มูลนิธิโตโยต้ามอบทุนสนับสนุน ขับเคลื่อนสังคมไทยสู่ความยั่งยืน

ร้านอาหาร-เครื่องดื่มจีน เลือก “อาเซียน” เป็นบ้านหลังสอง ////////////////// ตัดช่วง **** จ้า ในประเทศไทยได้เห็นการเข้ามาเปิดร้านอาหารจีนกันอย่างคึกคักในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา และถ้ามองออกไปกว้างกว่านี้ จะเห็นว่าแนวโน้มในไทยก็เป็นแนวโน้มเดียวกันกับทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ร้านอาหารจีนพาเหรดเข้ามาเปิดสาขากันอย่างสนุกสนานในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ไม่เพียงเท่านั้น อาเซียนยังครองสถานะเป็นจุดหมายปลายทางแรกที่ร้านอาหารและเครื่องดื่มจีนเลือกเมื่อต้องการขยายธุรกิจออกนอกประเทศด้วย เมื่อเร็ว ๆ นี้มีข้อมูลจากการรายงานของ “ไฉซิน” (Caixin) ซึ่งเป็นสื่อและผู้ให้บริการข้อมูลด้านการเงินในจีนว่า ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่มจากจีนได้ขยายการลงทุนมายังอาเซียนอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นผลมาจากความอิ่มตัวของตลาดในประเทศ บวกกับสภาพการแข่งขันอันดุเดือดของธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่มขนาดเล็กในประเทศ ตามข้อมูลที่ไฉซินรายงานโดยอ้างอิงบริษัทหลักทรัพย์ ฮวาฟู่ ซีเคียวริตีส์ (Huafu Securities) ในปี 2023 มีการจดทะเบียนตั้งบริษัทอาหารและเครื่องดื่มในจีนมากถึง 3.19 ล้านบริษัท เพิ่มขึ้น 24.2% จากปีก่อนหน้า แม้ว่าการบริโภคภายในประเทศจีนไม่ได้คึกคักเท่าไรนัก อย่างที่เราได้ทราบข่าวกันในช่วงที่ผ่านมา ขณะที่ข้อมูลจาก “เพย์อินวัน” (PayInOne) ซึ่งเป็นบริษัทที่ให้บริการจัดหาคนทำงานและระบบจ่ายเงินเดือนระบุว่า ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (2021-2023) การจ้างงานและการจ่ายเงินเดือนในต่างประเทศของบริษัทจีนเพิ่มขึ้นมากกว่า 200% ต่อปี และในปีนี้บริษัทอาหารและเครื่องดื่มจีนที่ดำเนินธุรกิจในต่างประเทศกำลังเปิดรับสมัครพนักงานอีกจำนวนมาก ไฉซินรายงานอ้างอิงข้อมูลจากบริษัทหลักทรัพย์ ซูโจว ซีเคียวริตีส์ (Soochow Securities) ว่า ณ สิ้นเดือนกันยายน 2023 จำนวนสาขาร้านอาหารและเครื่องดื่มจีนในอาเซียนมีดังนี้ ไหตี้เหลา (Haidilao) 115 สาขา, คูคู (Coucou) 14 สาขา, เซียปู่ เซียปู่ (Xiabu Xiabu) 5 สาขา, ไท่เออร์ (Tai Er) 18 สาขา, ลัคกิน คอฟฟี่ (Luckin Coffee) 30 สาขา, เฮย์ที (Hey Tea) มากกว่า 10 สาขา, นายูกิ (Nayuki) 1 สาขา, ชาจี (Chagee) มากกว่า 100 สาขา และมี่เสวี่ย (Mixue) มากกว่า 4,000 สาขา นอกจากชื่อที่ว่ามาแล้วยังมี จางเลี่ยงหม่าล่าทั่ง (Zhangliang Malatang) ชาบูหม่าล่าหม้อไฟอีกแบรนด์ที่ไฉซินระบุว่าปัจจุบันมีร้านในต่างประเทศทั้งหมด 63 สาขาใน 15 ประเทศ และข้าวมันไก่หยาง (Yang’s Braised Chicken Rice) ที่มี 100 สาขา ใน 10 ประเทศ โดยไม่ได้ระบุว่าอยู่ในอาเซียนจำนวนกี่ร้าน แต่ก็คาดว่าน่าจะอยู่ในอาเซียนเป็นส่วนใหญ่ดังเช่นแบรนด์อื่น ๆ หลี่ เว่ยเซิน (Li Weisen) รองผู้จัดการทั่วไปของแบรนด์ข้าวมันไก่หยางให้ข้อมูลว่า การแข่งขันระหว่างธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่มขนาดเล็กในจีนนั้นรุนแรงมาก ดังนั้น บริษัทต่าง ๆ ในจีนจึงมองว่าการอัปเกรดแบรนด์ในตลาดในประเทศ และการขยายธุรกิจในต่างประเทศ เป็นสองทิศทางหลักที่ต้องทำคู่กันไป หลิน ตัน (Lin Tan) ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของเพย์อินวันให้ข้อมูลว่า บริษัทอาหารและเครื่องดื่มของจีนใช้หลายกลยุทธ์ในการขยายสู่ตลาดต่างประเทศ ทั้งการเลือกตลาดเป้าหมาย การจัดการห่วงโซ่อุปทาน การเปิดร้านเอง และการขายแฟรนไชส์ แต่โดยภาพรวมดูเหมือนว่าการขายแฟรนไชส์จะมีสัดส่วนมากกว่า และส่วนใหญ่เลือกขยายกิจการในอาเซียนเป็นอันดับแรก ก่อนที่จะขยายไปยังยุโรป อเมริกาเหนือ หรือแม้แต่ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ที่อยู่ใกล้บ้าน เนื่องจากคำนึงถึงเรื่องต้นทุนบุคลากรที่น้อยกว่าและการจัดการที่ง่ายกว่า ***** น่าสนใจว่า 7 ชื่อแรกจาก 9 ชื่อในข้อมูลชุดแรกนั้นเลือกเริ่มธุรกิจในอาเซียนที่ประเทศสิงคโปร์ โดยมี “ไหตี้เหลา” (Haidilao) ร้านชาบูหม้อไฟยักษ์ใหญ่จากมณฑลเสฉวน เป็นผู้บุกเบิกเข้าสู่อาเซียนที่สิงคโปร์ตั้งแต่ปี 2012 ตามรายงานบอกว่าหลาย ๆ แบรนด์มองสิงคโปร์เป็นก้าวสำคัญในการเข้าสู่ตลาดตะวันตก ซึ่งพวกเขาสามารถทดสอบทั้งอุปสงค์ของผู้บริโภค และความสามารถการดำเนินงานนอกจีนแผ่นดินใหญ่ของบริษัทเองด้วย ยกตัวอย่างเช่น ลัคกิน คอฟฟี่ ที่เปิดร้านเองในสิงคโปร์มากถึง 32 สาขา หลังจากที่เข้าสู่สิงคโปร์เมื่อปี 2023 นี่เอง ซึ่งโฆษกของลัคกินบอกว่า สิงคโปร์มีตลาดกาแฟที่เติบโตเต็มที่และมีเศรษฐกิจที่พัฒนาก้าวหน้า ซึ่งลัคกินมองว่านี่เป็นมาตรฐานสำหรับการขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศ **** ในรายงานของไฉซินบอกอีกว่า บริษัทอาหารและเครื่องดื่มจีนในต่างประเทศกำลังสร้างห่วงโซ่อุปทานในท้องถิ่นนั้น ๆ และนำเข้าส่วนผสมหลักจากประเทศจีน เพื่อรักษาคุณภาพและความถูกต้อง โดยนำเข้าสินค้าที่ขนส่งได้ง่าย เช่น ซุปและเครื่องปรุงรสจากประเทศจีน ขณะเดียวกันก็จัดหาวัตถุดิบที่เน่าเสียง่ายจากซัพพลายเออร์ในท้องถิ่น ซึ่งวิธีการนี้ช่วยรักษารสชาติหลักของอาหาร ในขณะเดียวกันก็รับประกันความสดของวัตถุดิบ และลดความท้าทายด้านโลจิสติกส์ นั่นหมายความว่าในระยะแรก ๆ ธุรกิจวัตถุดิบในท้องถิ่นยังได้ประโยชน์จากการเข้ามาของร้านอาหารและเครื่องดื่มจากจีนอยู่บ้าง แต่ในอนาคต ประโยชน์ที่จะเกิดกับธุรกิจท้องถิ่นนั้นน่าจะน้อยลง ตามที่มีการวิเคราะห์โดยนักลงทุนที่ศึกษาตลาดชานมไข่มุกว่า “การพัฒนาห่วงโซ่อุปทานในต่างประเทศยังมีปัญหามากมาย แต่ในอนาคตบริษัทวัตถุดิบต่าง ๆ จากจีนจะติดตามแแบรนด์ไปยังต่างประเทศด้วยแน่นอน ในปัจจุบัน บริษัทวัตถุดิบขนาดใหญ่บางแห่งก็เริ่มขยายไปยังต่างประเทศแล้ว” ซึ่งหมายความว่า การใช้บริการซัพพลายเออร์ในท้องถิ่นจะน้อยลง สำหรับคำถามที่ว่ารัฐบาลของประเทศต่าง ๆ จะสามารถปกป้องประโยชน์ของธุรกิจในท้องถิ่นอย่างไรได้บ้างนั้น ก็ยังมีวิธีที่สามารถทำได้อย่างตรงไปตรงมา คือ “กำหนดมาตรฐานให้สูง” ซึ่งร้านอาหารจากจีนที่เปิดร้านในต่างประเทศเองก็ยอมรับว่า ห่วงโซ่อุปทานของตนเผชิญความท้าทายในการปฏิบัติกฎของประเทศต่าง ๆ ที่เข้าไป ซึ่งเมื่อการสร้างห่วงโซ่อุปทานของตนเองไม่ผ่านมาตรฐาน ก็ย่อมมีความจำเป็นต้องใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นที่ผ่านมาตรฐาน

มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย สานต่อเจตนารมณ์ ขับเคลื่อนสังคมไทยสู่สังคมแห่งความยั่งยืน ผ่านกิจกรรมมอบทุนสนับสนุน ประจำปี 2567

นายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานมูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย พร้อมด้วย นายกลินท์ สารสิน ประธานคณะกรรมการ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด และนายโนริอากิ ยามาชิตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ร่วมเป็นเกียรติในพิธีมอบทุนสนับสนุนประจำปี 2567 แก่สถาบันการศึกษาและองค์กรสาธารณกุศล รวมมูลค่า 18.9 ล้านบาท เมื่อวันอังคารที่ 20 สิงหาคม พ.ศ.2567 ณ Toyota ALIVE บางนา

มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นในปีพ.ศ. 2535 ภายใต้เจตนารมณ์ของ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษา รวมถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเยาวชนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล ให้ได้รับโอกาสและยกระดับคุณภาพชีวิตให้เติบโตเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพ  โดยได้รับการสนับสนุนและความร่วมมือจาก นักวิชาการ และผู้ทรงคุณวุฒิ จากสถาบันการศึกษาในประเทศ เพื่อพัฒนาทรัพยากร  บุคคลอันเป็นรากฐานสำคัญของประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการ ได้แก่ 

  1. ส่งเสริมการศึกษาแก่เด็กและเยาวชน ในทุกระดับชั้น ครอบคลุมหลากหลายสาขาวิชา
  2. ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็ก เยาวชน และผู้พิการ รวมถึงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
  3. ส่งเสริมการดำเนินการขององค์กรสาธารณกุศลต่างๆ เพื่อสาธารณประโยชน์

Advertisment

ตลอดระยะเวลา 32 ปี  มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทยได้ดำเนินกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือสังคมมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการสนับสนุนด้านการศึกษา  ซึ่งมูลนิธิได้มอบทุนการศึกษาให้กับเด็กและเยาวชนไปมากกว่า 19,000 ทุน ใน 4 ภูมิภาคทั่วประเทศ นอกจากนี้ยังได้พัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กและเยาวชน ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นเพื่อเติบโตเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพ 

