
คาร์บอนจากภาระสู่สินทรัพย์ที่ต้องบริหารอย่างมีกลยุทธ์ “วันนี้คาร์บอนคือสินทรัพย์ องค์กรวางกลยุทธ์กับมันอย่างไร?”
จากข้อมูลในการประชุม COP28 ระบุว่า อุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้นถึง 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกชี้ว่านี่คือสัญญาณอันตรายเพราะเรากำลังอยู่ในยุค ‘ภาวะโลกเดือด’
ผลกระทบนี้ไม่ได้จำกัดแค่ด้านสิ่งแวดล้อม แต่ยังขยายวงกว้างไปสู่เศรษฐกิจและธุรกิจโดยตรง โดยเฉพาะในยุคที่แนวคิดความยั่งยืนอย่าง ESG กลายเป็นมาตรานสำคัญขององค์กร ทำให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกไม่ใช่แค่ตัวเลขในรายงาน แต่เป็นสิ่งที่สามารถบ่งบอกถึงความรับผิดชอบและความสามารถในการแข่งขันขององค์กรในตลาดโลก
ทำไมการจัดการการปล่อยก๊าซเรือนกระจกถึงสำคัญ
ในวันที่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกไม่ใช่เรื่องของ ‘ใครคนหนึ่ง’ แต่เป็น ‘หน้าที่ร่วมกัน’ องค์กรที่ไม่ปรับตัวอาจต้องเผชิญกับปัญหาใหญ่ เช่น
1.การลงทุนอาจหายไป
นักลงทุนยุคใหม่เลือกลงทุนในบริษัทที่มีแผนและรายงานด้าน ESG ชัดเจน การไม่มีมาตรการจัดการคาร์บอนอาจะทำให้คุณสูญเสียโอกาสการลงทุน
2.การสูญเสียโอกาสทางการค้า
หลายประเทศเริ่มใช้มาตรการ Carbon Tax และมาตรฐานคาร์บอนในสินค้าและบริการ องค์กรที่ไม่มีระบบจัดการคาร์บอนอาจต้องแบกรับต้นทุนที่เพิ่มขึ้น
3.ภาพลักษณ์องค์กรที่สั่นคลอน
ในยุคที่คู่ค้าคาดหวังความยั่งยืน องค์กรที่ขาดการจัดการคาร์บอนอย่างชัดเจนถูกมองว่าไม่ใส่ใจในสิ่งแวดล้อมและส่งผลต่อภาพลักษณ์ในมุมลบ
ดังนั้น การจัดทำบัญชีคาร์บอนจึงเป็นหนึ่งใน ‘กุญแจสำคัญ’ ที่ช่วยให้องค์กรมองเห็นตัวเลขที่แท้จริงและวางแผนการลดและชดเชยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Case Study: ถอดบทเรียนจากองค์กรระดับโลกที่เปลี่ยนคาร์บอนให้เป็นโอกาส
1.Microsoft (สหรัฐอเมริกา): ผู้นำที่กล้าเปลี่ยนแปลง
Microsoft ไม่ได้มองการจัดการคาร์บอนเป็นเพียงเรื่องของความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อม แต่พวกเขาเห็นว่านี่คือโอกาสสำคัญในการสร้างความได้เปรียบในระยะยาว ภายใต้เป้าหมายที่จะก้าวสู่สถานะ ‘Carbon Negative’ ภายในปี 2030
Microsoft ได้เปลี่ยนวิธีการดำเนินธุรกิจในทุกมิติ พวกเขาเริ่มต้นจากการใช้เทคโนโลยีจัดทำบัญชีคาร์บอนเพื่อตรวจสอบและติดตามการปล่อยคาร์บอนในทุกกิจกรรมของบริษัท ตั้งแต่กระบวนการผลิตในโรงงาน ไปจนถึงการเดินทางของพนักงาน เพื่อบริษัทสามารถวางแผนลดและชดเชยการปล่อยคาร์บอนได้อย่างเป็นระบบ ผ่านการลงทุนในโครงการลดก๊าซเรือนกระจกและการซื้อคาร์บอนเครดิต ผลลัพธ์ที่ได้คือ Microsoft สามารถลดการปล่อยคาร์บอนลงถึง 6% ต่อปี และได้รับความเชื่อมั่นจากนักลงทุนในฐานะองค์กรที่เป็นผู้นำด้าน ESG ที่แท้จริง
2.Maersk (เดนมาร์ก): การเปลี่ยนคาร์บอนในทะเลให้เป็นโอกาสใหม่
Maersk หนึ่งในบริษัทขนส่งสินค้าทางทะเลที่ใหญ่ที่สุดในโลก กำลังเปลี่ยนแปลงตัวเองให้เป็นองค์กรที่ยั่งยืน โดยตั้งเป้าหมายที่จะเป็น ‘Carbon Neutral’ ภายในปี 2040
ในฐานะบริษัทที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงจากกระบวนการขนส่งสินค้า พวกเขาจึงเริ่มต้นด้วยการใช้แพลตฟอร์มจัดทำบัญชีคาร์บอนเพื่อตรวจวัดและวิเคราะห์ข้อมูลในทุกลำเรืออย่างละเอียด
