนไม่หลับ และชอบสะดุ้งตื่นกลางดึก

  • ปัญหาทางด้านร่างกาย 

ความผิดปกติของฮอร์โมน เป็นปัจจัยที่ทำให้นอนไม่หลับและหลับได้ยาก เนื่องจากฮอร์โมนมีการเปลี่ยนแปลง จึงทำให้นอนหลับได้ยากขึ้น

ความผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ เช่น ภูมิแพ้ทำให้หายใจไม่สะดวก มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ หรือนอนกรน

ได้รับคาเฟอีน หรือสารกระตุ้นชนิดอื่น ๆ เช่น กาแฟ ชา เหล้า เบียร์ และสูบบุหรี่

  • ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม 

นอนในสถานที่ ๆ ไม่คุ้นเคย เช่น นอนที่โรงแรม นอนบ้านคนอื่น อาจจะทำให้เกิดความรู้สึกกลัว กังวล ไม่คุ้นชิน ส่งผลให้นอนไม่หลับ

ภายในห้องนอนมีแสงสว่างเกินไป และมีเสียงรบกวนดังจากภายนอกทำให้นอนไม่หลับ

นอนไม่หลับ มีกี่รูปแบบ

อาการนอนไม่หลับ

การนอนไม่หลับในผู้ป่วยจะมีพฤติกรรมง่วงนอนตลอดเวลา แต่พอนอนแล้วนอนไม่หลับ หรืออาจจะนอนแล้วกระตุกตื่นขึ้นมาช่วงกลางคืนบ่อย ๆ หากมีอาการเหล่านี้เป็นเวลานานกว่า 3 เดือนขึ้นไป ควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการรักษา หาสาเหตุที่เกิดขึ้น อาการนอนไม่หลับแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้

  • นอนไม่หลับแบบชั่วคราว 

ลักษณะของอาการนอนไม่หลับจะเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ไม่เกินหนึ่งสัปดาห์ สาเหตุมาจากความเครียด ความวิตกกังวล เจอเหตุการณ์ที่ทำให้รู้สึกตื่นเต้น และสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป 

  • นอนไม่หลับแบบระยะกลาง 

ลักษณะนอนไม่หลับแบบระยะกลาง ผู้ป่วยจะมีอาการนอนไม่หลับสมองไม่หยุดคิด เพราะสาเหตุเกิดจากความเครียดเรื้อรัง การเจ็บป่วย และสูญเสียคนรัก ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การเรียน การงาน และจิตใจ โดยนอนไม่หลับแบบระยะกลางจะมีอาการนานกว่า 7 วัน แต่ไม่เกิน 3 เดือน

  • นอนไม่หลับแบบเรื้อรัง 

ลักษณะนี้มีอาการรุนแรงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลามากกว่า 3 เดือนขึ้นไป สาเหตุมาจากปัญหาสภาพจิตใจ เช่น โรคซึมเศร้า โรคเครียดเรื้อรัง โรควิตกกังวล และการใช้ยารักษาโรคบางชนิด

นอนไม่หลับมีวิธีรับมือ และวิธีรักษาอย่างไร

ผู้ป่วยที่นอนไม่หลับ ในกลุ่มผู้ที่มีอาการรุนแรงเป็นติดต่อกันนานกว่า 3 เดือน ผู้ป่วยกลุ่มนี้ควรรีบพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่เกิดขึ้น และรับการรักษาที่ทำให้นอนหลับได้เป็นไปอย่างปกติ บางรายถึงอาการเริ่มต้นไม่รุนแรงมากนัก แต่ควรหาวิธีรับมือ วิธีรักษาอาการนอนไม่หลับมีดังนี้

การรักษาโรคนอนไม่หลับ โดยไม่ใช้ยา

รักษาโรคนอนไม่หลับ โดยไม่ใช้ยาเป็นทางเลือกที่ดีเหมาะกับผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง หรือเพิ่งเริ่มต้นมีอาการนอนไม่หลับ ซึ่งวิธีรักษาไม่ใช้ยา ได้แก่

 

  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเวลาเข้านอนอย่างชัดเจน เริ่มต้นกำหนดเวลาเข้านอนและเวลาตื่นนอนในทุกวันให้เหมือนกัน ต้องตั้งใจปฏิบัติอย่างเคร่งครัด อาจสร้างบรรยากาศในห้องนอนให้น่านอน เช่น ปิดไฟ เปิดเพลงเบา ๆ ปรับอุณหภูมิห้องให้เย็นสบาย จะช่วยแก้อาการนอนไม่หลับได้เบื้องต้น 
  • จัดการความเครียด ลองมองหากิจกรรมที่ทำให้รู้สึกคลายเครียด ผ่อนคลาย เช่น ออกกำลังกาย อ่านหนังสือ หรือฝึกนั่งสมาธิให้จิตใจสงบจะช่วยกำจัดความเครียดได้
  • เลือกรับประทานอาหารมื้อเย็นเบา ๆ ไม่ควรรับประทานมื้อหนัก และไม่ดื่มน้ำมากจนเกินไปในช่วงก่อนเข้านอนเพราะจะทำให้ปวดปัสสาวะบ่อย รบกวนการนอนได้

การรักษาโรคนอนไม่หลับ โดยใช้ยา

วิธีการรักษาโรคนอนไม่หลับโดยใช้ยา จะใช้ยากลุ่มที่มีฤทธิ์ช่วยส่งเสริมการนอนหลับได้ง่ายขึ้น ซึ่งมียาอยู่หลายกลุ่มด้วยกัน เช่น กลุ่ม Benzodiazepine, Non BZD, Melatonin, Zolpidem และ Orexin Receptor antagonist เป็นต้น โดยยาเหล่านี้ออกฤทธิ์ทำให้รู้สึกง่วง แต่ทั้งนี้ อย่างไรก็ตามการทานยานอนหลับจำเป็นต้องจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น

นอนไม่หลับสามารถรักษาได้ เริ่มจากปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

อาการนอนไม่หลับเป็นปัญหาสุขภาพอย่างหนึ่ง หากปล่อยไว้อาการก็จะเริ่มรุนแรงมากขึ้น ควรเริ่มจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อไม่ให้อาการหนักขึ้น จนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ทำให้ไม่มีเรี่ยวแรงทำงาน เรียนหนังสือ สภาพจิตใจย่ำแย่ อารมณ์แปรปรวน และหากอาการนอนไม่หลับนี้สะสมเป็นระยะเวลาหลายเดือน แนะนำว่าควรรีบพบแพทย์ทันทีเพื่อหาสาเหตุของการเกิดโรคนอนไม่หลับ และหาวิธีรักษาอย่างเหมาะสม เพื่อช่วยให้กลับมามีการนอนหลับที่ดี และลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อร่างกายและจิตใจ

หากมีอาการนอนไม่หลับ เครียด กังวล หยุดคิดไม่ได้ สามารถปรึกษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยาคลินิกผ่านแอปพลิเคชัน BeDee ได้ทุกวัน สะดวก ไม่ต้องเดินทาง เป็นส่วนตัว ไม่มีค่าจัดส่งยา เปิดแอป BeDee เลย! คลิก https://bit.ly/4btcZSY