นอกจากนี้ มูลนิธิฯ ยังคงมุ่งมั่นส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กและเยาวชน ด้วยการสนับสนุนความมั่นคงทางอาหาร รวมถึงด้านสาธารณูปโภคและสิ่งแวดล้อม อาทิ แปลงเกษตรยั่งยืน ระบบกรองน้ำดื่มมาตรฐาน ระบบสูบน้ำและระบบไฟฟ้าพลังงานโซลาเซลล์ การจัดการขยะและเครื่องบีบอัดขยะด้วยกลไกคาราคูริ แบบไม่ใช้ไฟฟ้า โดยในปีนี้ได้มีการสานต่อโครงการ “โตโยต้ายั่งยืนวิทยา2” หรือ “โรงเรียนต้นแบบแห่งที่2”  ต่อยอดความสำเร็จจากโรงเรียนบ้านขนวนนคร ซึ่งถือเป็นโรงเรียนต้นแบบแห่งแรก

Advertisment

ในปี พ.ศ. 2567 นี้ มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย ได้สนับสนุนงบประมาณ ด้านการศึกษา
และด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต รวมมูลค่า 18,896,000 บาท ตามรายละเอียดดังนี้

รายละเอียดองค์กรและโครงการ

ชื่อองค์กร ชื่อโครงการ
1. มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (2,835,000 บาท) – ทุนการศึกษา สำหรับเด็กและเยาวชนขาดแคลนในภาคเหนือ 
2. มหาวิทยาลัยขอนแก่น (3,481,000 บาท) – ทุนการศึกษา สำหรับเด็กและเยาวชนขาดแคลนในภาค  

  ตะวันออกเฉียงเหนือ

– ทุนการศึกษา พยาบาลวิชาชีพ

3. มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต (1,700,000 บาท) – ทุนการศึกษา สำหรับนักศึกษาขาดแคลนในภาคใต้ 
4. มหาวิทยาลัยบูรพา (1,530,000 บาท) – ทุนการศึกษา สำหรับนิสิตขาดแคลนในภาคตะวันออก
5. มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (300,000 บาท) – ทุนการศึกษา สำหรับนักศึกษาขาดแคลนในภาคเหนือ
6. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (1,600,000 บาท) – ทุนการศึกษา แก่นักเรียนนักศึกษาอาชีวศึกษา

7. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (1,000,000 บาท) – โครงการรางวัลผลงานวิชาการ TTF Award
8. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น(400,000 บาท) – ค่ายจิตอาสาพยาบาล เพื่อสังคมสุขภาวะ
9. มูลนิธิ พล.ต.อ. เภา สารสิน
(1,500,000 บาท)
– โครงการบ้านตะวันใหม่ และทุนสนับสนุนการศึกษา
แก่บุตรธิดาของเจ้าหน้าที่ ที่เสียชีวิตจากการปราบปราม
ยาเสพติด
10. มูลนิธิหมอเสม พริ้งพวงแก้ว 

(1,200,000 บาท)

– ทุนการศึกษา โครงการพ่อแม่อุปถัมภ์
11. มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย 

(1,000,000 บาท)

– เสริมสร้างโภชนาการทางอาหารและสนับสนุนระบบสาธารณูปโภค เพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน (โตโยต้ายั่งยืนวิทยา2) 
12. องค์กรสาธารณกุศลอื่นๆ

 (2,350,000 บาท)

– โครงการส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กและเยาวชน

 

มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทยจะยังคงมุ่งมั่นสร้างโอกาสทางการศึกษา พร้อมกับดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่เด็กและเยาวชนที่ขาดแคลน  อันจะเป็นรากฐานที่แข็งแรงในการพัฒนาประเทศ เพื่อช่วยขับเคลื่อนสังคมไทยสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals) ต่อไป

“ โตโยต้า สานโอกาส สร้างรอยยิ้ม ”