จากข้อมูลเหล่านี้ Maersk ลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ เช่น การใช้เชื้อเพลิงสะอาดอย่าง Methanol และพลังงานไฮโดรเจน เพื่อลดการปล่อยคาร์บอน ผลลัพธ์ตามมาก็คือ Maersk สามารถลดต้นทุนด้านพลังงานในระยะยาว ขณะเดียวกันก็เพิ่มโอกาสทางการค้าในตลาดที่มีข้อกำหนดด้านคาร์บอนเข้มงวดมากขึ้น
3.Unilever (สหราชอาณาจักร): เมื่อ Supply Chain กลายเป็นหัวใจของการเปลี่ยนแปลง
Unilever ผู้นำในอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคระดับโลก แสดงให้เห็นถึงพลักของการจัดการคาร์บอนที่เริ่มต้นจาก Supply Chain บริษัทเลือกใช้ข้อมูลจากแพลตฟอร์มจัดทำบัญชีคาร์บอนในการระบุจุดที่ Supplier สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ พร้อมทั้งวางแผนการทำงานร่วมกับคู่ค้าเพื่อกำหนดเป้าหมายลดคาร์บอนที่ชัดเจนในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การผลิตวัตถุดิบไปจนถึงการจัดส่งสินค้า
ผลลัพธ์คือ Unilever ไม่เพียงแค่การลดการปล่อยคาร์บอนใน Supply Chain ได้อย่างต่อเนื่อง แต่ยังเพิ่มความน่าเชื่อถือในสายตาผู้บริโภคและคู่ค้าทั่วโลกอีกด้วย
องค์กรที่ปรับตัวเร็วจะอยู่รอดและเติบโตได้
การจัดการคาร์บอนไม่ได้เป็นเพียงการทำตามกฎระเบียบทางสิ่งแวดล้อม แต่คือกลยุทธ์ที่จะเปลี่ยนโฉมธุรกิจ ไม่เพียงแต่จะลดต้นทุนและเพิ่มโอกาสในตลาด แต่ยังสามารถส้างความเชื่อมั่นในสายตานักลงทุน ลูกค้า และคู่ค้า การมีคาร์บอนเป็น ‘สินทรัพย์’ ที่ต้องบริหารอย่างมีระบบจึงเป็นสิ่งที่องค์กรยุคใหม่ต้องนำมาใช้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องมือที่จะช่วยให้องค์กรลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่าง ‘GAIA ZERO’ ที่ช่วยผลักดันให้องค์กรมุ่งสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ได้ในอนาคตด้วยระบบที่ครบวงจร ช่วยในการวัด ลดและชดเชยคาร์บอนได้อย่างแม่นยำ เปลี่ยนภาระให้เป็นโอกาส เปลี่ยนความท้าทายให้กลายเป็นความสำเร็จ
‘GAIA ZERO’ ตัวช่วยจัดทำบัญชีคาร์บอน สู่เป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
GAIA ZERO คือแพลตฟอร์มที่ช่วยให้องค์กรจัดทำบัญชีคาร์บอนได้ครบจบในที่เดียว ด้วย 4 ขั้นตอนง่าย ๆ
- ขั้นตอนการวัด (Measure): ตรวจวัดการปล่อยคาร์บอนในทุก Scope (1, 2 และ 3) พร้อมการคำนวณอัตโนมัติตามาตรฐาน IPCC ผ่านการเชื่อมต่อรองรับรูปแบบแพลตฟอร์มที่หลากหลาย เช่น PTT Digital Automate System
- ขั้นตอนการลดและชดเชย (Reduce & Offset): ใช้ข้อมูลวิเคราะห์เพื่อลดการปล่อยคาร์บอน รวมไปถึงวางแผนซื้อคาร์บอนเครดิตเพื่อชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร
- รายงาน (Report): จัดทำรายงานปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร รายละเอียดครอบคลุมตั้งแต่กระบวนการวัด ลดและชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กรเป็นไปตามมาตรฐานขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. และมาตรฐานสากล
- รับรอง (Certify): สามารถยื่นเสนอการรับรอง Certify โดยนำส่งรายงานปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กรต่อ อบก.
7 จุดเด่นของ GAIA ZERO ที่ช่วยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- Information Dashboard แสดงข้อมูลคาร์บอนในรูปแบบ Dashboard ที่อ่านง่ายและชัดเจน
- Automated Data Integration การเชื่อมต่อข้อมูลอัตโนมัติ รองรับการดึงข้อมูลจากระบบ ERP, TMS หรือ Smart Meter
- Flexible Organization ปรับโครงสร้างการวิเคราะห์ให้เหมาะกับทุกองค์กร
- Emission Performance Tracking ติดตามผลลัพธ์ได้แบบเรียลไทม์ ตั้งเป้าหมายการลดคาร์บอนและวัดผลได้อย่างแม่นยำ
- Automate Measure Calculation คำนวณโดยใช้มาตรฐาน IPCC เพื่อให้ได้ตัวเลขที่น่าเชื่อถือ
- Supplier Assessment สามารถทำการประเมินคู่ค้าผ่านแบบฟอร์มประเมินคู่ค้าในระบบ พร้อมรองรับให้ Scoring ตามมาตรฐานการประเมินด้านความยั่งยืนที่ทางองค์กรกำหนด เพื่อคัดเลือกคู่ค้าปฏิบัติตามหลักปฏิบัติยั่งยืนของบริษัท
- Carbon emission report for subsidiary company รองรับการจัดทำรายงานที่รวบรวมข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของบริษัทในเครือ ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐาน ISO14064 และสอดคล้องกับแนวทางกำกับดูแลของ ก.ล.ต. ที่กำหนดให้บริษัทแม่ที่จดทะเบียนใตลาดหลักทรัพย์ต้องเปิดเผยการดำเนินงานด้าน ESG ของบริษัทที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลในรายงานประจำปี แบบ 56-1 One Report
‘GAIA ZERO’ แพลตฟอร์มจัดทำบัญชีคาร์บอนที่พัฒนาโดย PTT Digital เป็นหนึ่งในตัวช่วยที่จะผลักดันองค์กรบรรลุเป้าหมาย Net Zero ได้สำเร็จ โดยเริ่มต้นจากเป้าหมายเล็ก ๆ อย่างการจัดทำบัญชีคาร์บอนที่จะเปลี่ยนวิกฤตคาร์บอนให้เป็นโอกาสสร้างความยั่งยืนให้องค์กร
คาร์บอนคือโอกาสใหม่ของธุรกิจ ในวันที่ ESG ไม่ใช่แค่ตัวเลือก แต่เป็นสิ่งจำเป็น การจัดการคาร์บอนอย่างมีกลยุทธ์จะช่วยให้องค์กรเปลี่ยนจากการตามหลังมาเป็นนำหน้าคู่แข่งได้
บรรณานุกรม
Carbontrail. (2024). 5 ESG Trends in 2025. Retrieved from https://carbontrail.net/blog/5-esg-trends-in-2025/?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTAAAR1K5EXLp70QhkXMJIcVRfIOYg45VxwQdqZUHmkK4asp_rs2P0vfExDj8A_aem_MbQfIQ5WT97P7moM8KG6Ow
Maersk. (2022). A.P. Moller – Maersk accelerates Net Zero emission targets to 2040 and sets milestone 2030 targets. Retrieved from https://www.maersk.com/news/articles/2022/01/12/apmm-accelerates-net-zero-emission-targets-to-2040-and-sets-milestone-2030-targets
Maersk. (n.d.). All the way to zero. Retrieved from https://www.maersk.com/sustainability/all-the-way-to-net-zero
Morningstar. (2024). 6 Sustainable-Investing Trends to Watch in 2025. Retrieved from https://www.morningstar.co.uk/uk/news/258651/6-sustainable-investing-trends-to-watch-in-2025.aspx?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTAAAR3qfwmshw4dpx-361xHD2mxhBBO5JQMVjx5ZXj1VLgiwUF3Bgk-Unhd830_aem_mLup6bZe-QlmaR9UGaGXoA
Mr.Vop. (2566). ปี 2023 อุณหภูมิโลกเพิ่มถึงจุดที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ข่าวร้ายคือปี 2024 ภาวะโลกร้อนมีแนวโน้มเลวร้ายลงอีก. สืบค้นจาก https://thestandard.co/global-temp-reach-unprecedented-levels-in-2023/
Smith, B. (2020). Microsoft will be carbon negative by 2030. Retrieved from https://blogs.microsoft.com/blog/2020/01/16/microsoft-will-be-carbon-negative-by-2030/
Smith, B. (2024). Our 2024 Environmental Sustainability Report. Retrieved from https://blogs.microsoft.com/on-the-issues/2024/05/15/microsoft-environmental-sustainability-report-2024/
Thai Publica. (2566). COP28 โอกาสชี้ขาดในการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พลิกกระแสรับมือวิกฤติ Climate Change. สืบค้นจาก https://thaipublica.org/2023/11/un-whats-cop28-and-why-is-it-important/
Unilever. (n.d.). Supplier Climate Programme. Retrieved from https://www.unilever.com/suppliers/supplier-climate-programme
Unilever. (2024). Supporting our suppliers to take bolder climate action. Retrieved from https://www.unileverusa.com/news/2024/supporting-our-suppliers-to-take-bolder-climate-action/